Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios) - Coggle Diagram
ภาวะน้ำคร่ำน้อย
(oligohydramnios)
ความหมาย
ภาวะที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่า 500 มิลลิลตร หรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงพบว่า deepest pocket น้อยกว่า 2 เซนต่เมตร หรือมีค่า amniotic fluid index (AFI) น้อยกว่า 5 เซนติเมตร บางรายน้ำคร่ำอาจลดลงเหลือเพียง 2-3 เซนติเมตร มีลักษณะข้นเหนียว แต่โดยทั่วไป ภาวะนี้มักมีน้ำคร่ำประมาณ 100-300 มิลลิลิตร
สาเหตุ
ทารก
ทารกมีความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะ ที่ให้ปัสสาวะออกน้อย ผิดปกติ เช่น มีการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ (urethral obstruction) หรือมีความผิดปกติของไต ได้แก่ renal agenesis, renal dysplasia ทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซม (chromosomal abnormalities) เช่น triploidy, trisomy 18, Turner Syndrome เป็นต้น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกแฝดที่มีภาวะ twin-twin transfusionsyndrome
มารดา
การแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำเป็นระยะเวลายาวนาน (prolonged
PROM) การตั้งครรภ์เกินกำหนด (post-term)
การรักษา
1.ติดตามประเมินการเจริญเติบโตและสภาวะของทารกในครรภ์
อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
การเติมสารละลายเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ (amnioinfusion) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้น้ำเกลือ (normal saline) หรือ physiologicalsaline ใส่เข้าไปแทนที่น้ำคร่ำ (amniotic fluid)
3.หากทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตราย พิจารณาให้คลอดโดยวิธีที่เหมาะสม
อาการเเละอาการเเสดง
1.ขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์
คลำส่วนของทารกได้ชัดเจน
สตรีมีครรภ์อาจรู้สึกว่าทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เนื่องจากถูกมดลูกบีบรัด
ภาวะเเทรกซ้อน
ภาวะเเทรกซ้อนต่อทารก
การแท้ง โดยเฉพาะถ้ามีน้ำคร่ำน้อยตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะสัมพันธ์กับทารกมีความพิการ
ทารกเกิดภาวะ amniotic band syndrome จากการที่มีเยื่อพังผืดรัดติดส่วนของร่างกาย ทารกกับผนัง amnion ที่ให้เกิดภาวะพิการ เช่น แขนขาเกิด amputation หรือ คอดกิ่ว นอกจากนี้การที่ทารกถูกมดลูกบีบรัด อาจทำให้เกืดการผิดรุปร่างของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น เท้าแป(clubfoot)หรือแขนขาโกง
ทารกในครรภ์ถูกกดเบียดจากการที่มีน้ำคร่ำน้อยมากเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อทารก ที่เรียกว่า Potter sequences คือ ทารกเกิดภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) หน้าตา ผิดปกต (จมูกแบน คางเล็ก) แขนขา หดเกร็งข้อสะโพกเคลิ่อน clubfoot และภาวะปอดแฟบมักจะทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด
เพิ่มความเสี่ยงในระยะคลอด เช่น สายสะดือถูกกด (cord compression) ทำให้เกิด ภาวะ fetal distress มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำอัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลงในรปแบบของ variable deceleration และส่งผลทำให้มีอัตราของการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องเพิ่มขึ้น
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้ทราบเกี่ยวกับภาวะน้ำคร่ำน้อย แผนการรักษาและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยนอนตะแคงซ้ายเพื่อ
เพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่มดลูก
แนะนำการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพิ่มโปรตีน
แนะนำให้สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ หากดิ้นน้อยกว่า 10ครั้ง/วัน ควรรีบมาพบแพทย์
ติดตามระดับความสูงของยอดมดลูก และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวของสตรีมีครรภ์
ระยะคลอด
1.แนะนำการนอนพักบนเตียง ในท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อลดภาวะสายสะดือถูกกด และเพื่อให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมดลูกได้ดีมากขึ้น
ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และเสียงหัวใจทารกทุก 1 - 2 ชั่วโมง
กรณีที่มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ ให้สังเกตการณ์มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
หากพบว่ามี meconium ในน้ำคร่ำ หรือเสียงหัวใจทารกผิดปกติ ควรแก้ไขโดยให้ผู้คลอด นอนตะแคงซ้าย ดูแลให้ได้รับ O2 ปรับเพิ่มอัตราการหยดของสารละลายเข้าทางหลอดเลือดและรายงานแพทย์
หลีกเลี่ยงการให้ยาบรรเทาปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
7.หากมีความจำเป็นต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอดหรือผ่าตัดคลอด ควรเตรียม ผู้คลอดให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและกฎหมาย
รายงานกมารแพทย์และเตรียมอุปกรณในการฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิดได้ทันทีระยะหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ควบคุมอุณหภูมิเพิ่อป้องกันการสูญเสีย ความร้อนจากร่างกายทารก
ตรวจร่างกายทารกอย่างละเอียด เพื่อประเมินความพิการหรือความผิดปกติ
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก โดยให้มารดาได้สัมผัสและสำรวจทารกก่อนที่จะนำทารกไปหน่วยทารกแรกเกิด พร้อมทั้งอธิบายลักษณะของทารกน้ำหนักตัวน้อยให้มารดาเข้าใจ เพื่อลดความวิตกกังวลและเกิดการยอมรับทารก
อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงแผนการรักษาแก่ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และเปิดโอกาส ให้มารดาได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัย
เน้นให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา