Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบหายใจ - Coggle Diagram
ระบบหายใจ
-
การแลกเปลี่ยนแก๊ส
2.การแลกเปลี่ยนแก๊สขณะหายใจออก แก๊ส CO2 ที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารภายในเซลล์จะแพร่ออกจากเซลล์ร่างกายไปสู่หลอดลมฝอยแล้วไปสู่ถุงลมฝอยภายในปอด แล้วลำเลีบงผ่านทางเดินลมหายใจออกสู่ภายนอกทางจมูก ปริมาณ
CO2 จะเป็นตัวกำหนดอัตราการหายใจเข้า – ออก โดยมีศูนย์ควบคุมการหายใจอยู่ที่สมองส่วนท้ายที่เรียกว่า เมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata)
1.การแลกเปลี่ยนแก๊สขณะหายใจเข้า ขณะหายใจเข้า แก๊สO2 ในถุงลมจะแพร่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เลือด แก๊สO2 ในเลือดเข้าจับกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง เลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเซลล์ต่างๆ โดยเฮโมโกลบินปล่อยแก๊สO2 ให้เซลล์ ซึ่งแก๊สO2 ในเซลล์มีบทบาทในปฏิกิริยาการสลายสารอาหารในเซลล์แล้วให้พลังงานแก๊ส CO2 และน้ำเรียกกระบวนการนี้ว่า การหายใจระดับเซลล์ (Cellular Respiration)
-
ทางเดินหายใจส่วนบน
หน้าที่
เป็นทางผ่านของอากาศที่ใช้ในการหายใจและช่วยกรองอากาศที่หายใจเข้าไป โดยฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศจะถูกดักจบโดยเมือกหรือสารหล่อลื่น (mucous) ที่ถูกหลั่งออกมาและเส้นขนเล็กๆที่อยู่ภายในจมูก นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศให้มีความเหมาะสมก่อนที่จะส่งต่อไปยังทางเดินหายใจส่วนต่อไป เช่น การเพิ่มความชื้นและการปรับอุณหภูมิ เป็นต้น อีกทั้งยังมีหน้าที่ต่างๆเช่น ช่วยให้เสียงเกิดความก้องกังวาน ช่วยให้กระดูกหน้ามีน้ำหนักเบาลง เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่น การออกเสียง และการพูด เป็นต้น
การทำงานของระบบหายใจ
การหายใจเข้าและออก
การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก
การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด
ด.ช.ธนภัทร แสวงงผล ม.2/1 เลขที่7
ด.ช.วีระพล หนูนวน ม.2/1 เลขที่22