Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทักษะด้านการรับสาร
การฟัง
ประโยชน์ของการฟัง
ประโยชน์ต่อตนเอง
การฟังที่ดีทำให้เรารับรู้เรื่องราวที่ฟังได้โดยตลอด สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด
การฟังที่ดีช่วยพัฒนาสมรรถภาพของการใช้ทักษะภาษาอื่น ๆ
การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ในวงสนทนาหรือในสถานที่และโอกาสต่าง ๆ
ประโยชน์ต่อสังคม
การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในแง่ที่ผู้ฟังสามารถนำความรู้
แง่คิดต่าง ๆ ไปใช้ โดยตัวผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติและสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม
มารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังระหว่างบุคคล
ไม่พูดแทรกกลางคัน พูดขัดคอ หรือพูดขัดจังหวะ
ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หงุดหงิด หรือแสดงอาการก้าวร้าวต่าง ๆ
แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเรื่องที่ฟัง ด้วยกิริยาท่าทาง สีหน้า หรือแววตา
แสดงกิริยาอาการให้ทราบว่าสนใจ ติดตามฟัง
สายตาจับอยู่ที่ผู้พูดอย่างสนใจ และด้วยความรู้สึกจริงใจ
มีกิริยาท่าทางสำรวม เป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
ตั้งใจฟังและแสดงอาการกระตือรือร้นที่จะฟัง
มารยาทในการฟังกลุ่ม
แสดงความสนใจในการพูด
ไม่พูดคุยกับผู้ฟังด้วยกัน ไม่วิจารณ์ผู้พูดด้วยคำพูด
ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ
ไม่ส่งเสียงโห่ฮา หรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ
ถ้าประธานมีการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ควรลุกขึ้นยืนพนมมือด้วย
ไม่ทำความรบกวนผู้ฟังคนอื่น ๆ
เมื่อผู้พูดหรือประธานเดินทางมาถึง ควรให้เกียรติด้วยการยืนต้อนรับ
ไม่แสดงอาการให้ผู้พูดรู้สึกเก้อเขิน หรือยิ้มเยาะเมื่อผู้พูดผิดพลาด
แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
ฟังด้วยความตั้งใจ อดทน เก็บความรู้สึก รับฟังอย่างสงบ
ควรอยู่ในความสงบสำรวมในขณะที่นั่งรอฟังการพูด
หากผู้พูดเป็นสมณะเพศ และเป็นการปาฐกถาธรรม เทศนาธรรม ผู้ฟังต้อนพนมมือและแสดงความสำรวม
ผู้ฟังที่ไปก่อนควรนั่งเก้าอี้ในแถวหน้า ๆ
ไม่ออกจากสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาสิ้นสุดการพูด
เดินทางไปถึงสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาที่จะเริ่มพูดประมาณ 15 นาที เป็นอย่างน้อย
หากมีข้อสงสัยในขณะที่มีการดำเนินการพูดอยู่ ควรจดจำหรือจำไว้ รอจนกว่าผู้พูดเปิดโอกาสให้ซักถาม
จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
การฟังที่ผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายที่จะหาความรู้ ความเข้าใจ และประเมินค่าเรื่องที่ได้ฟัง
การฟังเพื่อสังคม
การฟังที่ผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายที่จะหาความเพลิดเพลิน ความบันเทิง หรือเพื่อที่จะรักษามารยาทอันดีงาม
วิธีฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟัง
พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
พยายามจดบันทึกทุกครั้งในขณะที่ฟัง
ขณะฟัง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติให้ได้ตามขั้นตอนการฟัง
ปัญหาการจับใจความสำคัญ
ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
ไม่เป็นคนใจแคบ
ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
ฟังให้ครบ
ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
รักษามารยาทในการฟัง
กระบวนการฟัง
การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน
การตีความสิ่งที่ได้ยิน
การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น
การตอบสนอง
การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท
ทักษะการฟังเชิงรุก
การฟังที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการได้ยินเสียงที่อีกฝ่ายพูด โดยไม่ใช้ประสบการณ์ อคติ หรือความคาดหวังของตนไปตัดสินว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นผิดหรือถูก มีการคิดวิเคราะห์แยกแยะ จับประเด็น และทวนกลับเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
การฟังนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งในสภาพที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เป็นกระบวนการสื่อสารที่มนุษย์ใช้งานมากที่สุดในชีวิตประจำวัน
การอ่าน
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
อ่านเพื่อหาคำตอบ
การอ่านที่เพื่อต้องการตอบคำถามสั้น ๆ หรือสาระสำคัญ ๆ
อ่านเพื่อความรู้
อาจเป็นการอ่านเพื่อความรู้ทั่วไปหรือความรู้เฉพาะด้านเพื่อเก็บรวบรวมประเด็นสำคัญ ๆ และน่าสนใจ เพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป
อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
การอ่านที่มุ่งผ่อนคลายอารมณ์ความตึงเครียด
อ่านเพื่อปฏิบัติตาม
การอ่านเพื่อทำตามคำแนะนำของข้อความหรือหนังสือที่อ่าน
ประโยชน์ของการอ่าน
ประโยชน์ต่อตนเอง
ก่อให้เกิดความรอบรู้ คืออ่านมากย่อมรู้มาก
ประโยชน์ต่อสังคม
ทางด้านเศรษฐกิจ การอ่านส่งผลต่ออาชีพและเศรษฐกิจของตนให้ดีขึ้น
ด้านประชาธิปไตย การอ่านเป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำเสนอความคิดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ทั้งโดยตรงและผ่านสื่อมวลชน
ทางด้านสังคม การอ่านเป็นการสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคลให้เกิดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
ด้านคุณธรรมและสันติธรรม การเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวาง
มองเห็นความเป็นอยู่ ทุกข์ สุข ของเพื่อนมนุษย์
ทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม การอ่านเป็นกุญแจในการสืบค้น ดำรงไว้ส่งเสริมพัฒนาและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมทางสังคมและวิทยาการของมวลมนุษยชาติ
กระบวนการการอ่าน
การเข้าใจความหมายของสาร
การมีปฏิกิริยาต่อสาร
การมองเห็นตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือข้อความชัดเจนแล้วเข้าใจ
การบูรณาการความคิด
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
จุดมุ่งหมายและประเภทของการอ่าน
เพื่อจุดประสงค์เฉพาะแต่ละครั้ง
เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่อแสวงหาความบันเทิง
เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ
เพื่อแสวงหาความรู้
เพื่อแสวงหาข่าวสารความคิด
การอ่านอย่างละเอียด เพื่อทำความความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน สามารถแยกแยะสิ่งที่อ่านได้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร รวมทั้งความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ และเนื้อหาแต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร
ประโยชน์ของการอ่านเชิงวิเคราะห์
ช่วยให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
ช่วยให้ผู้อ่านเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านให้แก่ตนเอง
ช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งหมดของงานเขียนแต่ละชิ้น
ช่วยให้ผู้อ่านนำเอาวิธีการและผลจากการอ่านมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
ขั้นตอนของการอ่านเชิงวิเคราะห์
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์
การที่ผู้อ่านใช้ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ขั้นที่ 3 สรุป
ผู้อ่านสังเคราะห์ข้อมูล แล้วสรุปประเมินความน่าจะเป็น น่าเชื่อถือ สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม หาหลักฐานประกอบการตัดสินใจเชิงเหตุเชิงผล
ขั้นที่ 1 รวบรวมข้อมูล
การที่ผู้อ่านต้องอ่านเนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อรับรู้เรื่องราวและเข้าใจความหมาย
ขั้นที่ 4 ประยุกต์และนำไปใช้
ผู้อ่านสามารถนำผลจากการอ่านและเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง
การอ่านเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่มนุษย์ใช้สำหรับสืบค้นและเรียนรู้บรรดาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์
ทักษะการส่งสาร
การเขียน
การที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาศัยสัญลักษณ์ที่เรียกว่าตัวหนังสือหรือตัวอักษรเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจร่วมกัน
การพัฒนาทักษะการเขียน
องค์ประกอบของย่อหน้า
ใจความสำคัญ
ความคิดที่ผู้เขียนมุ่งเสนอแก่ผู้อ่านและ ในหนึ่งย่อหน้านั้น
ต้องมีใจความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว
ประโยคขยายความ
จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดของผู้เขียนได้อย่างชัดเจน
กลวิธีขยายใจความสำคัญในย่อหน้า
ให้เหตุผล
ยกตัวอย่าง
ให้คำจำกัดความ
เปรียบเทียบ
ให้รายละเอียด
หลักการเขียนย่อหน้า
โดยทั่วไปย่อหน้ามีความยาวโดยประมาณ 4 บรรทัด เป็นอย่างน้อย แต่ไม่ควรเกิน 8 หรือ 10 บรรทัด
ความสั้นยาวของแต่ละย่อหน้าในเรื่องหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ควรให้แตกต่างกันมากนัก
การย่อหน้าต้องยาวพอที่จะอธิบายความคิดได้แจ่มแจ้ง
ลักษณะย่อหน้าที่ดี
มีเอกภาพ
มีสัมพันธภาพ
มีความสมบูรณ์
มีสารัตถภาพ
ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ประโยชน์ของการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เขียน
ช่วยให้มีความรู้ ความซาบซึ้งในวรรณคดีที่มีคุณค่าต่าง ๆ
ช่วยให้รู้จักวงศัพท์มากขึ้น
เป็นงานที่สร้างความสุขสนุกสนาน ท้าทายสำหรับครู
ฝึกทักษะและการพัฒนาการใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน
รูปแบบควรพิจารณาเฉพาะการเขียนที่มีแผนแน่นอนว่า ทำได้ถูกทุกรูปแบบการเขียนชนิดนั้น ๆ หรือไม่
กลไกประกอบการเขียนอื่น ๆ ได้แก่ สะกด การันต์ ลายมือ
การใช้ภาษาควรพิจารณาระดับของภาษาที่ใช้ว่าถูกต้องตามกาลเทศะ และลักษณะของเรื่อง
เนื้อเรื่องควรพิจารณาแนวคิดหรือแนวเรื่องการจัดระเบียบความคิดการอ้างเหตุผล การขยายความและความแจ่มแจ้ง ชัดเจน
เป็นทักษะที่ผู้เขียนจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเพื่อแสดงความคิด ความรู้สึก และความรู้ ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ ความคิดของผู้เขียน
ลักษณะของงานเขียนที่ดี
มีรูปแบบการเขียนเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
มีเนื้อหาดีและรายละเอียดเด่นชัด
มีความกระจ่าง
มีจินตนาการที่สอดคล้องกับเนื้อหา
มีสัมพันธภาพ
ใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม
มีเอกภาพ
เรื่องราวชวนติดตาม
มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน
การพูด
จุดมุ่งหมายของการพูด
เพื่อกระตุ้นหรือสร้างความประทับใจ
การพูดเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ หรือพลังบันดาลใจ
เพื่อความบันเทิง
การพูดที่ต้องการบำรุงจิตใจผู้ฟัง เพื่อให้เกิดความสุข
เพื่อเกลี้ยกล่อมหรือจูงใจ
การพูดที่ต้องการให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม และปฏิบัติตามคำโน้มน้าวของผู้พูด
เพื่อสอนหรือแจ้งข่าวสารให้ทราบ
เป็นการพูดที่ต้องการให้ผู้ฟังเกิดการเรียนรู้หรือทราบในสิ่งที่ควรทราบ
ทักษะการพูดนำเสนอเชิงวิชาการ
ขั้นตอนการนำเสนอ
การวางแผนการนำเสนอ
สื่อและเอกสารการนำเสนอ
สถานที่ที่จะนำเสนอ
วิธีการนำเสนอ
เวลาในการนำเสนอ
เนื้อหาการนำเสนอ
ตัวผู้นำเสนอ
การนำเสนอ
ข้อควรคำนึงในการนำเสนอ
ต้องใช้น้ำเสียงในการนำเสนอให้น่าฟัง
การมองเป็นการบ่งบอกท่าทีและทัศนคติทางบวกหรือลบของผู้นำเสนอ
ต้องวางตัวให้เหมาะสมกับกาละเทศะ มีกิริยาวาจาสำรวม สุภาพ
ในการนำเสนอผู้นำเสนอต้องเป็นผู้มีอารมณ์ดี แจ่มใส เบิกบาน ไม่ขุ่นมัว
ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย สะอาด มีรสนิยม และเหมาะสมกับกาลเทศะ
ผู้นำเสนอต้องมีไหวพริบที่สามารถจับประเด็นคำถามได้ ตอบคำถามที่
ซับซ้อนวกวนได้ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและหาทางออกได้อย่างราบรื่น
การศึกษาข้อมูล
สถานที่ที่จะนำเสนอ
เวลาที่จะนำเสนอ
ผู้รับฟัง
เรื่องที่จะนำเสนอ
สื่อในการนำเสนอ
วีดีทัศน์/ภาพยนตร์(vidios/movies)
เป็นการนำเสนอในลักษณะที่เป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงประกอบ
แผ่นใส (Transparencies)
การใช้แผ่นพลาสติกที่มีความใส เขียนทับด้วยปากกาหมึก แล้วฉายบนจอ
พลิปชาร์ต(flip chart)
เป็นการเขียนแผนภูมิข้อความ รูปภาพหรืออื่นๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ สามารถพลิกไปมาได้
Microsoft Office PowerPoint
การนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่บุคคลเป้าหมายให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับในสาระที่นำเสนอตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ และอาจมีการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของการพูด
ผู้ฟังคือผู้รับสาร
บุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
เนื้อหาสาร
สารที่ผู้พูดส่งไปยังผู้ฟังโดยผ่านทางประสาทสัมผัส
ผู้พูด
บุคคลที่จะทำให้การพูดประสบความสำเร็จ
เครื่องมือในการสื่อความหมาย
สื่อหรือสิ่งที่ช่วยถ่ายทอดความรู้ความคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟัง
พฤติกรรมการสื่อความหมายของมนุษย์โดยอาศัยภาษา ผ่านถ้อยคำ น้ำเสียง และอาจมีกิริยาท่าทางร่วมด้วย เพื่อถ่ายทอดความคิดและความรู้สึก