Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน (Inpatient)
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน
เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า เช่น ผู้ป่วยที่นัดมาทําการผ่าตัด นัดมาเข้ารับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบําบัด ให้รังสีรักษา นัดมาผ่าตัดคลอด นัดมาตรวจวิเคราะห์โรค เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจถูกเลื่อนนัดหากมีความจําเป็น
การรับแบบฉุกเฉิน
เป็นการนอนพักรักษา ในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัว ที่หอผู้ป่วย
การรับโดยตรง
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้ วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก และรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง
ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
1 ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล
2 ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้
3 ประสบการณ์ในอดีตมีความสําคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย
4 การคํานึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วย
5 ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย
6 การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
2) ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จําเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
3) ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคม ได้ถูกต้อง
4) ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
6) ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
สาเหตุและอุปกรณ์การจําหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจําหน่ายผู้ป่วย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
การจําหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ
การจําหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม
การจําหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น และต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐาน
การจําหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพ อื่น
การจําหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน 2) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อ ทางศาสนา
4) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่สงบเรียบร้อย
5) เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัว ที่ถูกต้อง
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสําคัญ ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
T = Treatment แนะนําผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนํา ให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจํากัดในการทํากิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ รวมทั้งปรับตัว เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง ความสําคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจาก สถานบริการใกล้บ้านประสานงานกับศูนย์ Home health care (HHC) เพื่อติดตามการดูแลต่อเนื่อง บันทึกข้อมูลลงแบบบันทึกการจําหน่ายและการส่งต่อ ให้กับศูนย์ HHC
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ แนะนําแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คําปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1c (1.8°F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทํางาน
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ําๆ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย
Rigor mortis คือ การแข็งที่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิด จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง หลังจากผู้ป่วย เสียชีวิต พยาบาลจะต้องปิดเปลือกตา ปิดปาก และจัดให้ศพอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติทันทีเท่าที่จะทําได้
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องคํานึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตาย ข้อปฏิบัติจากญาติและให้ญาติได้มีส่วนร่วมด้วย
วัตถุประสงค์
(1) เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
(2) ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาลและ
ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเชื้อชาติ ศาสนาของผู้ตาย
(3) ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทําลายได้ถูกต้อง
(5) เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
(4) ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
สําหรับศาสนาอิสลาม ใช้น้ําผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ําให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน (ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนุ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต อนุญาตให้นําศพ ออกจากโรงพยาบาลได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา ไม่อนุญาตให้ผ่าศพหรือกระทําการ ใดๆ อันเกิดความเสียหายต่อศพ
ในส่วนของคนจีนใช้น้ําผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณ ขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย