Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะ, องค์ประกอบ Hope+ระยะ - Coggle Diagram
โปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะ
-
องค์ประกอบ Meaning+ระยะ
Rebuilding+ Meaning
การพัฒนาความรู้สึกของตนเองและการมีเป้าหมายที่สอดคล้องกันทำให้ใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกที่มีเป้าหมาย การค้นพบบทบาทที่มีความหมายจะเร่งให้เกิดกระบวนการฟ้นคืนและบทบาทดังกล่าวก็สามารถกระตุ้นในการช่วยเหลืออาชีพ การให้แรงผลักดัน บทบาทต้องเป็นอิสระ การสร้างแรงจูงใจ การค้นหาความหมายชีวิต พัฒนามุมมองโลกใหม่ การสร้างความกระตือรือร้นในการจัดการความเจ็บป่วย เป็นความพยายามสร้างตัวตนเชิงบวก กำหนดเป้าหมายที่มีความหมาย มีการติดตามผู้ป่วย สร้างความหวังเสริมสร้างพลังและความหมายชีวิต โดยการรับความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้และการเผชิญกับความพายแพ้สร้างความยึดหยุ่น เอาชนะความทุกข์ยาก เรียนรู้จากประสบการชีวิต การเผชิญกับความเสี่ยงและการรับมือกับความท้าทายที่จะประสบความสำเร็จ การพัฒนาความยั่งยืนหมายถึงความสามารถในการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตใจเมื่อเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องและต้องมีการประเมินวางแผนและดำเนินการ ส่งเสริมเรียนรู้และการเติบโตส่วนบุคคล มีความเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงและเรียนรู้จากความล้มเหลวต้องอาศัยความกล้า การลองผิดลองถูกหลายครั้ง ค้นพบจุดแข็งและทรัพยากร ต้องการการสนันสนุน การเรียนรู้และการยึดหยุ่นช่วยให้เกิดการเติบโต
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
- เพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลือกเป้าหมายที่มีคุณค่าและความหมายต่อชีวิตตนเองมากที่สุด
กิจกรรม
ผู้ป่วยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะมุมมองต่อปัญหา อุปสรรคต่างๆ ในทางบวก ฝึกวิเคราะห์ปัญหา เป้าหมายด้วยตนเอง การวางแผนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยส่งเสริมความคิดในเชิงบวก ให้วิเคราะห์ความสามารถของตนเองในด้านอื่นๆที่ยังดีและทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปราย ให้กำลังใจสมาชิกในกลุ่มร่วมกัน
-
-ผู้วิจัยให้ผู้ป่วยนำเสนอเป้าหมายและหนทางไปสู่เป้าหมายของตนเองเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้ช่วยเสนอความคิดเห็นหนทางที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายเพิ่มขึ้น
-
-
Preparation+ Meaning
การค้นหาคุณสมบัติเชิ งบวกและการมีจุดแข็งในตนเองเป็นรากฐานสำหรับการสร้างความรู้สึกเชิงบวกในตนเอง เป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตที่มีความหมาย ยึดมั่นในเป้าหมายมีการเรียงลำดับความสำคัญใหม่ ความสามารถในการช่วยเหลือคนอื่นที่ที่มีปัญหาคล้ายกัน การกำหนดเป้าหมายใหม่ที่สูงกว่า เช่นเป้าหมายทางจิตวิญญาณ สำรวจจุดแข็งของตนเองและค้นหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก นำมาใช้ในการวางรากฐานสำหรับการสร้างชีวิตที่สมบูรณ์และมีความหมายใหม่
-
Awareness+Meaning
การแยกตนเองออกจากความเจ็บป่วย ค้นหาสาเหตุ และดำเนินการป้องกันการเกิดการเจ็บป่วยซ้ำ การยอมรับความเจ็บป่วยเริ่มจาก การรับรู้ตนเอง และการมองตัวเองเชิงบวก และรับรู้ว่าเป็นผู้ป่วยทางจิต ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต การยอมรับเปลี่ยนทัศนคติ การกลับไปสู่การทำงานที่มีความหมาย การมีเป้าหมายทำให้ชีวิตมีความหมายปรารถนาจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แยกตัวออกจากความเจ็บป่วย
-
การแสวงหาเป้าหมายและกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าที่ให้ชีวิตที่มีความหมาย ในกระบวนการสร้างความหวัง จะมีการรับผิดชอบ(Responsibility) เชื่อมต่อกับการระบุตัวตนเชิงบวก(positive identity) ดังนั้นบุคคลจะใฝ่หาเป้าหมายอิสระที่มีค่า และนี่คือเส้นทางสู่ชีวิตที่มีความหมาย เป้าหมายที่ให้ความหมายจะทำให้สัมพันธภาพส่วนบุคคลดีขึ้น เช่น บุคคลจะระบุคณค่าหลัก แสวงหาเป้าหมายที่มีคุณค่า มีความรับผิดชอบส่วนบุคคลเพื่อสุขภาวะที่ดี ประสบความสำเร็จในความพยายาม และแสวงหาความหมายในชีวิต มีความยืดหยุ่น มีสุขภาวะที่ดี มีการเติบโตขึ้นพร้อมสติปัญญา
องค์ประกอบ Identity+ระยะ
Awareness+ Identity
ตระหนักถึงความแข็งแกร่งในตัวเองและความเป็นไปได้ที่จะเป็นอิสระจากบทบาทผู้ป่วย ความเจ็บป่วยเป็นวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและการพัฒนาจุดแข็งเป็นอีกวิธีหนึ่งในการยอมรับความเจ็บป่วย เปลี่ยนทัศนคติยอมรับความเจ็บป่วยและตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตทั้งๆที่มีความเจ็บป่วย และการรู้จักตัวเองและความเจ็บป่วย
-
Preparation+ Identity
ใช้ทักษะและจุดแข็งของบุคคลเพื่อสร้างตัวตนเชิงบวก การเอาชนะตราบาปภายในเป็นขั้นตอนแรก การมองเห็นจุดแข็งของตนเองเป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ขึ้นมาใหม่ และทำให้เห็นคุณค่าในตัวเอง การสร้างความรู้สึกเชิงบวก คือการตรวจสอบจุดแข็งของตน การเสี่ยงลองทำกิจกรรมใหม่ๆ แยกความคิด อารมณ์ ที่เกิดจากโรคจิตจากความเชื่อหลักของบุคคล การเผชิญปัญหาและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ชีวิต เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นคืนเพื่อเป็นแรงบัลดาลใจทำให้เกิดอัตลักษณ์เชิงบวก
การเข้าใจความรู้สึกตนเองเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างชีวิตที่มีความหมาย ต้องเข้าใจตนเอง “ใครคือฉัน ฉันคือใคร ฉันกลายเป็นอะไรไป” บุคคลจะต้องนำจุดแข็งของตนไปใช้ และขอการสนันสนุนจากบุคลคลภายนอก แสวงหาความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย มีข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาช่วยให้การตัดสินใจมีอำนาจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทบทวนมองตนเองในเชิงบวก
กิจกรรม
-ให้ผู้ป่วยฝึกสำรวจตัวเองเรื่องอดีตที่ผ่านมาว่าเคยประสบความสำเร็จในเรื่องใดบ้าง พร้อมยกตัวอย่างในคู่มือ
-
-
Rebuilding+ Identity
ต้องมีการพัฒนาความรู้สึกเชิงบวกของตัวเองก่อน ยืนยันจุดแข็งและค่านิยม หาคำอธิบายสำหรับความเจ็บป่วยที่ยอมรับได้โดยอธิบายเป็นรูปแบบทางการแพทย์ทำให้เกิดการเข้าใจความเป็นตัวตน ไม่ตีตราตนเองว่าป่วยหรือไม่สนใจคำพูดของคนอื่นที่ว่าตนเอง มีความกล้าแสดงออกและเรียนรู้ที่จะจัดการความโกรธได้อย่างเหมาะสม ความรับผิดชอบตนเองทำให้เกิดการแยกตนเองออกจากโรค มีการรู้ตนเองว่าควรทำอะไรก่อนหลัง การกำหนดเป้าหมายเป็นหลักสำคัญในการกำหนดตนเอง และเลือกเป้าอย่างอิสระได้ด้วยตนเอง เกิดแรงจูงใจนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายส่งผลให้เกิดการทำงานอย่างบรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับคุณค่า เพื่อนำไปสู่ความมุ่งมั่นที่จะสำเร็จมากขึ้นและความรู้สึกในเชิงบวกของตนเอง
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างเอกลักษณ์เชิงบวกให้กับตนเอง
- เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีวิธีในการปรับอารมณ์และเปลี่ยนวิธีคิดในในทางที่ดีขึ้น
-
อัตลักษณ์เชิงบวกจะได้รับการส่งเสริมในรูปแบบที่แตกต่าง อันดับแรกจะต้องระบุค่านิยมหลักส่วนบุคคลที่สามารถทำให้กลับไปสู่ตัวตนที่แท้จริงที่เคยสูญเสียประสบการด้วยโรคทางจิต กลับไปทบทวนว่าเขาเป็นใคร บุคคลระบุและติดตามเป้าหมายรักษาให้คงเดิม บางครั้งผู้ป่วยจะมีการประเมินคุณค่าและทิศทางที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือจะไม่มองตนเองในแง่ของความเจ็บป่วย การสร้างใหม่ในเอกลักษณ์เชิงบวก นำไปสู่การค้นหาความหมาย
-
องค์ประกอบ Hope+ระยะ
Awareness+ Hope
ความหวังมาจากความรู้สึกว่าจะเกิดความเป็นไปได้ บุคคลากรทางสุขภาพจิตมีส่วนทำให้ผู้ป่วยเกิดความหวังมากขึ้น อีกทั้งเกิดจากครอบครัวและแรงบันดาลใจจากคนที่คนที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นคืน มีส่วนช่วยให้เกิดความหวังและการฟื้นคืนได้ อีกทั้งความหวังจะเกิดขึ้นโดยการตั้งเป้าหมายใหม่ และเป้าหมายที่ถูกกำหนดจะเป็นความรู้สึกที่อยู่ภายในตัวบุคคล ส่วนความตระหนักรู้จะส่งผลให้บุคคลมีเป้าหมายส่วนเป้าหมายที่ตั้งควรมีลักษณะที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมความหวังโดยทำให้เห็นว่าการคืนสู่สุขภาวะเป็นไปได้
-ผู้วิจัยเปิดวีดีโอสัมภาษณ์ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการคืนสู่สุขภาวะเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความหวังว่าการคืนสู่สุขภาวะเป็นไปได้
-
-
Rebuilding+ Hope
เป็นระยะในการเริ่มลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม บุคคลจะต้องรู้สึกพร้อมเพื่อไปสู่เป้าหมาย เมื่อบรรลุเป้าหมายจะนำไปสู่ความหวังและทำให้มีการฟื้นคืนสุขภาวะ ดังนั้นการตั้งเป้าหมายเล็กๆจะนำพาไปสู่ความหวังได้มากขึ้น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสันทนาการจะช่วยเปิดโลกใหม่ของการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และกิจกรรมเหล่านั้นมีผลทำให้เกิดการฟื้นคืนสุขภาวะ การเข้าชมรมได้พบเจอเพื่อนที่ดีส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีได้ สุดท้ายแล้วการฟื้นคืนสุขภาวะจะต้องมีการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างความหวัง ส่งผลให้มีการฟื้นคืนสุขภาวะที่ดี
-
Preparation+ Hope
ความหวังสามารถมองเห็นได้จากตนเองและแหล่งข้อมูลภายนอกที่ทำให้พบเส้นทางสู่เป้าหมาย รวมถึงการมีการสร้างจุดแข็งภายใน มีการรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับบริการการคืนสู่สุขภาวะและมองหากลุ่มเพื่อนที่มาช่วย การมองหาบุคคลต้นแบบในการฟื้นคืนมักเกิดในระยะเตรียมพร้อมของการฟื้นคืน การมีจุดแข็ง การมีบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนจะทำให้มีการสร้างความหวัง รวมถึงการเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันไม่หมกมุ่นกับอนาคตหรืออดีต การซื่อสัตย์กับตัวเอง การแสดงออกอย่างเหมาะสม ดังนั้นเป้าหมายในการเรียนรู้ที่จะจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคจะเชื่อมกับความหวัง คุณภาพชีวิต การบรรลุเป้าหมาย การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเอง จะช่วยสร้างความเป็นตัวตนเพื่อทำให้เกิดความรับผิดชอบตนเองมากขึ้น
ส่งเสริมความหวังโดยทำให้เห็นว่าการคืนสู่สุขภาวะเป็นไปได้ โดยการนำเสนอ เรื่องราวการคืนสู่สุขภาวะ สามารถให้แรงบันดาลใจ นี่คือจุดเริ่มต้นของความหวัง สามารถต่อยอดโดยกระตุ้นให้บุคคลระบุเป้าหมาย พิจารณาเส้นทางสู่เป้าหมายและทำตามขั้นตอนดังกล่าว