Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร, นางสาวขนิษฐา สังข์แก้ว 60204507 …
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ความหมาย
การเขียน หมายถึง การที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาศัยสัญลักษณ์ที่เรียกว่าตัวหนังสือหรือตัวอักษรเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจร่วมกัน
ความสำคัญของการเขียน
การเขียนมีความสำคัญในแง่ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์
ที่มนุษย์ใช้ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและสติปัญญาต่อกันและกัน
การเขียนเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม อันเป็นมรดกด้านภูมิปัญญาของมนุษย์
การเขียนช่วยเผยแพร่ กระจายความรู้ ความคิดและข่าวสารได้อย่างกว้างไกลและรวดเร็ว
การเขียนเป็นการบันทึกทางสังคมที่ให้คุณค่า อำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ชนรุ่นหลังทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ลักษณะของงานเขียนที่ดี
1 มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน
2 มีเอกภาพ
3 มีสัมพันธภาพ
4 มีความกระจ่าง
5 มีรูปแบบการเขียนเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
6 มีเนื้อหาดีและรายละเอียดเด่นชัด
ทักษะการพูดเชิงวิชาการ
ความหมาย
การพูดหมายถึง พฤติกรรมการสื่อความหมายของมนุษย์โดยอาศัยภาษา ผ่านถ้อยคำ น้ำเสียง และอาจมีกิริยาท่าทางร่วมด้วย เพื่อถ่ายทอดความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของการพูด
การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะมนุษย์จำเป็นต้องมีการคบหาสมาคมซึ่งกันและกัน ต้องมีการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา การเมือง ประเพณี วัฒนธรรม
การพูดมีความสำคัญต่อผู้ฟังหรือผู้เกี่ยวข้อง การได้รับรู้หรือได้รับฟังข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์ นอกจากจะทำให้ผู้ฟังหรือผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ เกิดความคิดและเกิดความสบายใจแล้ว
องค์ประกอบของการพูด
ผู้พูด (Speaker)
ผู้ฟังคือผู้รับสาร (Audience)
เนื้อหาสาร (Message)
เครื่องมือในการสื่อความหมาย (Communication)
จุดมุ่งหมายของการพูด
1 เพื่อสอนหรือแจ้งข่าวสารให้ทราบ
2 เพื่อเกลี้ยกล่อมหรือจูงใจ
3 เพื่อกระตุ้นหรือสร้างความประทับใจ
4 เพื่อความบันเทิง
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ความหมาย
การอ่านเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่มนุษย์ใช้สำหรับสืบค้นและเรียนรู้บรรดาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการได้รับรู้และสัมผัสได้ด้วยตนเองโดยผู้อ่านต้องแปลความหมายจากตัวอักษร
กระบวนการการอ่าน
1 การมองเห็นตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือข้อความชัดเจนแล้วเข้าใจ
2 การเข้าใจความหมายของสาร
3 การมีปฏิกิริยาต่อสาร
4 การบูรณาการความคิด
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
อ่านเพื่อความรู้
อ่านเพื่อหาคำตอบ
อ่านเพื่อปฏิบัติตาม
อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
ประโยชน์ของการอ่าน
1. ประโยชน์ต่อตนเอง
คือก่อให้เกิดความรอบรู้ คืออ่านมากย่อมรู้มาก เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ที่ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมากทำให้เป็นคนทันสมัยอยู่เสมอ
2 ประโยชน์ต่อสังคม
1) ทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม การอ่านเป็นกุญแจในการสืบค้น
ดำรงไว้ส่งเสริมพัฒนาและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมทางสังคมและวิทยาการของมวลมนุษยชาติ
2) ทางด้านสังคม การอ่านเป็นการสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคลให้เกิดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดการเรียนรู้สังคมและกิจกรรมทางสังคม นำมาซึ่งการรวมกลุ่มสังคมด้วย
3) ทางด้านเศรษฐกิจ การอ่านนอกจากจะส่งผลต่ออาชีพและเศรษฐกิจของตนให้ดีขึ้น
แล้วยังส่งผลต่อการรวมกลุ่มสู่เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจทางสังคม
4) ด้านประชาธิปไตย การอ่านเป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำเสนอความคิดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ทั้งโดยตรงและผ่านสื่อมวลชน
ด้วยทัศนะที่หลากหลายเป็นที่ยอมรับกันด้วยความรู้ด้วยเหตุผล ทำให้ระบบประชาธิปไตยก่อเกิดและยั่งยืน
ทักษะการฟังเชิงรุก
กระบวนการฟัง
1 การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (Hearing)
2 การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (Concentration)
3 การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (Comprehension)
4 การตีความสิ่งที่ได้ยิน (Interpretation)
5 การตอบสนอง (Reaction)
ความหมาย
การฟังเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการรับสาร (Inputting) ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าทักษะด้านอื่น ๆ
จุดมุ่งหมายของการฟัง
1 การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
2 การฟังเพื่อสังคม
ประโยชน์ของการฟัง
1 ประโยชน์ต่อตนเอง
1) การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม
2) การฟังที่ดีทำให้เรารับรู้เรื่องราวที่ฟังได้โดยตลอด
3) การฟังที่ดีช่วยพัฒนาสมรรถภาพของการใช้ทักษะภาษาอื่น ๆ
2 ประโยชน์ต่อสังคม
การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในแง่ที่ผู้ฟังสามารถนำความรู้ แง่คิดต่าง ๆ ไปใช้ โดยตัวผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติและสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม
มารยาทในการฟัง
1 มารยาทในการฟังระหว่างบุคคล
1) ตั้งใจฟังและแสดงอาการกระตือรือร้นที่จะฟัง
6) แสดงกิริยาอาการให้ทราบว่าสนใจ ติดตามฟัง เช่น รับคำ ยิ้มแย้ม พยักหน้า หรือเปล่งเสียงพูด
5) ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หงุดหงิด หรือแสดงอาการก้าวร้าวต่าง ๆ
4) ไม่พูดแทรกกลางคัน พูดขัดคอ หรือพูดขัดจังหวะ
3) แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเรื่องที่ฟัง ด้วยกิริยาท่าทาง สีหน้า หรือแววตาเมื่อเกิดความสงสัย เกิดความพึงพอใจ หรือเมื่อเข้าใจในเรื่องนั้น เป็นต้น
2) สายตาจับอยู่ที่ผู้พูดอย่างสนใจ และด้วยความรู้สึกจริงใจ
2 มารยาทในการฟังกลุ่ม
การพูดการฟังระหว่างผู้พูดกับกลุ่มคนฟังในที่สาธารณะ เช่น การฟังโต้วาที การอภิปราย การแสดงปาฐกถา การบรรยาย ตลอดจนการสอนของครูในชั้นเรียน ผู้ฟังควรมีมารยาทในการฟัง
นางสาวขนิษฐา สังข์แก้ว 60204507
วิทยาลัยการศึกษา สาขาฟิสิกส์