Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
บทที่ 4
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทักษะการพูดเชิงวิชาการ
ความหมาย
การพูดหมายถึง พฤติกรรมการสื่อความหมายของมนุษย์โดยอาศัยภาษา ผ่านถ้อยคำ น้ำเสียง และอาจมีกิริยาท่าทางร่วมด้วย
เพื่อถ่ายทอดความคิดและความรู้สึก
องค์ประกอบของการพูด
ผู้พูด (Speaker)
ต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ไปยังผู้ฟังได้ตรงตามเป้าหมาย
ผู้ฟังคือผู้รับสาร (Audience)
ผู้ฟังที่ดีจะต้องรู้ว่าผู้พูดพูดถึงเรื่องอะไร สิ่งที่พูดหมายความว่าอย่างไร มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการพูดครั้งนั้น ๆ
เนื้อหาสาร (Message)
สารที่ผู้พูดส่งไปยังผู้ฟังโดยผ่านทางประสาทสัมผัส
เครื่องมือในการสื่อความหมาย (Communication)
สื่อหรือสิ่งที่ช่วยถ่ายทอดความรู้ความคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟัง
จุดมุ่งหมายของการพูด
เพื่อสอนหรือแจ้งข่าวสารให้ทราบ
เพื่อเกลี้ยกล่อมหรือจูงใจ
เพื่อกระตุ้นหรือสร้างความประทับใจ
เพื่อความบันเทิง
ลักษณะของการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ
พูดเป็น พูดไม่เป็น
พูดเป็น
เนื้อหาสาระ น่าสนใจ มีข้อมูลที่ถูกต้อง
มีบุคลิกลักษณะที่ดี
มีวาทศิลป์
มีความจริงใจต่อผู้ฟัง มุ่งประโยชน์ส่วนรวม
พูดไม่เป็น
พูดยาว ยืดยาดเยิ่นเย้อเกินเวลากำหนด
พูดสั้นไป ขาดสาระสำคัญ ไม่เกิดประโยชน์ ไม่เข้าใจเท่าที่ควร
พูดไม่ชวนฟัง ไม่ใคร่ครวญก่อนพูด ทำให้ผู้ฟังไม่พอใจหรือเกิดเจ็บช้ำน้ำใจ
พูดไม่รู้เรื่อง ผู้ฟังจับใจความไม่ได้เพราะผู้พูดพูดสับสนวกวนขาดการขยายความที่ดีพอ
ทฤษฎีบันได 13 ขั้น
5) ทักในที่ประชุมไม่วกวน
4) หน้าตาให้สุขุม
3) ทำท่าทีให้สง่า
6) เริ่มต้นให้โน้มน้าว
2) ซักซ้อมให้ดี
7) เรื่องราวให้กระชับ
1) เตรียมให้พร้อม
8) ตาจับที่ผู้ฟัง
9) เสียงดังแต่พอดี
11) ดูเวลาให้พอครบ
12) สรุปจบให้จับใจ
10) อย่าให้มีเอ้ออ้า
13) ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด
ทักษะการพูดนำเสนอเชิงวิชาการ
เพื่อให้การนำเสนองานบรรลุผลสำเร็จ ราบรื่น ควรต้องมีการเตรียมการก่อนการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาด
และป้องกันข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำเสนอได้เหมาะสมตามระยะเวลาที่กำหนด น่าสนใจ น่าเชื่อถือ และน่าฟัง
ข้อควรคำนึงในการนำเสนอ
การแต่งกาย ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย
การวางตัว ต้องวางตัวให้เหมาะสมกับกาละเทศะ
น้ำเสียง ต้องใช้น้ำเสียงในการนำเสนอให้น่าฟัง
การมอง การมองเป็นการบ่งบอกท่าทีและทัศนคติทางบวกหรือลบของผู้นำเสนอ
อารมณ์ ในการนำเสนอผู้นำเสนอต้องเป็นผู้มีอารมณ์ดี แจ่มใส เบิกบาน ไม่ขุ่นมัว
ไหวพริบ ผู้นำเสนอต้องมีไหวพริบที่สามารถจับประเด็นคำถามได้
สื่อในการนำเสนอ
คือเครื่องมือหรือวิธีการที่ผู้ส่งสารใช้ติดต่อกับผู้รับสาร สื่อในการนำเสนอเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการรับรู้อย่างถูกต้องและดึงดูดความสนใจของผู้ฟังมากขึ้น
ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรรค์
ความหมาย
การที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาศัยสัญลักษณ์ที่เรียกว่าตัวหนังสือหรือตัวอักษรเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจร่วมกัน
ลักษณะของงานเขียนที่ดี
มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน
มีเอกภาพ ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่อง และดำเนินการเขียนตามโครงเรื่องนั้นอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้เรื่องมีขอบเขตจำกัด
มีสัมพันธภาพ คือ การยึดอยู่ด้วยกัน
ความกระจ่าง การทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ตรงกับความต้องการของผู้เขียน
มีรูปแบบการเขียนเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
มีเนื้อหาดีและรายละเอียดเด่นชัด
มีจินตนาการที่สอดคล้องกับเนื้อหา
ใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม
เรื่องราวชวนติดตาม
การพัฒนาทักษะการเขียน
หลักการเขียนย่อหน้า
การย่อหน้าต้องยาวพอที่จะอธิบายความคิดได้แจ่มแจ้ง ต้องไม่สั้นจนกลายเป็นการนำหัวข้อมาเรียงๆ กันโดยไม่อธิบาย
โดยทั่วไปย่อหน้ามีความยาวโดยประมาณ 4 บรรทัด หรือ 100 คำ เป็นอย่างน้อย แต่ไม่ควรเกิน 8 หรือ 10 บรรทัด หรือประมาณ 200 – 250 คำ
ความสั้นยาวของแต่ละย่อหน้าในเรื่องหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ควรให้แตกต่างกันมากนัก
องค์ประกอบของย่อหน้า
ใจความสำคัญ หรือประโยคใจความสำคัญ
ประโยคขยายความ เป็นประโยคที่ขยายประโยคใจความสำคัญ
กลวิธีขยายใจความสำคัญในย่อหน้า
ให้รายละเอียด การให้รายละเอียด เป็นวิธีการเขียนอธิบายเกี่ยวกับใจความสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจ หรือรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
ให้คำจำกัดความ การให้คำจำกัดความเป็นวิธีการเขียนเพื่ออธิบายขอบเขตของความหมายของเรื่องที่ต้องการกล่าวถึง
ให้เหตุผล การใช้เหตุผลเป็นวิธีการเขียนที่ขยายความเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนนั้นว่าเป็นเพราะอะไร
เปรียบเทียบ การเปรียบเทียบ อาจเป็นการเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรงกันข้าม เพื่อให้ชัดเจนขึ้น
ลักษณะย่อหน้าที่ดี
สมบูรณ์ ในแต่ละย่อหน้าต้องเขียนให้มีจุดหมาย
มีเอกภาพ
มีสัมพันธภาพ
มีสารัตถภาพ
ประโยชน์
ฝึกทักษะและการพัฒนาการใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ช่วยให้รู้จักวงศัพท์มากขึ้น สามารถเลือกใช้ถ้อยคำได้
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และยังเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เขียน
ช่วยให้มีความรู้ ความซาบซึ้งในวรรณคดีที่มีคุณค่าต่าง ๆ
เป็นงานที่สร้างความสุขสนุกสนาน
ลำดับขั้นในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์
ขั้นจูงใจ เป็นขั้นให้ความรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจ
ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องที่สนใจ
ขั้นเขียน ขั้นนี้นักเรียนเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจอย่างอิสระ
ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดจากเรื่องที่เขียน
ขั้นติดตามผลกิจกรรมบางอย่างที่เหมาะสม เช่น เขียนเรื่องที่ต่อเนื่องกัน หรือ ต้องแก้ไขบกพร่องบางอย่าง
การประเมินผลการเขียนเชิงสร้างสรรค์
การใช้ภาษาควรพิจารณาระดับของภาษาที่ใช้ว่าถูกต้องตามกาลเทศะ และลักษณะของเรื่อง พิจารณาการใช้คำ
รูปแบบควรพิจารณาเฉพาะการเขียนที่มีแผนแน่นอนว่า ทำได้ถูกทุกรูปแบบการเขียนชนิดนั้น ๆ หรือไม่ เช่น เรียงความ บทความ
เนื้อเรื่องควรพิจารณาแนวคิดหรือแนวเรื่องการจัดระเบียบความคิด การอ้างเหตุผล การขยายความและความแจ่มแจ้ง ชัดเจน
กลไกประกอบการเขียนอื่น ๆ ได้แก่ สะกด การันต์ ลายมือ ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ความหมาย
การอ่านเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่มนุษย์ใช้สำหรับสืบค้นและเรียนรู้บรรดาศิลปวิทยาการต่าง ๆ
เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์
ผู้อ่านต้องแปลความหมายจากตัวอักษร สัญลักษณ์ที่ปรากฏแก่สายตาให้ออกมาเป็นความรู้ ความคิด
แล้วผู้อ่านสามารถนำความคิดความเข้าใจที่ได้จากการอ่านนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
กระบวนการการอ่าน
การมองเห็นตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือข้อความชัดเจนแล้วเข้าใจ
การเข้าใจความหมายของสาร
การมีปฏิกิริยาต่อสาร
การบูรณาการความคิด
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
อ่านเพื่อความรู้
อ่านเพื่อหาคำตอบ
อ่านเพื่อปฏิบัติตาม
อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
ประโยชน์ของการอ่าน
ประโยชน์ต่อตนเอง คือก่อให้เกิดความรอบรู้ คืออ่านมากย่อมรู้มาก เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ที่ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมากทำให้เป็นคนทันสมัยอยู่เสมอ
ประโยชน์ต่อสังคม
1.ทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม การอ่านเป็นกุญแจในการสืบค้น
2.ทางด้านสังคม การอ่านเป็นการสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคลให้เกิดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
3.ทางด้านเศรษฐกิจ การอ่านนอกจากจะส่งผลต่ออาชีพและเศรษฐกิจของตนให้ดีขึ้น
4.ด้านประชาธิปไตย การอ่านเป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำเสนอความคิดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ทั้งโดยตรงและผ่านสื่อมวลชน
5.ด้านคุณธรรมและสันติธรรม การเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางมองเห็นความเป็นอยู่
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ขั้นตอนการอ่านเชิงวิเคราะห์
ขั้นที่ 3 สรุป คือ ผู้อ่านสังเคราะห์ข้อมูล แล้วสรุปประเมินความน่าจะเป็น น่าเชื่อถือ สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม หาหลักฐานประกอบการตัดสินใจเชิงเหตุเชิงผล
ขั้นที่ 4 ประยุกต์และนำไปใช้ คือ ผู้อ่านสามารถนำผลจากการอ่านและเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง โดยคัดเลือกสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ คือ การที่ผู้อ่านใช้ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ขั้นที่ 1 รวบรวมข้อมูล คือ การที่ผู้อ่านต้องอ่านเนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อรับรู้เรื่องราวและเข้าใจความหมาย
การอ่านเชิงวิเคราะห์เป็นการอ่านที่ฝึกให้ผู้อ่านรู้จักแยกแยะความเหมาะสมขององค์ประกอบในการเขียน ทั้งเนื้อหาและรูปแบบ เข้าใจจุดประสงค์และทัศนะของผู้เขียน รวมทั้งวินิจฉัยได้ว่าเรื่องนั้นควรอ่านหรือไม่ควรอ่านอย่างไร
ความหมาย
การอ่านอย่างละเอียด เพื่อทำความความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน
สามารถแยกแยะสิ่งที่อ่านได้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร รวมทั้งความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ และเนื้อหาแต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร
นอกจากนี้ยังสามารถแยกข้อเท็จจริง ความคิดเห็น สรุปเรื่องตามแนวคิดของผู้แต่งหรือผู้เขียน
ทักษะการฟังเชิงรุก
ความหมาย
การฟังเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการรับสาร
ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าทักษะด้านอื่น ๆ
การฟังนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งในสภาพที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ วันหนึ่ง ๆ อาจได้ฟังเรื่องราว การสนทนา การบรรยาย เป็นต้น
กระบวนการฟังมี 5 ระดับ
การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (Hearing)
การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (Concentration)
การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (Comprehension)
การตีความสิ่งที่ได้ยิน (Interpretation)
การตอบสนอง (Reaction)
จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ การฟังที่ผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายที่จะหาความรู้ ความเข้าใจ และประเมินค่าเรื่องที่ได้ฟัง
การฟังเพื่อสังคม การฟังที่ผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายที่จะหาความเพลิดเพลิน ความบันเทิง หรือเพื่อที่จะรักษามารยาทอันดีงาม
ประโยชน์ของการฟัง
ประโยชน์ต่อตนเอง
การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ใ
การฟังที่ดีทำให้เรารับรู้เรื่องราวที่ฟังได้โดยตลอด
การฟังที่ดีช่วยพัฒนาสมรรถภาพของการใช้ทักษะภาษาอื่น ๆ
ประโยชน์ต่อสังคม
การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในแง่ที่ผู้ฟังสามารถนำความรู้ แง่คิดต่าง ๆ ไปใช้ โดยตัวผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติและสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม
มารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังระหว่างบุคคล
เช่น การพูดคุยสนทนา การสัมภาษณ์ การถามตอบในชั้นเรียน ผู้ฟังควรมีมารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังกลุ่ม
หมายถึง การพูดการฟังระหว่างผู้พูดกับกลุ่มคนฟังในที่สาธารณะ เช่น การฟังโต้วาที การอภิปราย เป็นต้น
วิธีฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟัง
ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
ขณะฟัง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติให้ได้ตามขั้นตอนการฟัง
พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
พยายามจดบันทึกทุกครั้งในขณะที่ฟัง
ปัญหาการจับใจความสำคัญ
ไม่เป็นคนใจแคบ
ฟังให้ครบ
รักษามารยาทในการฟัง
ทักษะการฟังเชิงรุก
Active Listening หรือ การฟังเชิงรุก (ในที่นี้มีความหมายเดียวกับการฟังด้วยใจ, การฟังอย่างตั้งใจ) คือการฟังที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการได้ยินเสียงที่อีกฝ่ายพูด โดยไม่ใช้ประสบการณ์ อคติ หรือความคาดหวังของตนไปตัดสินว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นผิดหรือถูก
มีคุณค่าและประโยชน์ในแง่ของการช่วยเหลือด้วยการรับฟัง ที่ทำให้ผู้พูดรู้สึกสบายใจ ได้มีโอกาสพูดตามความรู้สึกที่แท้จริง
ข้อแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกการฟัง
การฟังเชิงรุกไม่ใช่การนั่งเงียบตลอดเวลา ผู้ฟังสามารถสื่อสารโต้ตอบกลับได้ ทั้งการรับคำ พยักหน้า พูดถามกลับ แสดงความห่วงใย เพื่อให้ผู้พูดรับรู้ได้ว่าเรากำลังตั้งใจฟังอยู่