Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Meconium Aspiration Syndrome (MAS) - Coggle Diagram
Meconium Aspiration Syndrome (MAS)
เป็นกลุ่มอาการหายใจลำบากที่เกิดเนื่องจากทารกสูดสำลักขี้เทาซึ่งปนอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจอาจเกิดขึ้นขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอดหรือทันทีหลังคลอด โดยความรุนแรงของโรคมีความแตกต่างกัน
ลักษณะ
1) ลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยาปกติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของลำไส้
2) ลักษณะความผิดปกติทางพยาธิสภาพของรกและทารกในครรภ์ที่ตอบสนองต่อความเครียด
สาเหตุ
ปัจจัยด้านมารดา
มารดาอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์ ที่ส่งผลให้รกเสื่อมสภาพ
มารดามีภาวะความดันในโลหิตสูงขณะตั้งครรภ
มารดามีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
มารดามีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
มารดามีภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบหรือการติดเชื้ออื่นๆ
ปัจจัยด้านทารก
เมื่อทารกในครรภ์มารดา มีภาวะขาดออกซิเจน ร่างกายของทารกจะมีการปรับตัวเพื่อหาแหล่ง ของออกซิเจนมาใช้ เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ทารกจะมีภาวะเครียด เป็นผลทำให้มีการคลายตัวของหูรูดลำไส้ของทารก ส่งผลให้ทารกมีการถ่ายขี้เทาปนในน้ำคร่ำมารดา
พยาธิสรีรวิทยา
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาเมื่อมีภาวะขาดออกซิเจน
ร่างกายของทารกจะมีการปรับตัวเพื่อหาแหล่งของ
ออกซิเจนมาใช้ เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ทารกจะมีภาวะเครียด เป็นผลทำให้มี การคลายตัวของหูรูดคลำไส้ของทารก ส่งผลให้ทารกมีการถ่ายขี้เทาปนในน้ำคร่ำมารดา เมื่อทารกคลอด และมีการสูดสำลักขี้เทา
อาการและอาการแสดง
อาการหอบเหนื่อย ปอดมีเสียงผิดปกติเสียงคราง ปีกจมูกบาน หายใจลำบาก มีการใช้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจ
การวินิจฉัย
ทารกมีอาการหายใจลำบาก มีการใช้กล้ามเนื้อในการหายใจ
ตรวจร่างกายพบน้ำคร่ำมีตะกอนขี้เทาปนในระยะคลอด
ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบความผิดปกติ ได้แก่ alveolar infiltration hyperaeration atelectasis
การส่งตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดอาจพบภาวะกรดในร่างกายค่า pH <7.25 ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ทั่ง (PCO2, 55mmHg) ภาวะพร่องออกซิเจน (PO2, 80mmHg)
การรักษา
ให้ทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การรักษาทางยา การเลือกใช้ยาพิจารณาตามอาการของทารก
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดและภาวะความดันในปอดสูง
กระบวนการพยาบาล
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกการประเมินความรู้สึกตัว สีผิว การตอบสนองต่อการกระตุ้น ความดึงตัวของ กล้ามเนื้อ สัญญาณชีพ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ทารกได้รับการช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยการดูดเสมหะในปากและจมูกเมื่อจำเป็นเท่านั้น
2.2 การเตรียมอุปกรณ์ช่วยหายใจแต่ละชนิดหรืออุปกรณ์ให้ออกซิเจนให้ครบถ้วน พร้อมใช้
การดูแลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและลดการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
การบริหารยาแก่ทารก พยาบาลต้องมีความระมัดระวังในการให้ยาตรวจสอบขนาดยา ชนิด ของยาให้ถูกต้อง
การดูแลตามอาการของทารก เช่น การป้องกันการติดเชื้อ
การดูแลด้านจิตใจของบิดา-มารดา ทารกแรกเกิดเป็นกลุ่มผู้ป่วยเปราะบาง