Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 3 การพยาบาลมารดาหลังคลอดปกติ - Coggle Diagram
Case 3
การพยาบาลมารดาหลังคลอดปกติ
1.สัญญาณชีพของมารดาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
BP 120/88 mmHg (ค่าปกติ 120-129/80-81 mmHg
PR 100 bpm (ค่าปกติ 360-100 bpm)
RR 18 bpm (ค่าปกติ 16-20 bpm)
BT 38 มารดามี Reactionary fever ซึ่งพบได้ใน 24 ชม. หลังคลอด (อุณหภูมิสูงถึง 37.7 แต่ไม่เกิน 38 )
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้พักผ่อนบนเตียงจนครบ 8-10 ชม. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ จากอาการอ่อนเพลียเนื่องจากสูญเสียน้ำ เกลือแร่ และเลือดในระยะคลอด
ดูแลให้ได้รับอาหารและน้ำดื่มอย่างเพียงพอ
ช่วยเหลือในการดูแลทารกบ้างบางเวลา ในระยะที่มารดายังอ่อนเพลียมาก
ติดตามสัญญาณชีพและประเมิน BUBBLE-HE อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย
• B : Breast and Lactation ประเมินลักษณะของหัวนมว่าปกติ สั้น แบน บุ๋ม หรือไม่
• U : Uterus ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกว่าหดรัดตัวแข็งดีหรือไม่ ระดับยอดมดลูกอยู่ที่ระดับใด และตำแหน่งของยอดมดลูกอยู่บริเวณใด
• B : Bowel ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้
• B : Bladder ประเมินกระเพาะปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะ
• L : Lochia ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด ในวันแรกเรียกว่า Bleeding และระยะหลัง 24 ชม.หลังคลอดเป็นต้นไปจะเรียกว่า น้ำคาวปลา (Lochia)
• E : Episiotomy/Laceration ประเมินแผลฝีเย็บหรือการฉีกขาดของช่องคลอด
• H : Homan’s sign ประเมินภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน
• E : Emotional การประเมินความพร้อมทางด้านจิตใจและอารมณ์ของมารดาหลังคลอด
ปวดแผลฝีเย็บPainscore=7คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เพื่อใช้ระงับปวดภายใน 24 ชม. หลังคลอด
แนะนำให้มารดาหลังคลอดไม่นั่งทับแผลฝีเย็บโดยตรง โดยอาจหาห่วงยางเล็กๆหรือหมอนโดนัทรองนั่ง ส่วนท่านอนแนะนำให้นอนตะแคงไปในด้านฝั่งตรงข้ามกับแผลฝีเย็บ เพื่อไม่ให้แผลฝีเย็บถูกกดทับ ทำให้การไหลเวียนของเลือดปกติ ส่งเสริมการหายของแผล และหลีกเลี่ยงการนั่งที่ทำให้ขาหนีบแยกออกจากกัน
แนะนำให้บริหารฝีเย็บ ได้แก่ การทำ Kegel exercise
REEDA scale = 2 คะแนน ถือว่าปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
หลังคลอด 24 ชม.ไปแล้ว แนะนำให้อบแผลฝีเย็บ โดยใช้โครมไฟแสงอินฟาเรด ส่องที่แผลฝีเย็บโดยตรง ระยะห่าง 1 ฟุตครึ่ง อบนาน 15 นาที เพื่อทำให้แผลฝีเย็บแห้ง ลดบวม ลดปวดและส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้น
ในช่วง 24 ชม. แรกหลังคลอด แนะนำให้ประคบเย็นที่แผลฝีเย็บทันทีหลังเย็บแผลเสร็จ ที่อุณหภูมิ 10-14 องศาเซลเซียส ประคบนาน 15 นาที และประคบทุก 15 นาทีต่อเนื่องจนครบ 2 ชม. หลังคลอด เพื่อลดอาการบวมของแผลฝีเย็บ ลดอาการปวด และลดการใช้ยาแก้ปวด เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ประคบเกิดการหดรัดตัว และยังช่วยลดการนำกระแสประสาท ลดการถูกกระตุ้นของปลายประสาทจึงทำให้ความเจ็บปวดลดลง
คลำพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือและยังไม่ถ่ายปัสสาวะ
ผิดปกติ เพราะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะเต็มจะไปขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
“เมื่อทารกดูดนมข้างซ้าย จะมีน้ำนมไหลจากเต้านมข้างขวาด้วย และมีอาการปวดมดลูกขณะทารกดูดนม”
กิจกรรมการพยาบาล
ให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้มารดามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการอุ้มทารกที่ถูกต้อง ใน ท่าต่างๆเพื่อให้ ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วงแรกหลังคลอดควรเป็นท่าที่มารดารู้สึกสบาย เช่นท่านั่งและท่านอน รวมถึงสอนการใช้มือจับประคองเต้านมเมื่อนำทารกเข้าเต้า พยาบาลควรสังเกตว่ามารดาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องหรือไม่ และให้การช่วยเหลือทันทีหากปฏิบัติไม่ถูกต้อง และพยาบาลควรให้กำลังใจและเสริมแรงเพื่อให้มารดาเกิดความมั่นใจว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงลักษณะของการอมหัวนมที่ถูกต้อง 4 ประการ (4 key signs for Attachment)
อธิบายให้มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูดเกลี้ยงเต้าเพื่อลดการคั่งของน้ำนม ใช้เวลาในการดูดประมาณ 10-20 นาที ควรแนะนำมารดาไม่ให้น้ำ นมผสม หรืออาหารอื่นแก่ทารก เนื่องจากจะทำให้ทารกอิ่มไม่ยอมดื่มนมแม่ ส่งผลให้การสร้างและการหลั่งน้ำนมลดลง แนะนำไม่ให้ทารกดูดจุกนมยาง จุกนมหลอด อาจทำให้ทารกเกิดความสับสน (Nipple confusion) และปฏิเสธการดูดนมแม่ เป็นสาเหตุสำคัญของการยุติของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แนะนำให้มารดาบีบน้ำนมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม ป้องกันอาการคัดตึงเต้านม รวมถึงคงสภาพการสร้างและการหลั่งน้ำนม
แนะนำให้บีบน้ำนมก่อนลูกดูด เพื่อให้ปริมาณน้ำนมลดลง และควรใช้ท่านอนให้นมเพื่อลดอัตราการไหลของน้ำนมลง
แนะนำการเก็บน้ำนมที่ถูกต้อง อธิบายวิธีการเก็บน้ำนมที่ถูกต้อง ระยะเวลาในการเก็บน้ำนม รวมถึงการนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้เพื่อให้นมยังคงคุณค่าทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกัน
2 วันหลังคลอด คลำพบมดลูกกลมแข็งต่ากว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว น้ำคาวปลาสีแดงจางๆ
ปกติเนื่องจาก หลังคลอดบุตรมดลูกจะมีขนาดเล็กลงทันทีสามารถคลำบริเวณหน้าท้องที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยจะพบลักษณะเป็นก้อนแข็ง และน้ำคาวปลาใน 1-3 วันแรกจะมีลักษณะสีแดงเข้ม
กิจกรรการพยาบาล
แนะนำให้มารดาอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมได้ตามปกติ และไม่ควรแช่น้ำในอ่างหรือแม่น้ำลำคลอง เพราะจะทำให้ติดเชื้อ
แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเมื่อชุ่ม โดยใส่ผ้าอนามัยจากหัวหน่าวไปยังทวารหนัก เพื่อป้องกันอุจจาระจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด
แนะนำให้สังเกตลักษณะของน้ำคาวปลา โดยในช่วง 1-3 วันแรกน้ำคาวปลาจะมีสีแดงอาจมีก้อนเลือดแดงๆปนได้ แต่หลังจากนี้ไม่ควรมีก้อนเลือดแล้ว และสีของน้ำคาวปลาจะค่อยๆจางลง กลิ่นจะเป็นกลิ่นคาวเลือด ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ซึ่งน้ำคาวปลาจะหมดภายใน 3 สัปดาห์
แนะนำให้มารดาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งที่มีการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ โดยล้างน้ำสบู่และล้างด้วยน้ำสะอาดจากหัวหน่าวไปยังทวารหนัก ไม่ถูย้อนไปมาและซับให้แห้ง
แนะนำให้ออกกำลังอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 30 นาที เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาไหลดีและมดลูกเข้าอู่ได้เร็ว
แนะนำงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากหลังคลอดแผลภายในโพรงมดลูกยังไม่หายดี ผนังช่องคลอดบาง แผลฝีเย็บยังมีความไวต่อความเจ็บปวดและปากมดลูกยังปิดไม่สนิท เสี่ยงต่อการติดเชื้อในโพรงมดลูกมากยิ่งขึ้น
กลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม
การเตรียมมารดา เพื่อให้ทารกได้รับน้ำนมมารดา
การจัดท่าให้นมลูก
เมื่อทารกดูดนมจะมีการกระตุ้นปลายประสาทบริเวณ หัวนมและลานนมส่งกระแสประสาทไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองซึ่งจะกระตุ้น hypothalamus ให้เกิดผล 2 ประการคือ
anterior pituitary gland หลั่ง prolactin ไปกระตุ้นเซลล์สร้างน้ำนม (alveolar cell) ให้สร้างน้ำนมพบว่าขณะลูกดูดนมระดับของ prolactin จะสูงประมาณ 30 นาทีภายหลังจากลูกดูดนมเสร็จส่งผลให้มีการสร้างน้ำนมไว้สำหรับการให้นมมื้อต่อไปและระดับของ prolactin ทั้งกลางวันและกลางคืนดังนั้นหากต้องการให้เต้านมสร้างน้ำนมต่อไปเรื่อย ๆ จะมีการระบายน้ำนมอย่างสม่ำเสมอ
2.posterior pituitary gland หลั่งฮอร์โมน Oxytocin กระตุ้นให้เซลล์กล้ามเนื้อที่อยู่รอบต่อมน้ำนม (myoepithelial cell) หดตัวบีบน้ำนมจากทุกๆ alveoli ไหลผ่านท่อน้ำนมออกมาจนเข้าสู่ปากลูกขณะดูดนมได้ซึ่งการหลั่งฮอร์โมนนี้มากขึ้นทำให้มีน้ำนมไหลโดยที่ลูกดูดนมเรียกว่า milk-election reflex หรือ let down reflex นอกจากฮอร์โมน Oxytocin ยังมีผลทำให้มดลูกหดรัดตัวขับน้ำคาวปลาช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นเมื่อทารกดูดนมแม่วันแรก ๆ แม่จะรู้สึกเจ็บบริเวณ ท้องน้อยเรียกว่า after pain
ระยะ 2 วันหลังคลอด
การสร้างน้ำนมอยู่ในระยะที่ 1 (lactogenesis I) เกิดขึ้นระหว่างช่วงตั้งครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ก่อนคลอดจนถึง 2-3 วันแรกหลังคลอดเป็นระยะที่ต่อมน้ำนมสร้างหัวน้ำนม (colostrum) และเก็บไว้ในต่อมน้ำนม แต่ยังไม่มีการหลั่งน้ำนมในระยะตั้งครรภ์เนื่องจากฮอร์โมนโปรแลกตินจะถูกยับยังด้วย prolactin inhibiting factor (PIF) ได้แก่ โปรเจสเตอโรน เอสโตรเจน อินซูลิน human placental lactogen และ cortisol การสร้างน้ำนมระยะนี้จะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนเป็นหลัก
ประเมินสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยหลักการ 12B
Background
Body condition
Body temperature and blood pressure
Breast and lactation
Belly and uterus
Bladder
Bleeding and lochia
Bottom
Bowel movement
Blues
Bonding and attachment
Baby
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้มารดารายนี้ มีน้ำนมไหลน้อย
ความเครียด
ความวิตกกังวล
ความอ่อนเพลีย
ความปวด
ขาดการกระตุ้นเต้านมที่ถูกวิธี
มารดาบอกว่าไม่อยากให้ลูกดูดนม
มารดามีสีหน้าวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย บางคร้ังร้องไห้คนเดียว
มารดาเศร้าหลังคลอด (Postpartum blues หรือbaby blues) พบในช่วง 10 วันแรกหลังคลอด พบมากในครรภ์แรก เกิดจากปัจจัยดังนี้
มีการลดลงทันทีของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ผิดหวังเกี่ยวกับรูปร่างของตนเองในช่วงหลังคลอด
มีความเครียดทางร่างกาย
มีความเครียดด้านจิตใจในช่วงรับบทบาทการเป็นมารดา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคงไว้ซึ่งบทบาทการเป็นภรรยาที่ดี
มีความขัดแย้งระหว่างบุคคล
รู้สึกถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจ
การพยาบาล
1.พยาบาลควรรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของมารดาหลังคลอด (emotional support) พร้อมทั้งให้คำแนะนำ แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวเพิ่มเติมหากพบ ว่ายังไม่สามารถดูแลตนเองได้
2.พยาบาลช่วยดูแลทารก (instrumental support) เมื่อมารดายังไม่พร้อมในการดูแลบุตรหรือพบว่ามีอารมณ์เศร้า (postpartum blues)
3.แนะนำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้มารดาที่เคยซึมเศร้าหลังคลอดมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (informational support)
4.พยาบาลมีการวางแผนจำหน่าย (discharge plan) เพื่อการดูแลต่อเนื่อง
หลักการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยแม
“บันได 10 ขั้น สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” ในบันไดขั้นที่ 4 เริ่มส่งเสริมให้ลูกดูดนมทันทีภายหลังคลอดและให้ลูกอยู่กับแม่นานที่สุดอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
หลังคลอด 45 นาที พยาบาลนำทารกแรกเกิดไปดูดนมมารดา
เหมาะสม เพราะ มารดาและลูกได้ทำ skin to skin contact และ eyes to eyes contact กันในช่วง1hr.แรกหลังคลอด การที่นำทารกมาดูดนมแม่หลังคลอดทันทีหลังคลอดจะเป็นระยะที่แม่และลูกมีความตื่นตัวมากที่สุด การนำลูกมาให้แม่ได้โอบกอดสัมผัสอ้อมอกของแม่จะกระตุ้นให้ร่างกายแม่ หลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรัก ทำให้เริ่มต้นความรู้สึกของการเป็นแม่มีความรักความ ห่วงหาอาทรอยากเลี้ยงลูกและไม่อยากทิ้งลูกแม่จะรู้สึก เป็นสุขและเกิดความภาคภูมิใจในบทบาทของความเป็นแม่ เกิดความมั่นใจในการที่จะเลี้ยงดูลูกต่อไป และ ฮอร์โมนออกซิโตซิน ยังกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกลดการตกเลือดหลังคลอดและมดลูกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันสัมผัสของแม่และไออุ่นจากกายแม่จะช่วยรักษาความอบอุ่นให้ลูกทำให้ลูกไม่หนาวรู้สึกผ่อนคลาย สงบ การหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ
มารดาแจ้งว่าไม่อยากให้ลูกดูดนมสีเหลือง
อธิบายให้มารดาฟังว่านมสีเหลืองคือน้ำนมหยดแรกจากอกแม่จะเป็นน้ำนมที่อุดมด้วยภูมิคุ้มกันและสารอาหารที่ สำคัญครบถ้วน ช่วยป้องกันการติดเชื้อ พัฒนาระบบ ภูมิคุ้มกันของลูกให้ดียิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของ ลำไส้และช่วยการขับถ่ายของลูก
ระยะ 3 วันหลังคลอด
ทารกแรกเกิดมีภาวะ Neonatal jaundice เนื่องจากได้รับนมมารดาช้าและไม่เพียงพอ
กิจกรรมพยาบาล
สังเกตและประเมินอาการตัวเหลืองโดยใช้นิ้วกดบนผิวหนังบริเวณกระดูก จมูก หน้าผาก หน้าอกหรือหน้าแข้ง ถ้าสังเกตเห็นอาการตัวเหลืองอย่างรวดเร็วภายใน 6-24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือทารกมีอาการเหลืองร่วมกับภาวะอื่น เช่น ซีดมาก บวม ตับม้ามโต หรือมีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ ได้แก่ ซึม ไม่ดูดนมอุณหภูมิร่างกายต่ำ ให้รายงานแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทารกได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำสารอาหาร และนมอย่างเพียงพอตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำ
ดูแลให้ทารกได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ โดย
3.1 ถอดเสื้อผ้าทารกออกและจัดให้ทารกอยู่ในท่านอนหงาย หรือนอนคว่ำ การพลิกตะแคงทุก 4 ชั่วโมง
3.2 ดูแลให้ทารกได้นอนอยู่บริเวณตรงกลางของแผงหลอดไฟ หากใช้หลอดแสงสีฟ้าชนิดพิเศษสลับกับแสงสีขาวให้อยู่ห่างจากตัวเด็ก 20-30 เซนติเมตร
3.3 บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง ถ้าพบว่าอุณหภูมิกายของทารกต่ำมาก ปลายมือปลายเท้าเย็น ใช้เครื่องทําความอบอุ่น (radiant warmer) หรืออยู่ในตู้อบ เพื่อช่วยให้อุ่นขึ้น ส่วนทารกที่มีอุณหภูมิสูงอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดน้ำ ต้องตรวจดูความตึงตัวของผิวหนังกระหม่อม และการชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน หรือถ้ามีภาวะติดเชื้อ ควรประเมินอาการผิดปกติ เช่น ดูดนมไม่ดี ซึมลง เคลื่อนไหวน้อย มีอาเจียนหลังดูดนม ควรรายงานให้แพทย์ทราบ
3.4 ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตา (eyes patches) เพื่อป้องกันการระคายเคืองของแสงต่อตา เช็ดทําความสะอาดตา และตรวจตาของทารกทุกวัน เพราะอาจมีการระคายเคืองจากผ้าปิดตา ทําให้ตาอักเสบ ควรเปิดตาทุก 4 ชั่วโมง และเปลี่ยนผ้าปิดตาทุก 8-12 ชั่วโมง ระหว่างให้นมควรเปิดผ้าปิดตาเพื่อให้ทารกได้สบตากับมารดา เป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกันระหว่างมารดากับทารก
3.5 สังเกตลักษณะอุจจาระ เพราะทารกอาจจะมีอาการถ่ายเหลวสีเขียวปนเหลืองจากบิลิรูบินและน้ำดี ระหว่างการส่องไฟทารกอาจถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ให้บันทึกลักษณะและจํานวนอุจจาระอย่างละเอียดเพื่อประเมินภาวะสูญเสียน้ำ และดูแลให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
3.6 ดูแลให้ทารกได้รับการตรวจเลือดหาระดับบิลิรูบินในเลือดอย่างน้อยทุก 12 ชั่วโมง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรคอย่างต่อเนื่องและได้ผลชัดเจน จนกว่าบิลิรูบินจะลดลงเป็นปกติ
มารดามีภาวะหัวนมแตกเนื่องจากให้ลูกกินนมผิดวิธี
กิจกรรมพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตกคือการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
แนะนำให้บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนมที่แตกแล้วปล่อยให้แห้งเอง แล้วค่อยใส่ยกทรง โดยใช้แผ่นซับน้ำนมหรือกระดาษนุ่มรองในยกทรง
ช่วยให้อุ้มลูกได้ถนัด ก่อนให้ลูกดูดนมแม่ เพราะการดูดนมแต่ละครั้งในระยะที่มีหัวนมแตก แม่จะเจ็บมาก ถ้าแม่อุ้มได้ถนัดและสบายจะทำให้สร้างความมั่นใจในเบื้องต้น
สอนและช่วยจัดท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ โดยการสอน ท่าฟุตบอล เพราะจะทำให้ลูกอมหัวนมได้ลึกขึ้น
5.ให้ลูกดูดนมข้างที่เป็นแผลน้อยก่อน ซึ่งจะมีข้อดี เพราะโดยธรรมชาติเวลาเมื่อลูกเริ่มดูดนมลูกจะดูดแรง ถ้าให้ลูกดูดข้างที่เป็นแผลมาก แผลจะยิ่งเป็นมากขึ้น ทำให้มารดาหลังคลอดยิ่งเจ็บมากขึ้น นอกจากนั้นการที่ลูกดูดนมแรงในระยะแรก จะทำให้Oxytocin reflex ทำงานได้ดี น้ำนมก็จะไหลดีขึ้น เมื่อย้ายลูกมาดูดข้างที่เป็นแผลมากน้ำนมก็จะไหลสะดวก มารดาหลังคลอดจะเจ็บน้อยลง
ช่วยให้ลูกอ้าปากกว้างที่สุด เคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็ว เพื่อจะได้งับลานหัวนมลึกพอ เคลื่อนไหวมือทั้ง 2 ข้างที่จับเต้านมและมือที่ประคองบริเวณท้ายทอยลูก จนกว่าลูกจะดูดติดจึงปล่อยมือได้
แนะนำให้บีบน้ำนมออกก่อนให้ลานนมนิ่ม เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงลานหัวนม หลีกเลี่ยงการดูดถูกหัวนมที่แตก ไม่ควรใช้ครีมทาแผลที่หัวนมเพราะอาจทำให้แผลเป็นมากขึ้น
ดูแลให้รับประทานยาแก้ปวด Paracetamal (500 mg) 2 เม็ดเวลาปวด ห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง
แนะนำวิธีการถอนหัวนมจากปากอย่างถูกวิธี คือ ให้สอดนิ้วก้อย ลงไปที่มุมปากลูก เพื่อให้อากาศเข้าไปช่วยคลายผนึกที่ลูกดูดติดอยู่กับหัวนม ทำให้มารดาหลังคลอดไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกเพิ่มขึ้น
ติดตามและฝึกมารดาหลังคลอดให้นมบุตรด้วยตนเองอย่างถูกวิธี โดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลเวรต่อๆไปช่วยดูแล จนมารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
11.ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การบีบน้ำนมทาบริเวณที่หัวนมแตก
ไม่สุขสบายเนื่องจากเต้านมคัดตึง
กิจกรรมพยาบาล
1.อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เต้านมคัดตึง คือ การให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
ดูแลให้ยาแก้ปวด Paracetamal (500 mg) 2 เม็ดทางปาก เวลาปวด ห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง
ดูแลใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัดประคบเต้านม 3- 5 นาที พร้อมกับนวดเต้านม
ดูแลบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ จนกระทั่งลานนมนิ่ม ลูกสามารถคาบลานนมได้ติด
สอนและฝึกมารดาหลังคลอดนวดเต้านมและบีบน้ำนมออกจนเกลี้ยงเต้าด้วยตนเอง
ฝึกมารดาหลังคลอดประคบเต้านมและบีบน้ำนมด้วยตนเอง
แนะนำมารดาให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น อย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมงให้เวลาลูกดูดอย่างน้อย 15-20 นาที
ให้กำลังใจโดยให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเต้านมคัดตึง เช่น ฝึกให้ช่วยประคบและบีบน้ำนมออกจากเต้านมมารดาหลังคลอด
ดูแลหลังลูกดูดนมเสร็จแล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบเต้านม เพื่อบรรเทาอาการปวด
ติดตามและฝึกมารดาหลังคลอดให้ทำด้วยตนเอง จะทำให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบผลสำเร็จ
ระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด
ขาดทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูกและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประสบผลสำเร็จสอนวิธีการให้นมอย่างถูกวิธี โดยอุ้มให้ถูกต้อง ใช้มือจับเต้านม โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน และนิ้วอื่นๆ รองรับเต้านม ปากทารกอยู่บริเวณลานหัวนม
3.ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การประคองหัวเด็กช่วยขณะมารดาให้นมบุตร
พูดคุยให้กำลังใจมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
5.สอนเทคนิคการนวดเต้านมให้แก่มารดาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม
การให้อาหารให้ทารกกินนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน แล้วจึงให้อาหารเสริมตามวัยซึ่งดูได้ในสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู
สอนและจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารกเรอแล้ว 15 นาที จัดให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักนม และยกศีรษะสูงเล็กน้อย