Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 14 ความเป็นครู ความอดทน ความเสียสละ ความเมตตากรุณา และความผิดชอบ -…
บทที่ 14 ความเป็นครู
ความอดทน ความเสียสละ ความเมตตากรุณา และความผิดชอบ
บทนำ
การศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ปละความเมตตากรุณา เป็นสิ่งนำทางให้ครูดำเนินการปฏิบัติการสอนอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรมต่อวิชาชีพ
ความอดทน
ความหมายของความอดทน
เป็นความสามารถควบคุมการแสดงออกทางกาย วาจา และสภาวะด้านจิตใจของครูให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยและเป็นปกติ พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่การสอนและหน้าที่ต่างๆที่มีอยู่ต่อไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยไม่มีการหยุดชะงักหรือเปลี่ยนแนว เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่ขัดขวางอันเป็นอุปสรรคยั่วยุยั่วเย้าจิตใจ หรือถูกชักจูงให้ไขว้เขว
เกิดจากการใช้ปัญญาประกอบการแสดงพฤติกรรมด้วยการแสดงออกถึงความอดทน องค์ประกอบของความอดทนมี 2 ประการ
ความอดทนทางใจ
ความอดทนต่อการกระทบกระทั่งยั่ยุให้เจ็บใจและความอดทนต่อกิเลส คือ ความโกรธและความโลภ
ความอดทนทางกาย
ความอดทนต่อความลำบากในการทำงานหรือการเรียน และความอดทนต่อความทุกข์เวทนาทางกาย ความเจ็บปวด ความเหนื่อย ความหิว
ประเภทของความอดทน 4 ประเภท
ความอดทนต่อความลำบาก
ความอดทนต่อทุกข์
ความอดทนต่อความเจ็บใจ
ความอดทนต่ออำนาจกิเลส
คุณค่าของการมีความอดทน
ประโยชน์ของการมีความอดทน
ทำให้เราเป็นคนสุขุม รอบคอบ มีสติ
งานหรือกิจกรรมต่างๆสำเร็จลุล่วงไปอย่างดี
เสริมสร้างให้เป็นคนมีมานะมีความพยายามในการทำงานหรือความทุกข์ยากใลำบากต่างๆในชีวิต
มีความเป็นผู้นำ เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
สอนให้เราไม่ยอมแพ้หรือท้อถอย
เป็นที่รักของทุกคน
โทษของการไม่มีความอดทน
มีนิสัยวู่วาม ไม่มีความรอบคอบ
งานหรือกิจกรรมต่างๆไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป็นคนหนักไม่เอา เบาไม่สู้ สร้างนิสัยเกียจคร้าน
ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่
ไม่เป็นที่รักของคนอื่น
พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
จงเป็นคนอดทน เพราะจะทำให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน/การเรียน
จงเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธง่ายและยิ้มแย้มแจ่มใส
ให้อดทนต่อความเหนื่อยยากและอุปสรรคต่างๆ ที่กำลังประสบอยู่
ความอดทนตามหลักศาสนา
ความอดทนตามหลักศาสนาพุทธ
ต้องคำนึงถึง"หิริโอตัปปะ" ให้มากและต้องรู้จักเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น
ต้องฝึกสมาธิให้มาก เพราะทัั้งความอดทนและสมาธิเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนกัน ความอดทนจะหนักแน่นก็ต้องมีสมาธิมารองรับ
ความอดทนตามหลักศาสนาอิสลาม
เป็นความรู้สึกของจิตใจอันหนักแน่นมั่นคง พร้อมเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ อย่างไม่ย่อท้อจนสำเร็จได้ด้วยดี ไม่รู้สึกหวั่นไหวหรือพ่ายแพ้ต่อเหตุการณ์นั้นๆ
ความอดทนในกรอบของอัล-กรุอานและอัล-หะดีษ : ความอดทนจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ศรัทธา
ความอดทนเส้นทางสู่สวรรค์
เรามีหน้าที่ต้องหมั่นบริหารหัวใจของเราให้มีความแข็งแกร่งตลอดชั่วชีวิตของเรา "...และเจ้าจงอดทนต่อเหตุการณ์ที่แระสบแก่เจ้า เพราะนั่นคือส่วนหนึ่งของกิจการที่แข็งแกร่ง"
ลักษณะของความอดทน
เป็นผู้ไม่ดุร้าย
ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ
มีใจเบิกบานแจ่มใสอยุ่เป็นนิตย์
มีความอดกลั้น
อดทนต่อความยากลำบากกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่
อดทนต่อความตรากตรำ
พฤติกรรมแสดงออกถึงความอดทน 10 ประการ
ใช้สติปัญญาควบคุมการกระทำของตนเองให้อยุ่ในอำนาจของเหตุผลได้
ไม่แสดงอาการทุรนทุรายหรือร้องครวญครางเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
ไม่แสดงอาการหิวโหยเมื่อร่างกายต้องการอาหาร
ไม่กล่าวคำหยาบคายเมื่อถูกผู้อื่นยั่วอารมณ์
ไม่ทำร้ายผู้อื่นที่ทำให้เกิดความโกรธ
ควบคุมกิริยาอาการให้เป็นปกติได้ เมื่อเจ็บแค้นใจ
เมื่อผิดหวังก็ไม่แสดงอาการเสียใจ
เมื่อมีอุปสรรคในการเรียน การทำงาน ก็ไม่ย่อท้อ
พยายามทำงานที่ยากให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต
1) มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
2) มีทั้งยากและง่าย
3) มีทั้งถูกและผิด
4) มีทั้งแพ้และชนะ
5) มีทั้งการได้มาและการสูญเสีย
พฤติกรรมความอดทนมี 2 ประการ
พฤติกรรมความอดทนทางกาย
1) ความอดทนต่อความยากลำบากในการงานหรือการเรียน
2) ความอดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย
2.พฤติกรรมความอดทนทางใจ
1) ความอดทนต่อการกระทบกระทั่งกัน การยั่วยุ ความเจ็บแค้นใจ
2) อดทนต่อกิเลส (ความโกรธ)
สรุป
พฤติกรรมแสดงออกถึงความอดทนของครูที่มีความอดทนทั้งพฤติกรรมความอดทนทางกายและทางใจนั้นต้องยึดเป้าหมายการสอนอยู่ในใจอย่างมั่นคง กระตือรือร้นในงานรับผิดชอบ เอาจริงเอาจังกับงาน อุทิศเวลา ขยัยทำงาน อุตสาหะไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในงาน ติดตามผลความคืบหน้าของงานการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง
ความเสียสละ
ความหมายของความเสียสละ
หมายถึง ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นหรือผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น เป็นการให้สิ่งที่ตนมีอยู่หรือสิ่งที่ตนเองได้รับแก่ผู้อื่น ด้วยความเต็มใจไม่หวังผลตอบแทน
เป็นการแสดงออกของบุคคลในพฤติกรรม
การให้ปัน
การเห็นแก่ส่วนรวม
ความมีน้ำใจ
การไม่เอาเปรียบผู้อื่น
การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่คนที่ควรให้ รวมทั้งการรู้จักยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า
พฤติกรรมที่แสดงถึงความเสียสละ
การให้ทางกาย
การให้ด้วยวาจา
การให้ทางกำลังสติปัญญา
การให้ด้วยกำลังทรัพย์
การให้ทางใจ
ความเสียสละตามหลักศาสนา
ความเสียสละในทัศนะพุทธศาสนา
พระราชวิสุทธิโมลี กล่าวถึงความเสียสละมีคุณค่าทางจริยธรรม
ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ทำให้สังคมช่วยเหลือกัน รักและสามัคคีกัน
เกิดสวัสดิภาพและความมั่นคงในสังคม
คนในสังคมเกิดความอบอุ่น ไม่รู้สึกว้าเหว่
เกิดความเจริญมั่นคงแก่ประเทศชาติ
ดำรงไว้ซึ่งหลักมนุษยธรรม
ฝึกบุคคลให้รับผิดชอบต่อสังคม
พระเทพวิมลโมลี ได้กล่าวถึงปรโยชน์ของคุณธรรมด้านความเสียสละไว้ว่า ธรรมดาของคนเราที่อยู่ในสังคมจะต้องรู้จักเป็นคนเสียสละในคราวที่ควรเสียสละ แก่คนที่ควรแบ่งปัน ซึ่งเป็นการแสดงน้ำใจเพื่อผูกมิตรไมตรี
ความเสียสละในทัศนะอิสลาม
ความเสียสละตามแนวความคิดของ อีหม่ามหะสัน อัลบันนา แบ่งการเสียสละออกเป็น 3 ประเภท
การเสียสละร่างกายในวิถีทางของอัลลอฮฺ
การเสียสละทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ
การเสียสละเวลาและการทุ่มเทในหนทางของอัลลอฮฺ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสียสละ
นริศรา ริชาร์ดสัน (2546)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความเสียสละของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
พัชรี ศักดี (2547)
การพัฒนาความเสียสละของผู้เรียนที่มีแรงจูงใจต่างกันในการเข้าร่วมกิจกรรมยุวกาชาดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าหลังเข้าร่วมสูงกว่าก่อนเข้าร่วม
Leighton (1991)
การเสียสละและการให้ภัยที่มีต่อการรั้งสติเกี่ยวกับความรุนแรง พบว่า ความเข้าใจอย่างหลักแหลมเกี่ยวกับการโยนความผิดและกระบวนการของการให้อภัยเป็นพื้นฐานที่จำสร้างแบบการสอนการรั้งสติ
นิอิบณูรอวี บือราเฮง คณิตา นิจจรัลกุล และชิดชนก เชิงเชาว์ (2557)
วิจัยผลของการสอนแบบบูรณาการด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน สื่อประสม และนวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาด้านทักษะทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ศาสนประวัติ พบว่า ทำให้ผู้เรียนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง จากคนที่ไม่มีความเสียสละ ความเมตตากรุณา และความมีมนุษยสัมพันธ์ค่อยๆพัฒนาดีขึ้น
ความเมตตากรุณา
ความหมายของความเมตตากรุณา
เมตตา
ความรักใคร่ ความเยื่อใยปรารถนาจะให้สัตว์ทั้งปวงให้พ้นทุกข์และมีความสุข คิดทำประโยชน์ให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งปวง ความอ่อนโยน ความสุภาพ การบริจาค การสงเคราะห์ผู้อื่น
กรุณา
ความสงสาร ความคิด และความต้องการช่วยให้ผู้อื่นที่ได้รับทุกข์ พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในสิ่งที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงมนุษย์และสรรพสัตว์ถ้วนหน้า มีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการสละส่วนที่เป็นของตนเองเพื่อส่วนรวม
ความเมตตากรุณา (Sympathy)
การแสดงออกถึงความรู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักการแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
ความสำคัญของความเมตตากรุณา
หากทุกคนมีความเมตตากรุณาต่อกัน การล่วงละเมิดศีล 5 ก็จะไม่เกิดขึ้น
จะมีปราณีต่อผู้อื่นก็จะไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือสัตว์อื่น
ก็จะไม่ลักไม่โกงทรัพย์ของผู้อื่น เพราะจะทำให้เขาเดือดร้อน
ก็จะไม่แย่งคู่ครองของผู้อื่น เพราะเป็นการทำลายเกียรติของผู้อื่น
ก็จะไม่หลอกลวง ไม่ใส่ร้าย ไม่ทำให้ผู็อื่นเข้าใจผิด
ก็จะไม่ค่าฝิ่นหรือเฮโรอีน ยาบ้าให้แก่ใคร
ความเมตตากรุณาทำให้เกิด
เข้าใจกัน
ทำให้เห็นใจกัน
ทำให้พึ่งพากันได้
ความเมตากรุณาเป็นหลักธรรมให้คนเรานำมาประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความปรารถนาดีต่อกัน และทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
พฤติกรรมความเมตตากรุณา
พฤติกรรมของครูเกี่ยวกับการแสดงความช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุขและช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ตามความสามารถของตนเอง
มีคุณลักษณะความเมตตากรุณา 5 ประการ
ไม่ฆ่า ข่มเหง รังแก ตลอดจนทำร้ายด้วยลักษณะต่างๆ ต่อมนุษย์และสัตว์
เสียสละทรัพย์สินส่วนตัวให้กับผู้ที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นกว่า
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
มีกาย วาจา ใจ ที่แสดงต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ
ไม่ข่มขู่ ดูหมิ่น เสียดสี พูดจาด้วยความกริ้วโกรธเคียดแค้น
ความเมตตากรุณาตามหลักศาสนา
ความเมตตาในทัศนะศาสนาพุทธ
กฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
พรหมวิหาร 4
เมตตา
กรุณา
มุทิตา
อุเบกขา
ท่านพุทธทาสได้อธิบายลักษณะของเมตตาผ่านตัวตนหรืออัตตาและแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
เมตตาขั้นต่ำ
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของสัญชาตญาณ
เมตตาของแม่ที่มีต่อลูก
เมตตาขั้นกลาง
มีสติปัญญาคอยควบคุมปัญญา เกิดพัฒนาการเพื่อลดตัวตน
แม่ลูกอ่อนที่ให้นมเลี้ยงดูเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้ง
เมตตาขั้นสูงสุด
เตตาที่กำจัดการเห็นแก่ตนออกไป กระทั่งไม่ยึดถือว่ามีตัวตน ไม่ต้องอาศัยอัตตา
ความเมตตาในทัศนะอิสลาม
"และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่อสิ่งใด นอกจาก เป็นความเตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย"
เมตตาธรรม
ความรัก ความอดทน ความปรารถนาดีที่ไม่เจือด้วยราคะ ปรารถนาความสุข ความเจริญต่อผู้อื่น เป็นภาวะของจิตใจที่มีเยื่อใยไมตรี ปราศจากความอาฆาตพยาบาท โกรธเคือง เป็นการแสดงออกทางกายด้วยกิริยางดงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงออกทางวาจาด้วยถ้อยคำไพเราะน่าฟัง มีจิตใจสงบเยือกเย็น ความประเสริฐของความเมตตาต่อคนอื่น จากญะรีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเมตตากรุณา
ภกหยุ่น เจนเจริญวงศ์ (2530)
เปรียบเทียบการพัฒนาจริยธรรมด้านความเมตตากรุณาของผู้เรียนจากการอ่านหนังสือภาพที่นำเสนอพฤติกรรมของตัวละครเอกในทางบวกและทางลบ พบว่า มีการพัฒนาจริยธรรมด้านเมตตากรุณาแตกต่างจากผู้เรียนที่ไม่ได้อ่าน
ธีริศรา บุญรุ่ง (2549)
การสร้างคู่มือพัฒนาความเมตตากรุณาของเด็กปฐมวัย พบว่าคู่มือพัฒนาความเมตตากรุณาทำให้เด็กปฐมวัยมีความเมตตากรุณาเพิ่มขึ้น
ความเมตตากรุณาเป็นคุณลักษณะบุคคลที่สามรถพัฒนาได้โดยการฝึกฝนและจัดกิจกรรมในกระบวนการเรียนการสอน
ความรับผิดชอบ
ความหมายของความรับผิดชอบ
การมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ คือ ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และมีความพยายามที่จะปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และจะรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งต่อตนเองและสังคม
องค์ประกอบของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบสูง
การให้ความเอาใจใส่
การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
การอบรมให้มีวินัยโดยการให้เหตุผล
ความรับผิดชอบของผู้เรียน
ลักษณะนิสัยการเรียน
ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ
เพศ อายุ สภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ลักษณะทางสังคม จิตวิทยา
ความเชื่อมั่นในตนเอง
ความมีระเบียบวินัย การปรับตัว
ลักษณะการยอมรับตน การรู้จักนำตน
การรู้คุณค่า ความชาญฉลาด
มีความมั่นใจในตนเอง ไม่ชอบมักง่าย
ความสำคัญของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบเป็นลักษณะของความเป็นพลเมือง ความมีวินัยทางสังคม ความเอื้อเฟื้อและความเกรงใจ เป็นเครื่องผลักดันให้บุคคลปฏิบัติตามกฎระเบียบเคารพสิทธิของผู้อื่น ทำตามหน้าที่ของตน และมีความซื่อสัตย์สุจริต
เป็นคุณลักษณะที่ช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปด้วยความราบรื่น สงบสุข เป็นคุณธรรมสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย
บุคคลในสังคมมีความรับผิดชอบจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงาน
พฤติกรรมของความรับผิดชอบของครู
พฤติกรรมของความรับผิดชอบในลักษณะที่หลากหลายผสมผสานกัน 3 ประการ
ระบุเป็นประเภทพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบโดยรวมเป็นการระบุภาพรวม
ระบุเป็นประเภทพฤติกรรมหลัก
ระบุโดยจำแนกเป็นรายละเอียดของความรับผิดชอบ
พฤติกรรมของความรับผิดชอบ 8 ด้าน
มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน
รู้หน้าที่
5.แสวงหาความรู้ใหม่ที่เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน
ช่วยเหลือผู้อื่น
ยอมรับผลการกระทำของตน
มีความมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับงาน
7.เสียสละ
มุ่งมั่นพัฒนา
ประเภทของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบต่อตนเอง
ความรับผิดชอบต่อองค์การและสังคม
ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ
คุณลักษณะของบุคคลที่มีความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบสามารถแสดงออกในรูปของพฤติกรรม
ความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวม
การรู้จักรับผิดชอบ
1.ความรับผิดชอบต้องมีความบากบั่นพากเพียร
สรุป
การศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของความเป็นครู
ครูกับความอดทน
ครูกับความเสียสละ
ครูกับความเมตตากรุณา
ความกับความรับผิดชอบ