Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 15 ความเป็นครู จิตสาธารณะ - Coggle Diagram
บทที่ 15 ความเป็นครู
จิตสาธารณะ
บทนำ
พฤติกรรมการสอนของครูเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อจิตสาธารณะของผู้เรียน
หากครูมีความรู้ความเข้าใจจิตสาธารณะ (Public mind หรือ Public consciousness) อันเป็นการกระทำด้วยจิตวิญญาณที่ม่ความรัก ความห่วงใจ ความปรารถณาดี ความเมตตาปราณี การแบ่งปันสิ่งดีงาม ความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ
จิตสาธารณะขงบุคคลจึงเป็นสภาวะที่เกิดขั้นที่จิตใจก่อนการแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคล พฤติกรรมแสดงออกใดของมนุษย์เป็นผลสืบเนื่องมาจากทัศนคติ บรรทัดฐานทางสังคม อุปนิสัย และสุดท้ายคือ ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับหลังจากการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมนั้นๆ
ความหมายของจิตสาธารณะ
จิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการตระหนักในความสำคัญของการอยู่ร่วมกันด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น ไม่หวังผลตอบแทน มีความเอื้ออาทรและความรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่นและส่วนรวมเป็นสำคัญ และการมีจิตสำนึกต่อสังคมและส่วนรวมเป็นหลัก มีความเอาใจใส่และเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก่อนความต้องการของตนเอง
จิตสาธารณะจึงเป็นการรู้จักเอาใจใส่ มีความเป็นห่วงเป็นใย เป็นธุระและมีส่วนร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยพิจารณาจากความรู็ความเข้าใจหรือพฤติกรรมที่แสดงออก
ลักษณะของจิตสาธารณะ 3 ด้าน
การใช้หรือการกระทำ
1) การดูแลรักษาสิ่งของ
2) ใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัดและทะนุถนอม
3) เคารพสิทธิในการใช้ประโยชน์จากของส่วนรวม ไม่ปิดกั้นผู้อื่น
4) หลีกเลี่ยงการใช้หรือกระทำที่จะส่งผลต่อความชำรุดให้เกิดความเสียหายต่อของส่วนรวม
การถือเป็นหน้าที่
1) ทำตามหน้าที่และเคารพกฎระเบียบ
2) รับอาสาที่จะทำเพื่อส่วนรวม คอยสอดส่องดูแลรักษาสาธารณสมบัติ
3) ถือเป็นหน้าที่ในการมีส่วนร่วมที่จะดูแลรักษาของส่วนรวม
การเคารพสิทธิ
1) ไม่นำของส่วนรวมมาเป็นของส่วนตัว
2) แบ่งปันและเอื้อเฟื้อให้ผู็อื่นได้ใช้ประโยชน์จากของส่วนรวม
3) การเคารพสิทธิในการใช้ประโยชน์จากของส่วนรวม ไม่ยึดครองของส่วนรวมเป็นของตนเอง
ระดับของจิตสาธารณะ
แบ่งตามระดับสังคม 3 ระดับ
จิตสาธารณะระดับครอบครัว
ความพอมีพอกิน
ความสัมพันธ์ระหว่างญาติ
การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
จิตสาธารณะระดับหมู่บ้าน
การมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
การแบ่งปันช่วยเหลือ
การแลกเปลี่ยนข้อมูล
จิตสาธารณะระดับสังคม
ความร่วมมือร่วมใจ สามัคคี
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม งานประเพณี
การปฏิบัติตามโครงการพัฒนาต่างๆ
แบ่งตามการกระทำ 2 ระดับ
ระดับที่ 1 เป็นระดับที่บุคคลไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแค่ไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณสมบัติ
จิตสำนึกแบบพาสสิฟ (Passive)
ระดับที่ 2 เป็นระดับที่บุคคลกระทำหรือลงมือปฏิบัติ เป็นผู้รับผิดชอบเอาใจใส่ต่อสาธารณสมบัติ มีส่วรร่วมบำรุงรักษาและซ่อมแซม
จิตสำนึกแบบแอคทีฟ (Active)
จิตสาธารณะ ประกอบด้วย P+U+B+L+I+C
การทำงานแบบมืออาชีพ (Professional: P)
เอกภาพ (Unity: U)
ความเชื่อ (Belief: B)
ท้องถิ่น (Locally: L)
ความซื่อสัตย์ (Integrity: I)
การคิดสร้างสรรค์ (Creative: C)
องค์ประกอบของจิตสาธารณะ 6 ด้าน
ด้านความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
ด้านการวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
ด้านความรัก ความเอื้ออาทร และความสามัคคี
ด้านการรับรู้ความสามารถในการผลักดันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
ด้านการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาสังคม
ด้านการมีเครือข่ายในการทำกิจกรรมสังคม
รูปแบบของจิตสาธารณะ 3 ด้าน
จิตสาธารณะเกี่ยวกับตนเอง
ความขยัน
ความรับผิดชอบ
ความมุมานะ
อดทน
รูปแบบของจิตสาธารณะที่มีต่อผู้อื่น
ความเห็นอกเห็นใจ
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ความสามัคคี
จิตสาธารณะเกี่ยวกับสังคม
จิตสาธารณะด้านเศรษฐกิจ
จิตสาธารณะด้านการเมือง
จิตสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม
การวัดจิตสาธารณะ
การวัดจิตสาธารณะเป็นพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
วิธีการวัดทางจิตวิทยา
การสังเกต
การรายงานตนเอง
การสัมภาษณ์
การใช้แบบสอบถาม
การใช้แบบทดสอบ
การประเมินตามสภาพจริง
การลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์ที่ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด
กระบวนการสังเกต
ประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงาน
ความร่วมมือในการแก้ปัญหา
การประเมินตนเอง
การแสดงออก
ความสำคัญของการมีจิตสาธารณะ
การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องมีความสัมพันธ์ในการพึ่งพาช่วยเหลือกัน คนในสังคมต่างก็มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน หากคนในสังคมขาดจิตสำนึกสาธารณะส่งลกระทบดังนี้
ผลกระทบระดับบุคคล
สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
ผลกระทบระดับครอบครัว
เกิดการทะเลาะแก่งแย่ง ไม่เข้าใจกัน
ผลกระทบระดับหน่วยงาน
เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก หน่วยงานไม่ก้าวหน้า
ผลกระทบระดับชุมชน
ทำให้ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา
ผลกระทบระดับชาติ
ประเทศล้าหลัง
แบ่งพรรคแบ่งพวก แก่งแย่งแข่งขัน เกิดการทุจริตคอรัปชั่น
เกิดวิกฤติภายใน การเบียดเบียนทำลายทรัพยากร
ผลกระทบระดับโลก
เกิดการกลั่นแกล้ง แก่งแย่ง ครอบงำ
เกิดการรังเกียจเหยียดหยามคนต่างเชื้อชาติ
เกิดการสะสมอาวุธระหว่างประเทศ เพราะขาดความไว้วางใจ
จิตสาธารณะของคนไทยในอนาคต
การแก่งแย่งและความเห็นแก่ตัวอย่างรุนแรง
กระแสเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิกฤติทางคุณธรรมจริยธรรม
สังคมชุมชนวิถี
คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะ
มีความทุ่มเทและอุทิศตนรับผิดชอบต่อสังคม
คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
การลงมือกระทำ
ความรัก ความเอื้ออาทร ความเชื่อใจ การเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
2.เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลจากกระแสปัจเจกชนนิยม
พฤติกรรมประชาธิปไตย
ความรับผิดชอบ
ความตระหนักถึงผู้อื่น
การมีจิตใจที่เปิดกว้าง
การมีความคิดสร้างสรรค์
ความร่วมมือ
การพัฒนาจิตสาธารณะ
การสร้างจิตสาธารณะประกอบด้วยวิธีการพัฒนาคุณธรรม 4 ประการ
ปล่อยให้เรียนรู้เอง
จัดโอกาสให้ค้นหาตนเองโดยทำค่านิยมให้กระจ่าง
สอนให้ใช้กระบวนการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลและมีคุณธรรม
การสอนคุณค่าของค่านิยมและเน้นการปฏิบัติควบคู่ไปกับสิ่งที่สอน
กลไกการสร้างจิตสาธารณะ
บทบาทของผู้นำและประชาชนในการริเริ่มสร้างสรรค์ โน้มน้าวและหล่อหลอมให้ทุกคนมีจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีต่างๆ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
การสื่อสารแบบองค์รวม การสร้างจิตสาธารณะ และการสร้างจิตสำนึกที่พึงประสงค์ต้องเน้นหนักและควบคุมโดยศูนย์กลาง นำเสนอและเผยแพร่ในสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าดี
กระบวนการศึกษาเรียนรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างชาติ
ปัจจัยที่มีผลต่อจิตสาธารณะ
ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายใน
กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะผู้เรียนในสถานศึกษา
ใช้โปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ใช้บทละครเชิงสร้างสรรค์
เปิดให้มีพื้นที่สาธารณะหรือเวทีสำหรับคนในชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
ใช้โครงการสมุดบันทึกความดี บทละครเชิงสร้างสรรค์ ชุดกิจกรรมแนะแนว และกระบวนการ
ยึดเนื้อหาจิตตปัญญา 5 กระบวนการ และ 3 ขั้นตอน
ใช้ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง อัตมโนทัศน์
ปัจจัยกับการสร้างจิตสาธารณะ
ใช้กระบวนการกลุ่ม
ใช้ชุดโปรแกรมฝึกจิตสาธารณะสำหรับผู้เรียน
ใช้ปัจจัยภายในและปัจจัยสภาพแวดล้อม
ใช้ปัจจัยจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของผู้เรียน
ใช้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะ
ใช้กิจกรรมแนะแนว
ใช้กิจกรรมสมุดบันทึกความดี
การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ โดยการใช้กิจกรรมบริการสังคม
สรุป
พฤติกรรมการสอนของครูเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อจิตสาธารณะของผู้เรียน
ลักษณะหรือบุคลิกภาพ
วิธีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การประมวลผลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตรงกับหลักสูตรที่เรียนและพฤติกรรมจิตสาธารณะ
กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งเชิงเนื้อหาและพัฒนาจิตสาธารณะ