Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน(Inpatient)
ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24ชั่วโมง
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)หรือเป็นผู้ป่วยในตามปกติ
เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย
การรับโดยตรง (Direct admission)
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก และรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง
ผู้ป่วยนอก(Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24ชั่วโมง
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อมบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล
ต้องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบายและแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย
พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรคและการรักษา
ไม่ควรพูดศัพท์ทางการแพทย์หรือภาษาอังกฤษที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจเพราะจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งกังวลมากขึ้น
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย
พยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล จะทำให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วยเพื่อนำข้อมูลที่ได้มามาใช้ในการวางแผนการให้การพยาบาลต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย
พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสมซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อและมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย
พยาบาลควรยอมรับไม่แสดงความดูถูกหรือหัวเราะเยาะควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ
แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลงเมื่ออาการหรือปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน จะมีประสิทธิภาพหากผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์ เพื่อให้
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล เอกสารหรือแบบบันทึกต่างๆ
แบบตรวจสอบการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล
แบบบันทึกต่างๆ ส าหรับจัดทำแฟ้มผู้ป่วย
แบบบันทึกคาร์เดกซ์
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
สมุดบันทึกการรับใหม่
เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้ส าหรับผู้ป่วย กรณีไม่มีให้อาจแจ้งให้ผู้ป่วยหรือญาติเตรียมมาให้พร้อม
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย น าเหยือกน้ำ แก้วน้ำ กระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้
สร้างสัมพันธภาพ
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็นรับผู้ป่วยของแพทย์
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักครู่
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำ
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ทำาการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะจำหน่ายได้
การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นและต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจอยู่ในใบเซ็นไม่สมัครใจรับการรักษา
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล และแจ้งเหตุที่จ าหน่าย เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการให้การพยาบาล
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึงอาการรุนแรง การช่วยเหลือของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และการลงความเห็นของแพทย์ว่าไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่
การจ าหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย
รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
เสื้อผ้าผู้ป่วย
บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
ใบนัด
ใบสั่งยา
กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำ สำลี ก๊อซบัตรติดข้อมือศพด้วย
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D=Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M=Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H=Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการท ากิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O=Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความส าคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนะน าแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis
Livor mortis
Rigor mortis
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
เพื่อเป็นการเตรียมผู้ตายก่อนญาติเข้าไปดูศพ พยาบาลจะต้องเก็บอุปกรณ์การรักษาทุกชนิดออกจากศพ และทำการแต่งศพให้เรียบร้อย
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การอาบน้ำแต่งตัวศพหลังจากตายแล้ว ซึ่งพิธีอาบน้ำศพเป็นการทำห้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะของผู้ตาย ซึ่งประเพณีไทยใช้วิธีการรดน้ำศพเป็นการขอขมา
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
ถ้าผู้ป่วยถึงแก่กรรมภายหลังที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาล กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม ให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย
แพทย์จะเป็นผู้เขียนใบมรณบัตร แล้วญาติน าไปแจ้งที่อ าเภอภายใน 24 ชั่วโมง บางรายแพทย์ต้องการตรวจศพ (Autopsy) จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติก่อน
ถ้าผู้ตายเป็นโรคติดต่อ
ทางโรงพยาบาลต้องแจ้งหน่วยราชการสาธารณสุข และทำความสะอาดห้องและอุปกรณ์ของใช้ตามหลักการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลนั้นๆ ในการติดต่อรับศพ