Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่รักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy : ECT) -…
การพยาบาลผู้ป่วยที่รักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy : ECT)
การพยาบาล
ก่อน ECT
ให้ผู้ป่วยและญาติเซ็นยินยอมวันที่เข้ารับการรักษา
ตรวจดูเวชระเบียน ผล Lab, EKG, CXR
NPO
งดยาที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำ และหยุดยาปรับอารมณ์ ยากันชัก เพราะอาจเสริมฤทธิ์ทำให้เป็นอันตรายแก่หัวใจ
ดูแลให้ผู้ป่วยอาบน้ำ สระผม และเช็ดให้แห้ง เก็บเครื่องประดับ ตรวจดูฟันปลอม
อธิบายผู้ป่วยถึงเหตุผลที่ต้องทำ ECT
บอกขั้นตอนการทำ และบอกถึงอาการข้างเคียงหลังทำ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึก
ก่อนส่งตรวจวัดสัญญาณชีพ
ระหว่าง ECT
แนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักทีม
ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ตรวจฟันปลอมและเครื่องประดับ สอดหมอนเล็กๆเพื่อประคองหลังตรงบั้นเอวและคอ ตรวจสัญญาณชีพ
เตรียมเครื่องช่วยหายใจให้พร้อม
ทาเจลลี่วางแผ่นอิเล็กโทรตไว้ที่ขมับทั้งสองข้าง ใช้สายรัดรอบศีรษะให้แน่นตรึง ต่อสายอิเล็กโทรตเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ปรับความเข้มของกระแสไฟฟ้า 70-130 โวลล์
พยาบาลใส่ mouth gag เพื่อป้องกันการกัดลิ้นขณะชัก
ให้ผู้ช่วย 2 คนจับบริเวณไหล่และข้อมือและอีก 2 คนจับบริเวณสะโพกและหัวเข่าข้างละคน เมื่อแพทย์กดปุ่มเปิดสวิตซ์ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านนาน 0.1-0.5 วินาที ผู้ป่วยจะมีอาการกระตุกและหมดสติทันที
หลังทำ ECT พยาบาลควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรก ดูการหายใจ หากหายใจขัดต้องให้ออกซิเจนจนกว่ารู้สึกตัวดีขึ้น
หลัง ECT
จัดท่านอนให้ในท่าที่สบายใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้าและแขนขาเพื่อความสบาย
ดูแลให้ดื่มน้ำและรับประทานอาหารเนื่องจากผู้ป่วย NPO ก่อนการรักษา หากมีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
หลังการรักษา 1 วันให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมได้ตามปกติ
หลังทำการรักษาผู้ป่วยจะสูญเสียความจำ ต้องให้ข้อมูลว่าอาการหลงลืมเป็นอยู่ชั่วคราวจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ควรช่วยฟื้นฟูความจำของผู้ป่วยด้วยการทบทวนเรื่องราวต่างๆกับผู้ป่วยเสมอ
:warning: การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาที่ใช้กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้เกิดอาการชักติดต่อกัน ด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสมองน้อยที่สุดเพื่อทำให้เกิดการชักและสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานในสมอง อารมณ์และความคิดของผู้ป่วย
กลไกการออกฤทธิ์
กระแสไฟฟ้าจะไปกระตุ้นให้มีระดับการหมุนเวียนของสารสื่อประสาท เช่น serotonin norepinephrine dopamine อยู่ในภาวะสมดุลทำให้อาการต่างๆ ลดลง
ข้อบ่งชี้
:check:
โรคซีมเศร้า
ผู้ป่วยที่มีความคิดฆ่าตัวตาย
โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)
โรคจิตเภท (schizophrenia)
ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา
ข้อห้ามในการทำ ECT
:red_cross:
โรคทางสมองทุกชนิด
โรคหัวใจทุกชนิด
โรคกระดูกทุกชนิด
กระดูกเปราะ
ใส่เหล็ก
เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
การเจริญเติบโตของสมองไม่เต็มที่
ข้อควรระวัง
:!:
โรคความดันโลหิตสูง
ให้ NPO เว้นยา
ผู้ป่วยอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
เสี่ยงสมองเสื่อม
สตรีมีครรภ์
ไตรมาสแรก
ผู้ป่วยโรคปอด
ผู้ป่วยอ่อนเพลียมาก ๆ
ยาที่มีผลต่อการทำ ECT
:
ยากลุ่ม TCA
Amitriptyline
Nortriptyline
Imipramine
Mianserin
ข้อควรระวัง :!:
ทำให้เกิด Hypertension crisis ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำ ECT
ยากลุ่ม TCA เสริมฤทธิ์ anticholinergic โดยเฉพาะผู้สูงอายุทำให้เกิดอาการสับสนในระยะพักฟื้น
Lithium
ไม่ค่อยมีผลต่อการทำ ECT แต่จะเสริมฤทธิ์ barbiturate ทำให้ตื่นช้า
เสริมฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
Clozapine
หลังจากที่ทำ ECT ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้มีโอกาสชักได้
ยากลุ่ม Benzodiazepine (ยานอนหลับ)
Diazepam
Lorazepam
Clonazepam
Alprazolam
Chlodiazepoxide
Carbarmazepine (ยากันชัก)
Sodium Valproate
ยาที่ใช้นำสลบก่อน ECT
Propofol
ข้อบ่งใช้
นำสลบ ใช้ในการ sedation
ข้อควรระวัง
Hypotension, Myocardial depression, Respiratory depression, Hypoxia
การพยาบาล
Monitor HR, BP, Oxygen saturation
Succinylcholine
การออกฤทธิ์
ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ผลข้างเคียง
กดการหายใจ, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, แรงดันในลูกตาเพิ่ม
การพยาบาล
Monitor HR, BP, Oxygen saturation
ปฏิกิริยาตอบสนอง
(Unmodified method)
ปฏิกิริยาตอบสนอง (Modified method)
ระดับที่ 1 การชักบริเวณหน้า คอ ปลายนิ้วมือหรือนิ้วเท้า
ระดับที่ 2 การชักถึงข้อมือหรือข้อเท้า แต่ไม่ถึงข้อศอกหรือเข่า
ระดับที่ 3 การชักที่ข้อศอกหรือเข่า
ระดับที่ 4 การชักที่รุนแรง หลัง สะโพก ไหล่ยกลอยจากเตียง
ระยะที่ 1 Unconcious stage กระตุกและหมดสติประมาณ 1 วินาที
ระยะที่ 2 Tonic stage กล้ามเนื้อเกร็ง ใบหน้าเงยขึ้น ขากรรไกรอ้า ลำตัวแอ่น แขนขาเกร็ง เท้าจิกลงและหยุดหายใจ เกร็งนาน 10 วินาที
ระยะที่ 3 Clonic stage กระตุกถี่หลายครั้งนาน 30 วินาที ลักษณะกระตุกเรียกว่า grandmal seizure กระตุกของนิ้วมือ นิ้วเท้า
ระยะที่ 4 Apnea stage ผู้ป่วยหยุดหายใจประมาณ 10 วินาที
ระยะที่ 5 Sleep stage ผู้ป่วยหลับนาน 10-20 นาที
ระยะที่ 6 Confusion stage มีอาการงุนงง สับสน บางรายหลับต่ออีก 30 นาทีจึงฟื้น
วิธีการทำ ECT
วิธีแบบดั้งเดิม (Unmodified method)
ไม่มีการให้ยา ทำโดยผู้ป่วยยังรู้สึกตัว
วิธีแบบดัดแปลง**
(Modified method)**
การให้ยาสลบควรทำในห้องที่มีเครื่องช่วยหายใจพร้อมใช้ยาคลายกล้ามเนื้อทำให้ผู้ป่วยมีอาการชักไม่รุนแรง