Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน (Inpatient)
ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า24 ชั่วโมง
ประเภทของผู้ป่วยใน
ว
างแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent))
หรือเป็นผู้ป่วยในตามปกติ รับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไวรักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย
การรับโดยตรง (Direct admission)
ไม่ได้วางแผนไว้ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉินอาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกและรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง
ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
ประเภทนอนสังเกตอาการ
ต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมง
อาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของ
ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่าง
ๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ส าหรับผู้ป่วยจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอธิบายและแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย
โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษาไม่ควรพูดศัพท์ทางการแพทย์เพราะจะท าให้ผู้ป่วยยิ่งกังวลมากขึ้น
ประสบการณ์ในอดีต
มีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วยควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตจะทำให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วยเพื่อนำข้อมูลที่ได้มามาใช้ในการวางแผนการให้การพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย
ต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสมการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสมควรมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่ต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งเมื่อจะให้การพยาบาล
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย
แต่ละคนมีความแตกต่างในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเองพยาบาลควรยอมรับไม่แสดงความดูถูกควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ
โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลแผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลงเมื่ออาการหรือปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเหมาะสมครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวลเต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือ
แบบบันทึกต่างๆ
แบบตรวจสอบการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล
แบบบันทึกต่างๆสำหรับจัดทำแฟ้มผู้ป่วย (ตัวอย่าง)
แบบบันทึกคำสั่ง
แผนการรักษาแพทย์
แบบบันทึกสัญญาณชีพและระดับความปวด
แบบประเมินภาวะสุขภาพ
แบบบันทึกแผนการพยาบาล
แบบบันทึกคาร์เดกซ์
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสม
สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพน้ำหนักและส่วนสูง
สมุดบันทึกการรับใหม่
เครื่องใช้ส่วนตัวบางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วยกรณีไม่มีให้
อาจแจ้งให้ผู้ป่วยหรือญาติเตรียมมาให้พร้อม
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่
นำเหยือกน้ำ แก้วน้ำ กระโถน ปรอทวัดไข้เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
สร้างสัมพันธภาพ
ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ สีหน้า แววตา
กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน สนใจ
ตรวจสอบชื่่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็นรับผู้ป่วยของแพทย์
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
นำผู้ป่วยไปที่เตียงแนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้องและให้นอนพักสักครู่
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับ
ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วยและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอมเข้ารับการตรวจ
รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำในการอาบน้ำแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล
เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่วยและประเมินสภาวะ
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วย
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
การรับแผนการรักษา
วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดแผนการรักษาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
อุปกรณ์ ประกอบด้วย แผ่นคำสั่งการรักษา ใบรับคำสั่งแผนการรักษา ใบบันทึกการให้ยาป้ายสำหรับติดขวดสารละลายปากกา
วิธีการรับแผนการรักษา
อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด หากสงสัยหรือเขียนไม่ชัดเจนให้ถามแพทย์ผู้กำหนดแผนการรักษา
กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับคำสั่งแผนการรักษา
หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำให้เขียนป้ายสำหรับติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
ปฏิบัติตามแผนการรักษา
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค
การจำหน่ายโดยไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า
ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วยแพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นและต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจ
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อท าการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาลและแจ้งเหตุที่จำหน่ายเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล
การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
มีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อ
ทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อม
ที่สงบเรียบร้อย
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
บทบาทพยาบาลในการวางแผน
จำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้านชื่อยา
ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยาผลข้างเคียง ข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ
ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง
ความส าคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ แนะนำแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis
อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง
เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Livor mortis
เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำๆ (Bluish
purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย Livor mortis เกิดทุกรายภายหลังตายประมาณ 5 ชั่วโมง
และเกิดเต็มที่หลังตายประมาณ 12 ชั่วโมงจะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าศพจะเน่า
Rigor mortis
คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิด
จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ
การแต่งศพจะต้องค านึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโ รงพยาบาลและ
ขนบธรรมเนียม ประเพณี
ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทำลายได้ถูกต้อง
ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
สำหรับศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน(ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนุ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต
ไม่อนุญาตให้ผ่าศพหรือกระทำการใดๆ อันเกิดความเสียหายต่อศพ
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านของ
ผู้ตาย เป็นต้น มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่
เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นำใบมรณะบัตรไป
แจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้อีกต่อไป