Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ - Coggle Diagram
ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้
การรับรู้ และการเรียนรู้
ความหมายและธรรมชาติของการรับรู้
การรับรู้ (Perception) คือ กระบวนการที่เกิดขุ้นภายหลังจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ (Stimuli) ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เพื่อตีความเป็นสิ่งที่มีความหายโดยใช้ความรู้
การรับรู้จึงเป็นกระบวนการของการตีความต่อสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้กลิ่น
ได้รู้รส และการที่มีความรู้สึกด้วยประสาทสัมผัสต่าง ๆ
กระบวนการของการรับรู้
การรู้สึก (Sensing) ความจำ (Memory) การเรียนรู้ (Learning) การตัดสินใจ (Decision making)
Sensing -----> Memory ------> Learning -------> Decision making
กระบวนการของการเรียนรู้
เมื่อสิ่งเร้ากระตุ้นผ่านอวัยวะรับความรู้สึกประสาทสัมผัสทั้ง 5
หรือสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่และจะบันทึกข้อมูลบางส่วนไว้ พร้อมสั่งการไปตามเส้นประสาทสู่ระบบกล้ามเนื้อเพื่อการแสดงออกของพฤติกรรมที่เหมาะสม
รับความรู้สึกจะเปลี่ยนสิ่งเร้าให้เป็นกระแสประสาทส่งไปตามเส้นประสาทเข้าสมอง จากนั้นสมองจะตีความโดยเปรียบเทียบกับประสบการณ์ในอดีต
องค์ประกอบที่สำคัญของการรับรู้ มี 4 ประการ
มีสิ่งเร้า (Stimulus) สิ่งเร้าที่เป็นต้นกำเนิดให้เกิดการรับรู้จะอยู่
ในรูปของวัตถุหรือพลังงานต่าง ๆ
เช่น เสียง แสง อุณหภูมิ สี กลิ่น การที่บุคคลจะรับรู้ได้หรือไม่นั้น
ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับพลังงาน ปฏิกิริยา
ประสาทสัมผัส (Sense Organs) ที่ทำให้เกิดความรู้สึกสัมผัส เช่น ตาดู หูฟัง จมูกได้ กลิ่น ลิ้นรู้รส และผิวหนังรู้ร้อนหนาว
ระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง
มีบทบาทในการรับรู้ข้อมูลการรู้สึกที่ส่งเข้ามา
สมองทำหน้าที่ บันทึกและลงรหัสสิ่งเร้าเหล่านั้น
มีการประเมินและตีความต่อข้อมูลการรู้สึกเหล่านั้น
ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อกับสิ่งเร้า
ที่เราสัมผัส
กลไกลการรับรู้
การรับรู้นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การรับรู้ที่ถูกต้องจึงจะส่งผล ให้ได้รับ ความรู้ที่ถูกต้อง นักเรียนต้องได้การรับรู้ที่ถูกต้อง มิฉะนั้นความรู้ที่รับไปก็ผิดหมด
อิทธิพลที่มีผลต่อการรับรู้
สิ่งเร้าที่มีโครงสร้างและแบบแผน (Structured Stimulates) ได้แก่ สิ่งเร้าที่จัดเป็นรูปธรรม และการรับรู้ตรง
สิ่งเร้าที่ไม่มีโครงสร้างและแบบแผน (Unstructured Stimulates) ได้แก่ สิ่งเร้าที่ไม่ชัดเจน การรับรู้ที่ขึ้นกับตนเองอันมีผลมาจากประสบการณ์เดิม
ความหมายและธรรมชาติของการเรียนรู้
การรับรู้ (Perception) คือ กระบวนการที่เกิดภายหลังจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ (Stimuli) ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เพื่อตีความเป็นสิ่งที่มีความหายโดยใช้ความรู้
การถ่ายโยงการเรียนรู้
การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือประสบการณ์เดิมที่ได้จากการเรียนรู้ ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งใหม่หรือสถานการณ์ใหม่ๆ
การถ่ายโยงการเรียนรู้เชิงบวก (Positive transfer) หมายถึง
ความรู้หรือประสบการณ์เดิมช่วยส่งเสริม
ให้การเรียนรู้ใหม่ง่ายและรวดเร็วขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้เชิงลบ (Negative transfer) หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์เดิมเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ใหม่ ทาให้เรียนได้ยากลำบาก หรือล่าช้ากว่าเดิม
การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นศูนย์ (Zero transfer) หมายถึง
ความรู้หรือประสบการณ์เดิมไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ใหม่เลย
แรงจูงใจในการเรียนรู้
ความหมายของแรงจูงใจ
สภาวะอันเกิดจากความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แสดง
ออกด้วยพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ
จะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถ
จนเกิดเป็นทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ
ประเภทของแรงจูงใจ
แรงจูงใจภายใน เป็นความต้องการที่จะกระทำด้วยตนเองไม่ต้องการอิทธิพลใดๆ
แรงจูงใจภายนอก เป็นเเรงผลักที่เกิดจากภาวะภายนอกตัวบุคคลภาวะดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อบุคคลมากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมการทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้สำเร็จได้
ทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจที่สำคัญและสอดคล้องกับการเรียนการสอนรวม 4 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีปัญญานิยม ทฤษฎีมนุษยนิยม และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
การสร้างเสริมแรงจูงใจในการเรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่าง ๆเช่นบรรยากาศในการเรียน วิธีการสอนของครู ลักษณะทางอารมณ์และบุคลิกภาพของครู เนื้อหาสาระที่เรียน
การสร้างเสริมความเชื่อมั่นและการคาดหวังเชิงบวกในการเรียน การให้นักเรียน ห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน และการช่วยให้นักเรียนเกิดความใส่ใจในสิ่งที่เรียน