Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด (Postterm pregnancy) - Coggle Diagram
ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด
(Postterm pregnancy)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์หรือมากกว่า 294 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดทาย (last menstrual period: LMP)
สาเหตุ
น่าจะเกิดจากลักษณะทางกายวิภาคและระบบชีวเคมี
จากการศึกษาพบว่าครรภ์เกินกำหนดมีความสัมพันธ์กับทารกที่มีความพิการ เช่น ทารกที่มีต่อมหมวกไตฝ่อ ทารกสมองเล็ก การตั้งครรภ์ในช่องท้อง และสภาพรกผิดปกติ
3.ปัจจัยด้านอายุ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 25 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
4.หญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์เกินกำหนดอีก
5.ปัจจัยทางอายุรศาสตร์ที่ทำให้รกเสื่อมเร็ว (placental aging) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน collagen vascular disease
6.หญิงตั้งครรภ์ที่มีความวิตกกังวลสูง
หญิงตั้งครรภ์ที่เคยผ่านการคลอดมากกว่า 4 ครั้ง
8.หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานยาคุมกำเนิด จนกระทั่งถึงวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP)
9.หญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกในไตรมาสแรก เช่น แท้งคุกคาม
10.หญิงตั้งครรภ์ที่เคยได้รับยายับยั้งการคลอดของทารก หรือ amnion ที่ไม่สามารถกระตุ้นให้มีการหลั่ง prostaglandin ออกมาได้จึงไม่มีอาการเจ็บครรภ์
อาการเเละอาการเเสดง
มดลูกมีขนาดเล็กลง คลำพบทารกชัดเจน เนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำลดลง กล้ามเนื้อและไขมันใต้ผิวหนังของทารกมีน้อยลงและปริมาณน้ำคร่ำลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากรกเสื่อม น้ำหนักมารดาลดลงมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์และทารกดิ้นน้อยลง และในระยะคลอดจากการตรวจภายในอาจพบกระดูกศีรษะทารกแข็งและไม่เกิด molding
ภาวะเเทรกซ้อน
มารดา
1.คลอดยาก เนื่องจากทารกตัวโตกว่าปกติ (macrosomia) ซึ่งเกิดจากรกอยู่ในสภาพปกติ จึงทำให้ทารกเจริญเติบโตต่อไปได้การที่ทารกตัวโตมาก
2.เสี่ยงต่อการตกเลือดในระยะที่ 2 ของการคลอดเนื่องจากระยะที่ 1, 2 ของการคลอดยาวนาน หรือได้รับการคลอดโดยใช้หัตถการ
หญิงตั้งครรภ์ได้รับความกระทบกระเทือนด้านจิตใจจากการคลอดยาวนาน เนื่องจากอาการไม่สุขสบายในไตรมาสที่สาม
ทารก
ทารกเสี่ยงต่อภาวะขาดออกชิเจน (fetal distress) เนื่องจากภาวะน้ำคร่ำน้อยทำให้สายสะดือถูกกด (cord compression) ถ้าสายสะดือถูกกดอย่างรุนแรงและเป็นเวลานาน จะทำให้ทารกเสียชีวิตได้
การรักษา
ระยะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจสอบอายุครรภ์อย่างแม่นยำ ตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก ถ้าจำ LMP ไม่ได้แน่นอน ควรตรวจด้วย ultrasound ตั้งแต่ระยะแรกเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์แล้วยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ จะได้รับการทำ NST
ระยะคลอด ถ้าตรวจพบว่ารกเสื่อม ควรติดตามฟังเสียงหัวใจทารกตลอดระยะการคลอด ถ้าพบว่าการเร่งคลอดไม่ประสบผลสำเร็จ ควรพิจารณาผ่าตัดคลอด
การพยาบาล
การซักประวัติอายุครรภ์ และตรวจสอบอายุครรภ์และตรวจสอบอาการและอาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการของภาวะครรภ์เกินกำหนด
2.การประเมินภาวะแทรกซ้อนที่มีต่อหญิงตั้งครรภและทารก ซึ่งเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด
ได้แก่
2.1 การฟังเสียงหัวใจทารก ทั้งนี้เนื่องจากน้ำคร่ำมีปริมาณน้อย สายสะดือทารกอาจถูกกดทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้
2.2 ซักประวัติการดิ้นของทารกในครรภ์ ถ็าพบทารกดิ้นน้อยลง ทารกอาจเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนได้
2.3 ตรวจสอบน้ำหนก เมื่ออายุครรภ์ใกล้ครบคลอด ไม่ควรลดมากเกิน 1 กก./สัปดาห์ แต่ถ้าพบว่าน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
ถึง 1.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ หญิงตั้งครรภ์อาจเป็นเบาหวาน ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับการคลอดเกินกำหนดได้
2.4 วัดความดันโลหิต อาจพบว่า ความดันโลหิตสูง เพราะความดันโลหิตสูง พบว่ามีความสัมพันธ์กับครรภ์เกินกำหนดคลอดได้เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงทำให้รกเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ
ภาวะจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์เมื่อรับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอด
3.1 การรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ ได้แก่ การประเมินความรู้ของมารดาเกี่ยวกับอันตรายของครรภ์เกินกำหนด ความรู้เกี่ยวกับการสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ การสังเกตขนาดของมดลูกที่ลดลงมากผิดปกติ การรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการตรวจพิเศษ เช่น NST, CST และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การรับรู้ภาวะสภาพของทารกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด เช่น การถ่ายขี้เทาของทารกในระยะคลอด เป็นต้น