Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ประสบการณ์ในอดีตมีความส าคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย พยาบาลควรจะพูดคุย
กับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตาม
ความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่าง
ในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับผู้ป่วย
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน (Inpatient)
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
การรับโดยตรง (Direct admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent) เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมงเช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วย หมายถึงการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยโดยแบ่งประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย วัตถุประสงค์การจำหน่ายผู้ป่วย อุปกรณ์ และขั้นตอนการจำหน่าย
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
การเตรียมอุปกรณ์
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วยการที่เตรียมเตียงหรือห้องไม่พร้อมจะท าให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้สึกไม่อยากนอนพักรักษาในสถานที่นั้นหรือไม่ประทับใจ
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล เอกสารหรือแบบบันทึกต่างๆ
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสมครบถ้วน
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวลเต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
การวางแผนจำหน่าย (Discharge planning) เป็นการวางแผนและจัดสรรบริการในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลต่อเนื่องหลังการจำหน่ายอย่างเป็นระบบ องค์รวม มีการประสานของทีมสหสาขาวิชาชีพในการสนับสนุนและเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัวเป็นรายกรณ
วางแผนการจำหน่ายแบบ D-METHOD
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพกระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ
ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง
ความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยาฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียงข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ แนะนำแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ายๆ (Bluishpurple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตามแรงดึงดูดของโลก
Rigor mortis คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลจะต้องปิดเปลือกตา ปิดปาก และจัดให้ศพอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติทันทีเท่าที่จะทำได้
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง
เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
ขั้นตอนการแต่งศพ
การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ
การแต่งศพจะต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วยการปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณีภายหลังถึงแก่กรรม คือ การอาบน้ำแต่งตัวศพหลังจากตายแล้ว ซึ่งพิธีอาบน้ำศพเป็นการทำให้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะของผู้ตาย
ถ้าผู้ป่วยถึงแก่กรรมภายหลังที่รับเข้ารักษาในให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย แพทย์จะเป็นผู้เขียนใบมรณบัตร แล้วญาตินำไปแจ้งที่อำเภอภายในรงพยาบาล กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม24 ชั่วโมง บางรายแพทย์ต้องการตรวจศพ (Autopsy) จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติก่อน
ถ้าผู้ตายเป็นโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ เป็นต้น ทางโรงพยาบาลต้องแจ้งหน่วยราชการสาธารณสุข และทำความสะอาดห้องและอุปกรณ์ของใช้ตามหลักการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลนั้นๆ ในการติดต่อรับศพ ญาติจะต้องดำเนินการ