Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว abuse during pregnancy -…
สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัญหา
ความรุนแรงในครอบครัว
abuse during pregnancy
ความหมาย
ความรุนแรงในสตรีมีครรภ์ซึ่งความรุนแรงอาจเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางกายวาจาจิตใจและทางเพศ จำกัด กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัวซึ่งเป็นผลให้เกิดให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีทั้งด้านร่างกายและจิตใจรูปแบบความรุนแรงในสตรีมีครรภ์
ประเภท
การทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำรุนแรงที่เห็นชัดเจนที่สุดทั้งนี้รวมการกระทำรุนแรงต่อร่างกายตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรง เช่น การถ่มน้ำลาย การหยิก การตบหน้า การใช้ไฟลน การบีบคอไปจนถึงการใช้กำลังขั้นรุนแรงเช่นการชกต่อยการใช้อาวุธทำร้ายเป็นต้น
การข่มเหงทางเพศ เช่น การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจการบังคับให้เปลื้องผ้าการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นหรือกับสัตว์เป็นต้น
การทำร้ายจิตใจ (verbal or emotional abuse) ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้วาจาคุกคามทางอารมณ์เพื่อให้เกิดความกลัวความไม่สบายใจการบังคับขู่เข็ญต่างๆ เช่น การใช้คำพูดกิริยาหรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามด่าว่าให้อับอายการกลั่นแกล้งการทรมานให้เจ็บช้ำน้ำใจการบังคับ จำกัด สถานที่ จำกัด กิจกรรมการบีบบังคับทางเศรษกิจข่มขู่การหึงหวงการทอดทิ้งการทำลายสิ่งของหรือทำร้ายสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ผลกระทบ
ด้านร่างกาย
ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพพิการหรือเสียชีวิต
มาฝากครรภ์ช้าหรือมาฝากครรภ์ไม่สม่ำเสมอ
ทำให้เกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์
ด้านจิตใจ
เสียใจซึมเศร้ารู้สึกตนเองไร้คุณค่า
โกรธอับอายเครียดวิตกกังวล
ทำร้ายตัวเองบางคนคิดฆ่าตัวตาย
หันมาใช้ความรุนแรงในการตอบโต้บางคนหันไปสูบบุหรี่ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดทำให้เกิดผลเสียต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกเพิ่มขึ้น
มีสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับทารก
มีการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาไม่เหมาะสมและไม่มีความพร้อมต่อการเลี้ยงดูบุตร
ทารกที่เติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงมักมีปัญหาทางด้านจิตใจและกลายเป็นผู้ใช้ความรุนแรงในที่สุด
ปัจจัยส่งเสริม
การที่สามีใช้ความรุนแรงกับภรรยาในขณะตั้งครรภ์เกิดจากความอิจฉาทารกที่กำลังจะเกิดมากลัวภรรยาจะสนใจทารกที่อยู่ในครรภ์มากกว่าตนเองกลัวถูกแบ่งปันความรักเกิดความรู้สึกโกรธทารกในครรภ์และภรรยาสามีบางคนไม่ชอบความอุ้ยอ้ายของภรรยาในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความเครียดสับสนหรือโกรธและนำไปสู่การทำร้ายร่างกายภรรยาและทารกในครรภ์บริเวณที่สามีชอบทุบตีหรือเตะต่อยคือเต้านมและมดลูกสามีที่ชอบใช้ความรุนแรงมักเกิดจากเคยถูกใช้ความรุนแรงในวัยเด็กครอบครัวขาดความอบอุ่นเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้เช่นโรคจิตโรคประสาทเป็นต้นหรือมีทัศนคติค่านิยมและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความรุนแรงและพบว่าสตรีมีครรภ์ที่ถูกกระทำความรุนแรงมักเป็นสตรีที่เคยถูกใช้ความรุนแรงมาก่อนการตั้งครรภ์หรือเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่วางแผน
การใช้ความรุนแรงสามารถเกิดได้กับสตรีทุกคนทุกอาชีพทุกระดับการศึกษาและทุกฐานะจากการสำรวจในจังหวัดเชียงใหม่พบปัจจัยหลายประการที่สัมพันธ์กับการกระทำความรุนแรงอาทิเช่นพื้นฐานของครอบครัวในวัยเด็กการเลี้ยงดูความรักจากบิดามารดาประวัติการถูกกระทำความรุนแรงในวัยเด็กลักษณะส่วนบุคคลเช่นบุคลิกภาพความเชื่อเรื่องการยอมรับการใช้ความรุนแรงทักษะในการสื่อสารกับคู่สมรสเป็นต้น
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติและการสังเกตพบอาการและอาการแสดงของการถูกกระทำความรุนแรง
การตรวจร่างกายพบร่องรอยของการถูกทำร้ายร่างกายหรือร่องรอยของการถูกข่มขืน
แนวทางการดูแลรักษา
ค้นหาสตรีมีครรภ์ที่ถูกกระทำความรุนแรงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ให้การดูแลในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและระยะหลังคลอดเช่นเดียวกับสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงประเมินผลกระทบตรวจคัดกรองความผิดปกติและประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์และให้คลอดตามข้อบ่งชี้ในระยะหลังคลอดแนะนำเรื่องการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม
ถ้าพบการบาดเจ็บหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นใขึ้นให้การดูแลอย่างเหมาะสมตามแนวทางการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้น ๆ
ถ้าพบปัญหาทางด้านจิตใจหรือสังคมส่งต่อเพื่อรับการบำบัดอย่างเหมาะสมการพยาบาลสตรีมีครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.1 ประเมินสัญญาณชีพการเพิ่มของน้ำหนักความสูงของยอดมดลูกการบาดเจ็บตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและอาการผิดปกติอื่น ๆ
1.2 ประเมินการดิ้นและเสียงหัวใจทารกในครรภ์ติดตามผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงและผลการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์จากการทำ NST หรือ BPP
1.3 ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเพียงพอ
1.4 แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอทั้งด้านร่างกายและจิตใจหลีกเลี่ยงการทำงานหนักหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลและไม่ออกกำลังกายหักโหม
1.5 แนะนำเรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
1.6 แนะนำให้ประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวัน
1.7 แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด
ระยะคลอด
ดูแลเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวดอย่างเหมาะสมเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการคลอดรายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมดูแลทารกแรกเกิด
ระยะหลังคลอด
1.ก่อนกลับบ้านประเมินความสามารถในการดูแลทารกและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูบุตรและอธิบายให้เห็นความสำคัญของการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวถ้ามีภาวะแทรกซ้อนให้การพยาบาลตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของสตรีมีครรภ์และครอบครัวรวมทั้งส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกและครอบครัว
2.1 สร้างสัมพันธภาพกับสตรีมีครรภ์และครอบครัวทำให้สตรีมีครรภ์รู้สึกไว้วางใจ
2.2 ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลโดยช่วยให้สตรีมีครรภ์สำรวจความรู้สึกและสถานการณ์ที่เป็นจริงให้สตรีมีครรภ์ได้ระบายความโกรธและความเศร้าโศกช่วยเหลือให้สตรีมีครรภ์ผ่านพ้นภาวะวิกฤตช่วยเหลือสตรีมีครรภ์ในการสร้างพลังอำนาจให้ตนเอง (empowerment) และช่วยเหลือในการขบวนการตัดสินใจ
2.3 ส่งเสริมให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกับกลุ่มต่างๆเช่น childbirth preparation class, prenatal class, maternal class vízónconsumgunsdšvõua! เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
2.4 ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกและครอบครัวทั้งในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและระยะหลังคลอดเช่นการให้ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์การสัมผัสขณะที่ทารกดิ้นการพูดคุยกับทารกในครรภ์การให้บิดาและมารดาได้สัมผัสและโอบกอดบุตรโดยเร็วภายหลังคลอดส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เป็นต้น
2.5 ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมอย่างสม่ำเสมอถ้าพบความผิดปกติควรส่งต่ออย่างเหมาะสม
เพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและสตรีมีครรภ์ไม่ถูกกระทำความรุนแรง
3.1 พยาบาลควรปฏิบัติต่อสตรีมีครรภ์ที่ถูกกระทำความรุนแรงอย่างเหมาะสมไม่ซ้ำเติมส่งเสริมพลังอำนาจให้การปรึกษาให้การช่วยเหลือในภาวะวิกฤตเพื่อช่วยปกป้องชีวิตสตรีมีครรภ์จากการถูกทำร้ายซ้ำให้ข้อมูลและส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
3.2 ให้แนวทางในการป้องกันตนเองจากการเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรง ได้แก่ การไม่ยอมรับการใช้ความรุนแรงการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับตนเองและการวางตัวหรือการประพฤติตนที่เหมาะสมเพื่อลดการกระตุ้นใจนให้เกิดความรุนแรง
3.3 บอกแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือและวิธีการติดต่อเมื่อเกิดปัญหาสตรีมีครรภ์จะได้ช่วยเหลือตนเองไม่ให้ถูกกระทำความรุนแรงอีก
3.4 ส่งเสริมการบำบัดและฟื้นฟูระยะยาวโดยให้เข้าร่วมกลุ่มต่างๆอย่างเหมาะสมเช่นกลุ่มบำบัด (group therapy) ครอบครัวบำบัดและคู่สมรสบำบัด (family therapy and couple therapy) การบำบัดด้วยกลุ่มสนับสนุน (Support group) กลุ่มช่วยเหลือตนเอง (self-help groups) เป็นต้น