Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้สารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์ (Drug addicted pregnancy) - Coggle Diagram
การใช้สารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์
(Drug addicted pregnancy)
ความหมาย
การใช้ยาเสพติดหรือสารเสพติดในสตรีมีครรภ์
ประเภท
1.กลุ่มที่กระคุ้นการทำงานของระบบประสาท (Central nervous system stimulant) เช่น โคเคน (cocain) ยาบ้า (amphetamine) สารนิโคตินในบุหรี่
2.กลุ่มที่กดการทำงานของระบบประสาท (Central nervous system depressant) เช่น กัญชา(marijuana) เฮโรอีน(heroin) ฝิ่น(opioids) มอร์ฟีน(Morphine) แอลกอฮอล์(Alcohol) เป็นต้น ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทแล้วสารบางตัวยังหลอนประสาท (CNS euphoria) หรือกระตุ้นประสาทด้วย โดย กัญชา เฮโรอีน และฝิ่นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท ส่วนมอร์ฟีนจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท
ปัจจัยส่งเสริม
ปัจจุบันพบการใช้สารเสพติดในสตรีมีครรภ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อย มีปัญหาครอบครัว และฐานะยากจน ซึ่งสตรีกลุ่มนี้มักขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขณะใช้สารเสพติด และพบว่าสตรีที่สูบบุหรี่และดื่มสุรามีการใช้สารเสพติดมากขึ้น
ผลกระทบสตรีตั้งครรภ์
ด้านร่างกาย
สตรีที่ใช้สารเสพติดมักมีฐานะยากจนทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและไม่มาฝากครรภ์หรือมาฝากครรภ์ไม่สม่ำเสมอทำให้ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงและไม่ได้รับการดูแลในระหว่างการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม :
เกิดการติดเชื้อจากการฉีดสารเสพติดเข้าทางหลอดเลือดดำโดยเฉพาะเชื้อ hepatitis B และ HIV Dura
พบอุบัติการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงขึ้น
ได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ของสารเสพติดที่ใช้ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทดังที่กล่าวไปข้างต้นผลกระทบที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเกิดโรคหลอดเลือดในสมองและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ด้านจิตสังคม
มีความทนต่อความเจ็บปวดต่ำ
มองภาพลักษณ์ตนเองไม่ดี
มีสัมพันธภาพไม่ดีกับทารก
มีการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาไม่เหมาะสมและไม่มีความพร้อมต่อการเลี้ยงดูบุตร
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของทารก
สารเสพติดสามารถผ่านรกได้ตลอดการตั้งครรภ์จึงอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ เช่น เกิดการแท้งเองทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อัตราตายปริกำเนิดสูงขึ้น ทารกพิการ แต่กำเนิดโดยเฉพาะมารดาที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะทำให้ทารกเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า fetal alcohol syndrome (FAS) ซึ่งมีลักษณะตัวเล็กศีรษะเล็กปัญญาอ่อนแขนขาพิการตัวอ่อนปวกเปียกดูดนมไม่ดีมีอาการชักเป็นต้น
ทารกที่เกิดขณะมารดาใช้สารเสพติดอาจมีอาการของภาวะขาดยา (neonatal abstinence Syndrome) เช่น หัวใจเต้นเร็วกระสับกระส่ายร้องไห้ตลอดเวลา เป็นต้น
ในระยะยาวพบว่าสตรีที่ใช้สารเสพติดมีแนวโน้มที่จะทอดทิ้งบุตรมากขึ้นรวมถึงการอยู่ในสังคมเดิมที่เป็นแหล่งยาเสพติดทำให้บุตรมีโอกาสติดยาเสพติดมากขึ้น
การประเมินและการวินิจฉัย
1.การซักประวัติและการสังเกต พบอาการและอาการแสดงของการใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ หรือสตรีมีครรภ์เป็นผู้ให้ข้อมูลเรื่องการใช้สารเสพติด
2.การตรวจร่างกาย พบร่องรอยของการใช้สารเสพติด
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบสารเสพติดในปัสสาวะ แต่ในปัจจุบันไม่สามารถทำการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะผู้ที่มาฝากครรภ์ทุกรายเนื่องจากมีปัญหาเรื่องต่าใช้จ่ายและด้านสิทธิผู้ป่วย
แนวทางการดูแลรักษา
สืบค้นสตรีมีครรภ์ทุกรายว่ามีการใช้สารเสพติดชนิดใดในขณะตั้งครรภ์หรือไม่โดยทำการสืบค้นตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรกและสุ่มตรวจสารเสพติดในปัสสาวะเป็นระยะ
การดูแลในขณะฝากครรภ์ให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงดูแลเรื่องการใช้สารเสพติดประเมินผลกระทบตรวจคัดกรองความผิดปกติและประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงและประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ตามข้อบ่งชี้
ถ้าพบความพิการหรือความผิดปกติ แต่กำเนิดของทารกพิจารณายุติการตั้งครรภ์ตาม
ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นให้การดูแลตามแนวทางการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้น ๆ
การดูแลในระยะคลอดแรกรับควรประเมินสารเสพติดในปัสสาวะและให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงดูแลเรื่อง pain management อย่างเหมาะสมใช้ติศาสตร์หัตถการตามข้อบ่งชี้เตรียมอุปกรณ์และทีมให้พร้อมในขณะคลอด
การดูแลภายหลังคลอดช่วยเหลือเรื่องการหยุดใช้ยาอย่างต่อเนื่องและควรประเมินความ (มารถในการดูแลทารกถ้าดูแลไม่ได้ต้องแยกทารกออกมาและมีการตรวจเยี่ยมสุขภาพของ (ดาและทารกรวมถึงสภาพจิตใจและสังคมอย่างสม่ำเสมอ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.อธิบายผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้สารเสพติดในระยะตั้งครรภ์
2.ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเรื่องการหยุดใช้สารเสพติด
3.ประเมินภาวะแทรกซ้อน จากการวัดสัญญาณชีพ ดูการเพิ่มของน้ำหนัก ตวามสูงของยอดมดลูก การดิ้นอละเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง และผลการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมทั้งอาการผิดปกติอื่นๆ
4.อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของการมาฝากครรภ์ตามนัด
5.แนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่ครบถ้วน และรับประทานยาี่มีธาตเหล็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง ส่วเสริมการเจริญเติบโตของทารก
6.ส่งต่ออย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารก
ระยะคลอด
ให้ดูแลเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวดอย่างเหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการคลอดรายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมดูแลทารกแรกเกิดซึ่งอาจมีอาการขาดยา
ระยะหลังคลอด
1.1 ถ้าสตรียังคงมีการใช้สารเสพติดในระหว่างการตั้งครรภ์อาจไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเนื่องจากสารเสพติดสามารถผ่านทางน้ำนมไปสู่ทารกได้
1.2 ก่อนกลับบ้านประเมินความสามารถในการดูแลทารกและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือถ้าไม่สามารถดูแลได้ต้องแยกทารกออกมาถ้าสามารถดูแลได้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูบุตร
1.3 อธิบายให้เห็นความสำคัญของการคุมกำเนิดและให้คุมกำเนิดทันทีหลังคลอด
1.4 สนับสนุนช่วยเหลือเรื่องการหยุดใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่องถ้ามีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายส่งปรึกษานักสังคมสงเคราะห์และติดตามเยี่ยมบ้านอย่างสม่ำเสมอ
1.5 ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ให้การพยาบาลตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของสตรีมีครรภ์และครอบครัวและส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกและครอบครัวโดยให้การดูแลดังนี้วางแผนเรื่องการดูแลทารกภายหลังคลอด
2.1 สร้างสัมพันธภาพกับสตรีมีครรภ์และครอบครัวทำให้สตรีมีครรภ์รู้สึกไว้วางใจ
2.2 เปิดโอกาสให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวพูดคุยระบายความรู้สึกและร่วมกัน
2.3 ให้การดูแลด้านจิตสังคมอย่างเหมาะสมให้กำลังใจและส่งเสริมให้มองตนเองในระยะหลังคลอด
2.4 ส่งเสริมให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกับกลุ่มต่างๆเช่น childbirth ด้านบวกไม่ว่ากล่าวหรือตำหนิที่สตรีมีครรภ์ใช้สารเสพติด preparation class, prenatal class, maternal class เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการปรับตัวและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดโดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงดูบุตรภายหลังคลอดและระยะหลังคลอด