Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล, น.ส.อรยา ลาชัย 61120267 Section 2…
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
3.บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลที่จะสนองตอบต่อสิทธิผู้ป่วย
ซึ่งกองการพยาบาลสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ในแนวทางการดำเนินงานเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
ดังนี้คือ
การสนองตอบต่อสิทธิพื้นฐานที่จะรับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องใช้ความรู้ในวิชาชีพและวิจารณญาณในการตัดสินใจดูแลผู้ใช้บริการเป็นราย ๆ ตามความเหมาะสมและรู้สิทธิพึงมีพึงได้ของผู้ใช้บริการทุกลักษณะเพื่อให้การดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม
สิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัตินั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกรายเท่าเทียมกันอย่างสุภาพอ่อนโยนเอื้ออาทรเคารพในความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและละเว้นจากการปฏิบัติที่มีอคติ
สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอในด้านบริการด้านสุขภาพเพื่อประกอบการตัดสินใจการรับบริการของผู้ป่วยประเด็นนี้เป็นบทบาทสำคัญของพยาบาลที่จะต้องเผชิญตลอดเวลาของการปฏิบัติงานพยาบาลจึงต้องให้ความสำคัญของบทบาทในการที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ของหน่วยงานข้อมูลที่เป็นข้อปฏิบัติในการให้บริการสุขภาพข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัยพยากรณ์โรคการบำบัดรักษาและการเสี่ยงต่ออันตรายโดยต้องคำนึงถึงประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการบอกความจริงรวมถึงข้อมูลที่จะให้บริการและปฏิบัติการต่อผู้ป่วยในทุกครั้งทั้งนี้เพื่อการรับทราบและเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้ป่วย
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตทันทีและต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องแสดงข้อมูลบ่งชี้ชื่อสกุลตำแหน่งและคุณวุฒิของตนเองแก่ผู้รับบริการรวมทั้งยอมรับและเข้าใจสิทธิของผู้ป่วยในการขอทราบความเห็นในการดูแลรักษาปรับเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ
บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลที่สำคัญประการหนึ่งในเรื่องข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ป่วยคือการเก็บรายงานเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วนเป็นระบบไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและหรือการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย
บทบาทของพยาบาลในการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนเพื่อประกอบในการตัดสินใจร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยด้านสุขภาพทั้งนี้บทบาทของพยาบาลจะต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติขั้นตอนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนโปร่งใสเพื่อผู้ร่วมการทดลองโดยเฉพาะผู้ถูกทดลองทราบทุกขั้นตอน
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการกำหนดระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อสิทธิของผู้ป่วยในการขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาของตน
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการปกป้องการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยทั้งในด้านของการปฏิบัติการพยาบาลและการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยการวิเคราะห์ตัดสินใจด้วยความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องของผู้ป่วย
5.เอกสิทธิของวิชาชีพพยาบาลคืออะำร และเป็นอย่างไร
เอกสิทธิ์ทางการพยาบาลหมายถึงการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในการที่สามารถตัดสินใจในการปฏิบัติกำหนดทิศทางในการปฏิบัติด้วยตนเองตัดสินใจได้อย่างอิสระสามารถควบคุมการปฏิบัตินั้นด้วยตนเองปราศจากการควบคุมจากภายนอกภายใต้ขอบเขตของกฎหมายที่กำหนดไว้ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนและการปฏิบัติด้วยตนเองตามขอบเขตวิชาชีพการพยาบาลการปฎิบัติตามมาตรฐานการพยาบาลการปฎิบัติโดยการสะท้อนคิดอย่างมีวิตจารณาญาณการปฏิบัติโดยใช้ข้อมูลสาระสนเทศการตัดสินใจอย่างอิสระ
เอกสิทธิ์วิชาชีพการพยาบาลสำคัญอย่างไร
ต่อผู้ป่วย
1.ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพปลอดภัย
2.ด้รับการปกป้องรู้สึกมั่นใจมีที่พึ่งและพึงพอใจ
ต่อผู้ประกอบวิชาชีพ
3.มีควาพึงพอใจในการทำงาน
4.มีผลการปฏิบัติงานที่ดีมีคุณภาพสูง
5.มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน การคงอยู่ในวิชาชีพนานขึ้น
6.แสดงประมาทในการทำหน้าที่แทนผู้ป่วย,ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ
1.สิทธิมนุษยชน, สิทธิพยาบาล, สิทธิผู้ป่วย, สิทธิเด็กคืออะไรและมีสาระสำคัญอย่างไร
สิทธิพยาบาล
พยาบาลมีสิทธิที่จะสร้างรูปแบบการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักการของวิชาชีพ และมีสิทธิได้รับการยอมรับ เชื่อถือความเคารพและรางวัลตามที่สมควรจะได้
พยาบาลมีสิทธิที่จะเข้าใจและยอมรับความรู้สึกของตนเอง ซึ่งการตระหนักและเข้าใจถึงความรู้สึกของตนเองย่อมจะควบคุมความรู้สึกของตนเองได้
พยาบาลมีสิทธิที่จะดํารงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและการแสดงออกของตนเอง หมายถึง พยาบาลมีสิทธิที่จะรับฟัง ซักถาม สงสัยหรือไม่ตอบในกรณีที่จะต้องใช้เหตุผลเลือกตัดสินใจทางจริยธรรม และพยาบาลมีสิทธิที่จะได้รับคําแนะนํา ช่วยเหลือร่วมมือจากผู้อื่น แลให้ผู้อื่นรับรู้และขจัดความหวาดกลัวคับข้องใจของตนเองได้ เช่นเดียวกัน
พยาบาลมีสิทธิที่จะพ้นจากสภาพการทํางานที่มีผลต่อการบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีของตนเอง ในฐานะของปุถุชน เพราะการให้การบริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพต้องอาศัยสภาวะที่ดี (Wellbeing) ของตัวบุคคลผู้เป็นพยาบาลสิทธิของบุคคลแต่ละคนมีพื้นฐานสำคัญอยู่บนความรู้สึกยอมรับ เคารพสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับตนเอง ในการปฏิบัติการพยาบาลจะต้องยึดถือหลักสำคัญของกระบวนการพยาบาลที่มุ่งเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
สิทธิผู้ป่วย
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการ แก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนาของ วุฒิสภา ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกสิบคนซึ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1.เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายกฎหรือข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำเป็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชน และเสมอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำ หรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอให้ รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานราชการองค์กรเอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ
1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย
2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย
การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่นๆ
4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง
2.จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพมีลักษณะอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไร
จริยธรรม หมายถึง
หลักการควบคุมการประพฤติปฏิบัติเหมาะสมและถูกต้องของผู้ที่อยู่ร่วมกัน โดยมีพื้นฐานมาจาก
หลักการทางศีลธรรม
ค่านิยม วัฒนธรรมและประเพณี กฎหมาย เพื่อให้บุคคลแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม ถูกต้องและเหมาะสม ทั้งต่อตนเองและสังคม
จริยธรรมวิชาชีพ 6 ด้าน
ได้แก่
สิทธิของผุ้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาของวิชาชีพ
การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม
การบอกความจริงกับผู้ป่วย
จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง
หลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมของวิชาชีพพยาบาล
จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล 9 ด้าน ตามประกาศของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พ.ศ. 2546
มีดังนี้
ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพพยาบาลรับผิด
ชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ในการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันความเจ็บป่วย การฟื้นฟูสุขภาพและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน
ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคล
ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ
ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อ
วิชาชีพการพยาบาล
ข้อที่ 8 พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล ร่วมเป็นผู้นำทางการ
ปฏิบัติการพยาบาลหรือทางการศึกษาทางการวิจัยหรือทางการบริหาร โดยร่วมในการนำทิศทางนโยบายและแผนเพื่อพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาความรู้ ทั้งในขั้นเทคนิคการพยาบาลทฤษฎีขั้นพื้นฐาน และศาสตร์ทางการพยาบาลขั้นลึกซึ้งเฉพาะด้าน ตลอดจนการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารของวิชาชีพ
ข้อที่ 9 พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น ผู้อื่น เคารพตนเอง รักษาความ
สมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพเคาระในคุณค่าของงาน และทำงานด้วยมาตรฐานสูง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัวและในการประกอบวิชาชีพทีสถานการณ์ที่จำเป้นต้องเสียสละ
4.บทลงโทษของสิทธิมนุษยชน, พยาบาล, ผู้ป่วย, เด็กมีอะไรบ้าง
บทลงโทษสิทธิมนุษยชน
มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่ถูกเรียกหรือถูกสั่งให้ส่งตาม
มาตรา ๓๒ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๒ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทลงโทษของการละเมิดสิทธิผู้ป่วย
การนำข้อมูลของผู้ป่วยไปเปิดเผยไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยทั้งสิ้น และยังเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย 2 ฉบับ ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 และประมวลกฎหมายอาญา โดยกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ระบุความผิดไว้ว่า
พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2550
มาตรา 7
ที่ระบุว่า ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยและอาจทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นโดยตรง และไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของบุคคลไม่ได้และมาตรา 49 ที่ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 323 ที่ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้นแล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทกำหนดโทษ(พยาบาล)
ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้กำหนดโทษไว้มี 2 ประเภท คือ
1.โทษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพตามที่กำหนดไว้
โทษทางอาญาตามที่กฎหมายวิชาชีพกำหนดไว้
ในการประกอบวิชาชีพ กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จะมาประกอบวิชาชีพฯ ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ (มาตรา 32) ดังนั้นหากมีการฝ่าฝืนต้องได้รับโทษ ซึ่งบทโทษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
1.ว่ากล่าวตักเตือน
2.ภาคทัณฑ์
3.พักใช้ใบอนุญาต
4.เพิกถอนใบอนุญาต
บทลงโทษสิทธิเด็ก
2.การปกป้องคุ้มครองเด็ก กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของผู้ปกครองและบุคคลผู้เกี่ยวข้องให้ต้องปฏิบัติต่อเด็กที่เหมาะสมไว้อย่างชัดเจน และผู้ฝ่าฝืนย่อมมีโทษทั้งทางปกครองและทางอาญา เช่น ผู้ปกครอง กฎหมายกำหนดหน้าที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน ตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น และต้องคุ้มครองสวัสดิ์ภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
กฎหมายคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากมีกฎหมายอื่นที่มีโทษหนักกว่าต้องลงโทษตามกฎหมายนั้น เช่น การทารุณเด็กได้รับอันตรายสาหัสหรือตายก็ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญาฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ซึ่งมีโทษจำคุกหกเดือนถึงสิบปี หรือโทษประหารชีวิต แล้วแต่กรณี
กฎหมายยังกำหนดหน้าที่ของผู้พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่มีการทำทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิ์ภาพเด็ก เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งเหตุแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิ์ภาพเด็กได้โดยเร็วที่สุด และกฎหมายก็บัญญัติคุ้มครองผู้แจ้งเหตุที่กระทำโดยสุจริตให้ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองแต่อย่างใด
6.การเสริมสร้างเอกภาพของวิชาชีพพยาบาลสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
การทำงานเป็นทีมของวิชาชีพการพยาบาล หมายถึงทีมที่มีความเป็นเอกภาพทางวิชาชีพ ความเป็นส่วนตัวอาจจะมีความคิดเห็นและความพึงพอใจที่แตกต่างกันได้ แต่ความเป็นวิชาชีพที่ต้องมี คือค่านิยม,วัฒนธรรมที่เติบโตเป็นจริยธรรมของวิชาชีพที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติ จะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพของวิชาชีพได้ ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน ควรต้องลด ละ เลิกทิฐิ ของแต่ละคนในการทำงานร่วมกัน ช่วยกันพัฒนาองค์กรพยาบาลของตนให้มีความก้าวหน้า รุ่งเรือง อย่างต่อเนื่อง การทำให้องค์กรหยุดอยู่กับที่ ก็จะนำความเสียหายให้แก่องค์กร จึงควรประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
การให้ความรักและให้เกียรติแก่ผู้ร่วมวิชาชีพ ไม่คิดร้ายหรือทำลายเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นทางความคิด พูด หรือการกระทำ
ร่วมกันสร้างเสริมเพื่อการผดุงเกียรติ ชื่อเสียงขององค์กรที่ทางานและวิชาชีพของตน
ร่วมกระทำกิจกรรมเกี่ยวกับวิชาชีพทั้งด้านความคิด แรงงาน และทรัพย์สินตามศักยภาพของตนเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
มีแนวทาง หรือแสวงหาวิธีการผดุงความสามัคคีในกลุ่มผู้ร่วมวิชาชีพ และธำรงรักษาไว้อย่างเข้มแข็ง
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพียรพยายามแสวงหาวิถีทางเพื่อคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาด้วยความอดทน และจริงใจให้เกิดสันติสุขในสังคม
7.ยกตัวอย่างกาณีศึกษาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน,พยาบาลผู้ป่วย, เด็กมีอะไรบ้าง
กรณีศึกษา สิทธิผู้ป่วย
เข้าใจสิทธิผู้ป่วยผ่านกรณีแถลงข่าวเสียชีวิตของ ‘น้ำตาล เดอะสตาร์’ คลิปการแถลงข่าวกรณีเสียชีวิตของคุณน้ำตาล เดอะสตาร์ โดยท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และแพทย์เจ้าของไข้ในสื่อออนไลน์ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก
นอกจากคำอธิบายที่ชัดเจน และใช้ภาษาที่ประชาชนเข้าใจง่ายแล้ว ยังสะท้อนถึงการเคารพในสิทธิของผู้ป่วยและหลักจริยธรรมทางการแพทย์อีกด้วย ท่านคณบดีเริ่มต้นด้วยการแจ้งกับผู้ฟังการแถลงข่าวว่าได้รับการอนุญาตจากญาติของคุณน้ำตาลแล้วในการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ถ้าหากคนไข้ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรู้ แพทย์ก็ไม่สามารถแจ้งให้ใครทราบได้ แต่เมื่อคุณแม่ของคุณน้ำตาลอนุญาต ประชาชนที่สนใจจึงรู้สาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากวัณโรคโพรงหลังจมูก
ส่วนแพทย์เจ้าของไข้ได้อธิบายกระบวนการตรวจว่าต้องให้แพทย์เฉพาะทางด้านหู-คอ-จมูกมาส่องกล้องเข้าไปทางรูจมูก จึงได้ขอความยินยอมจากคุณแม่ของคุณน้ำตาลก่อน เพราะแพทย์จะต้องเคารพในความเป็นอิสระของผู้ป่วย และไม่สามารถทำเกินกว่าที่ได้รับความยินยอมได้ จึงต้องออกมาขออนุญาตคุณแม่ในการตัดชิ้นเนื้ออีกรอบ
กรณีศึกษา สิทธิเด็ก
แฟนเพจ UNICEF Thailand เผยแพร่แถลงการณ์ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย มีใจความว่า รู้สึกกังวลต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนท่ามกลางการชุมนุมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของเด็กและเยาวชน พร้อมร่วมกันปกป้องพวกเขาจากความรุนแรงและการถูกคุกคามทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
ซึ่งเป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองมากที่สุดในโลก ได้รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็ก เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งรวมถึงการชุมนุมอย่างสันติ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กใน พ.ศ.2532 โดยให้คำมั่นว่าจะดำเนินการเพื่อให้เด็กๆ ได้เข้าถึงสิทธิที่พวกเขาพึงมี ซึ่งรวมถึงสิทธิในการมีส่วนร่วม
การแสดงความคิดเห็นอย่างสันติโดยได้รับการรับฟัง ยูนิเซฟขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อประกันความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนทุกคนในทุกที่ทุกเวลา และให้พวกเขาสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสันติต่อเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยปราศจากความกลัวหรือการถูกคุกคาม ยูนิเซฟขอย้ำว่า โรงเรียนและสถาบันการศึกษาควรเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสาหรับเด็กในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ และมีการรับรู้รับฟัง โรงเรียนและสถาบันการศึกษาควรจัดให้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กในการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันอภิปรายอย่างมีสาระ ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ สามารถสร้างทักษะด้านการสื่อสารและการต่อรอง อันจะนำไปสู่แนวทางการจัดการอย่างสันติกับข้อท้าทายที่เด็กๆ กำลังเผชิญอยู่ เด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและทันท่วงทีตามกระบวนการของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง การคุกคาม หรือการข่มขู่ทุกรูปแบบ
น.ส.อรยา ลาชัย 61120267 Section 2 กลุ่ม 4