Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหมและการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหมและการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน (Inpatient) ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวม โรคหัวใจวาย ประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือ แตก โรคหอบ ได้รับสารพิษ
ถูกไฟช็อต ถูกงูกัด เป็นต้น
1) วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)
2) การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
3) การรับโดยตรง (Direct admission)
ผู้ป่วยนอก (Outpatient) ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัดแบบเป็นครั้งๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มหลังนี้เป็นประเภท นอนสังเกตอาการ จาเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อมีอาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย พยาบาลควรจะพูดคุย กับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาล และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล จะทำให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วยเพื่อนพข้อมูลที่ได้มา มาใช้ในการวางแผนการให้การพยาบาลต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตาม ความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่าง ในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์ เพื่อให้
1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
2) ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล
เหมาะสม ครบถ้วน
3) ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคม
4) ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
6) ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์ เมื่อได้รับแจ้งจากแผนกผู้ป่วยนอกในการรับผู้ป่วยเข้ารักษาไว้ในโรงพยาบาล
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละ โรงพยาบาล เอกสารหรือแบบบันทึกต่างๆ
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดยนำเหยือกน้ำ แก้วน้ำ กระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จาเป็นสำหรับผู้ป่วย
สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคา สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็น รับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือไม่สามารถยืนได้ ไม่ต้องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักครู่
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วยและให้คำแนะนำ
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1) การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะจำหน่ายได้
2) การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
และต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจ อยู่ในใบเซ็นไม่สมัครใจรับการรักษา
3) การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ พยาบาลเพื่อทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล
และแจ้งเหตุที่จำหน่าย เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการให้การพยาบาล
4) การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือ ในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึงอาการรุนแรง การช่วยเหลือของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และ การลงความเห็นของแพทย์ว่าไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่
5) การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่นหากการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลหรือบริการจาก สถานบริการสุขภาพอื่น ๆ การจำหน่ายผู้ป่วยต้องจัดการให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานบริการสุขภาพ ที่เหมาะ
การจำหน่ายผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
2) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม
4) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่สงบเรียบร้อย
5) เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย ประกอบด้วย
1) รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
2) สมุดจาหน่ายผู้ป่วย
3) เสื้อผ้าผู้ป่วย
4) บัตรประจาตัวของโรงพยาบาล
5) ใบนัด
6) ใบสั่งยา
7) กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำ สาลี ก๊อซ บัตรติดข้อมือศพด้วย
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัว ที่ถูกต้อง
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จานวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา เช่น การทำแผลให้อาหารทางสายยาง การ suction กายภาพบำบัด
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ รวมทั้งปรับตัว เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง ความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจาก สถานบริการใกล้บ้านประสานงานกับศูนย์ Home health care (HHC) เพื่อติดตามการดูแลต่อเนื่อง บันทึกข้อมูลลงแบบบันทึกการจำหน่ายและการส่งต่อ ให้กับศูนย์ HHC เพื่อการวางแผนการเยี่ยมบ้าน เมื่อมีปัญหาให้ติดต่อสถานบริการใกล้บ้าน
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ แนะนาแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้องเนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ(Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายและตกตะกอนตาม แรงดึงดูดของโลก
Rigor mortis คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิด จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่างหลังจากผู้ป่วย เสียชีวิต พยาบาลจะต้องปิดเปลือกตา ปิดปาก และจัดให้ศพอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติทันทีเท่าที่จะทำได้
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตาย ข้อปฏิบัติจากญาติและให้ญาติได้มีส่วนร่วมด้วย
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
(1) เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
(2) ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาล
(3) ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทำลายได้ถูกต้อง
(4) ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
(5) เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
ในส่วนของคนจีนใช้น้ำผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณ ขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย
สาหรับศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน (ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนุ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต อนุญาตให้นำศพ ออกจากโรงพยาบาลได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา ไม่อนุญาตให้ผ่าศพหรือกระทำการ ใดๆ อันเกิดความเสียหายต่อศพ
การปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณีภายหลังถึงแก่กรรม คือ การอาบน้ำแต่งตัวศพ
หลังจากตายแล้ว ซึ่งพิธีอาบน้าศพเป็นการทำให้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะของผู้ตาย ซึ่งประเพณีไทยใช้วิธีการรดน้ำศพเป็นการขอขมา
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
ถ้าผู้ตายเป็นโรคติดต่อ
1) นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สาเนาทะเบียนบ้านของ ผู้ตาย เป็นต้น มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
2) นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
3) นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
4) ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นาใบมรณะบัตรไป แจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
5) ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้อีกต่อไป
ถ้าผู้ป่วยถึงแก่กรรมภายหลังที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาล กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม ให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย แพทย์จะเป็นผู้เขียนใบมรณบัตร แล้วญาตินำไปแจ้งที่อำเภอภายใน 24 ชั่วโมง บางรายแพทย์ต้องการตรวจศพ (Autopsy) จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติก่อน