Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hormone ก่อน ท้อง หลัง ท้อง - Coggle Diagram
Hormone ก่อน ท้อง หลัง ท้อง
ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง
ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human Placental Lactogen: HPL)
เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นภายในรก มีหน้าที่ส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์และกระตุ้นต่อมน้ำนมภายในเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมลูก
ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin: HCG)
เป็นฮอร์โมนที่พบได้ในระหว่างตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่พบในรก หรือช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกจะพบในเลือดและปัสสาวะของคุณแม่ ฮอร์โมนดังกล่าวถูกนำมาใช้ตรวจการตั้งครรภ์ ทั้งการทดสอบด้วยตัวเองและการตรวจโดยวิธีทางการแพทย์ นอกจากนี้ ฮอร์โมนชนิดนี้ยังก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีมีครรภ์ได้ด้วย
ฮอร์โมนเอสโตรเจน
เป็นฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งทำหน้าที่พัฒนาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยส่วนใหญ่ผลิตจากรังไข่ แต่เมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนนี้จะถูกผลิตออกมาจากรกอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างร่างกายของคุณแม่ให้เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ และช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่และรกในระหว่างตั้งครรภ์ มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น เพื่อให้ไข่ที่ถูกผสมจนเกิดการปฏิสนธิฝังตัวและเติบโตเป็นทารกได้
ฮอร์โมนออกซิโทซิน
เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัวมากขึ้น ซึ่งช่วยในการคลอดบุตร
ฮอร์โมนโปรแลคติน
ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม โดยเมื่อตั้งครรภ์ ฮอร์โมนดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนขึ้น 10-20 เท่าจากปกติ
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าก่อนตั้งครรภ์ ส่งผลให้มดลูกและรกพัฒนาให้เหมาะกับการตั้งครรภ์ เช่น
เสริมสร้างเส้นเลือดบริเวณรกและมดลูก
ช่วยในการขนส่งสารอาหารต่าง ๆ ไปยังทารก
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
จะเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปกติอย่างมากในระหว่างตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลให้เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการคลายตัวมากขึ้น รวมทั้งทำให้โครงสร้างภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับทารกในครรภ์และการคลอดบุตรที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า โดยมีผลต่อร่างกายคุณแม่ ดังนี้
ทำให้มดลูกขยายตัวและเปลี่ยนแปลงรูปร่างของคุณแม่
กระตุ้นให้เยื่อบุมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่
ช่วยให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น เพื่อป้องกันอสุจิตัวอื่นมาผสมกับไข่
ช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน
ทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อกระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม
ป้องกันการหดตัวของมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์