Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (Teenage or adolescent pregnancy) - Coggle…
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (Teenage or adolescent pregnancy)
การตั้งครรภ์ในสตรีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วัยรุ่นตอนต้น อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 14 ปี , วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 15-17 ปี และวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-19 ปี
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สภาพครอบครัว
1.1 สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี พ่อแม่ทะเลาะกันเป็นประจำทำให้บรรยากาศในบ้านไม่น่าอยู่ทำให้วัยรุ่นรู้สึกไม่ดี ไม่อยากอยู่บ้าน ส่งผลทำให้วัยรุ่นออกจากบ้านมาหา
เพื่อนหรือแฟน
1.2 ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน ลูกต้องอยู่กับพ่อหรือแม่ หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ส่งผลทำให้วัยรุ่นรู้สึกหว้าเหว่ ขาดความรักและความอบอุ่น ทำให้แสวงหาความรักในทางที่ไม่เหมาะสม
1.3 ภาระหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องทำงานจนไม่มีเวลาพูดคุยกับลูก ก่อให้เกิดความห่างเหินระหว่างวัยรุ่นกับพ่อแม่มากขึ้น
อัตราวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วในปัจจุบันมีมากขึ้น
2.1 การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่าง ๆ ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ๆในอัตราที่มากขึ้น
2.2 ระดับการศึกษาหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ ทำให้ขาดความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ ตลอดจนขาดโอกาสในการเข้าบริการต่าง ๆ
2.3 การดื่มสุราหรือการใช้สารเสพติดต่าง ๆ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจและเกิดการตั้งครรภ์ตามมา
การขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ หรือความล้มเหลวในการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ
การถูกข่มขืนโดยบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่น
การที่สตรีมีประจำเดือนครั้งแรก ทำให้มีการตกไข่เร็วจึงสามารถตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุน้อย
ประวัติที่สำคัญ
อาการนำ มักมีความหลากหลาย ตั้งแต่อาการที่ไม่ชัดเจนของการตั้งครรภ์ เช่น เป็นไข้ เจ็บคอ ปวดท้อง หรืออาการของทางเดินปัสสาวะ จนถึงอาการที่ชัดเจนของการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับการตั้งครรภ์ในหญิงทั่วไป
ประวัติอื่น ๆ
ได้แก่ อาชีพ การศึกษา การใช้ยา สารเสพติด สุราหรือบุหร
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีและทารก
ด้านร่างกาย
วัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกายกำลังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตเมื่อตั้งครรภ์อาจทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงักหรือเพิ่มน้อยกว่าปกติ
สตรีวัยรุ่นบางคนประจำเดือนยังมาไม่สม่ำเสมอทำให้วินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ล่าช้า
ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน (unplanned pregnancy) และไม่สามารถยอมรับการตั้งครรภ์ได้กลายเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ (unwanted pregnancy)
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจริญของระบบต่าง ๆ ในร่างกายยังไม่สมบูรณ์
ด้านจิตสังคม
มีภาวะเครียด และวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตนเอง
ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและครอบครัว อาจต้องออกจากโรงเรียน
มีปัญหาเรื่องการปรับตัวเนื่องจากวุฒิภาวะทางอารมณ์ยังเจริญไม่เต็มที่และมักขาดความอดทนต่อสิ่งต่าง
การปรับตัวในบทบาทของการเป็นมารดาล่าช้า เนื่องจากการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ตั้งใจทำให้เกิดปัญหาการยอมรับการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยจากภาวะทุพโภชนาการของมารดา
การคลอดก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
อัตราตายปริกำเนิดสูงขึ้น
ทารกได้รับการดูแลไม่เหมาะสมทั้งด้านร่างกายและจิตใจบางคนถูกทารุณกรรมหรือถูกทอดทิ้ง