Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่าย ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่าย
ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการ
รับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน
(Inpatient)
1) วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent) หรือเป็น ผู้ป่วยในตามปกติ เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า เช่น ผู้ป่วยที่นัดมาทาการผ่าตัด นัดมาเข้ารับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบาบัด ให้รังสีรักษา นัดมาผ่าตัดคลอด นัดมาตรวจวิเคราะห์โรค เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจถูกเลื่อนนัดหากมีความจาเป็น
2) การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
เป็นการนอนพักรักษา ในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัว ที่หอผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก ได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรง มีเลือดออกปริมาณมาก หมดสติ เป็นต้น
3) การรับโดยตรง (Direct admission)
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้ วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก และรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูงเป็นเวลานาน มีอาการปวดอย่างทรมาน ท้องเสีย อาเจียนอย่างต่อเนื่อง มีอาการเกร็ง หรือชักเป็นๆ หายๆ เป็นต้น
ผู้ป่วยนอก
(Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบาบัดแบบเป็นครั้งๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มหลังนี้เป็นประเภท นอนสังเกตอาการ จาเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อมีอาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
หลักการส่งเสริมการปรับตัว
ของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน รวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ แปลกใหม่ส าหรับผู้ป่วย จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบาย และแนะน าถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบ และให้ค าแนะน าที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา หากค าถามใดที่ไม่สามารถที่จะตอบ ผู้ป่วยได้ เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องกับค าถามนั้นโดยตรง นอกจากนั้นขณะอยู่ต่อหน้าผู้ป่วย ไม่ควรพูดศัพท์ทางการแพทย์หรือภาษาอังกฤษที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ เพราะจะท าให้ผู้ป่วยยิ่งกังวลมากขึ้น
ประสบการณ์ในอดีตมีความส าคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย พยาบาลควรจะพูดคุย กับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาล และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล จะท าให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วยเพื่อน าข้อมูลที่ได้มา มาใช้ในการวางแผนการให้การพยาบาลต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
การค านึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตาม ความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีค าน าหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้ หมายเลขเตียง และควรมีค าลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่ จะต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบ ทุกครั้งเมื่อจะให้การพยาบาล หากเป็นไปได้ควรให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาลของตน
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่าง ในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง เมื่อผู้ป่วยเข้ามาอยู่ ในโรงพยาบาลจะต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล จนสามารถปรับตัวได้ หากผู้ป่วยมีความเชื่อที่แปลกไปแต่ไม่ท าให้เกิดอันตราย พยาบาลควรยอมรับไม่แสดงความดูถูก หรือหัวเราะเยาะ ควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลง เมื่ออาการหรือปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน จะมีประสิทธิภาพหากผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย
วัตถุประสงค์
รับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จ าเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย น าเหยือกน้ า แก้วน้ า กระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จ าเป็นส าหรับผู้ป่วยเฉพาะราย เช่น อุปกรณ์ส าหรับ ให้ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ที่แขวนปัสสาวะ ไปวางไว้ที่เตียงและโต๊ะข้างเตียง เสื้อผ้า ผ้าถุง กางเกง ไว้ที่ปลายเตียง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้
สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยค า สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน สนใจ เข้าใจ เห็นใจ ยอมรับในตัวผู้ป่วยและญาติ ใช้ถ้อยค า ที่เหมาะสมกับวัย ยศ และต าแหน่งหน้าที่ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติลดความกลัว วิตกกังวล และเกิดความอบอุ่น ไว้วางใจ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็น รับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
ชั่งน้ าหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือไม่สามารถยืนได้ ไม่ต้องชั่งน้ าหนักและวัดส่วนสูงนอกจากจะมีเครื่องชนิดนอนชั่ง เพื่อเป็นข้อมูล พื้นฐานในการรักษาพยาบาล และเป็นการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะน าให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักครู่
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับ ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้ค าแนะน
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ให้ความช่วยเหลือหรือให้ค าแนะน าในการอาบน้ าแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่วย ตลอดจนการประเมินสภาวะ ของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติ กับผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการแจ้งให้แพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้รับทราบและปฏิบัติตาม
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจ าหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ถ้ายังไม่มีค าสั่งแผนการรักษาแพทย์ควรเขียนค าสั่งแผนการรักษาทันที
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดท าแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณี
แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจ าหน่ายผู้ป่วย ซึ่งในแผนการ รักษาของแพทย์ต้องมีการเขียนอย่างชัดเจนว่าจ าหน่ายผู้ป่วยพร้อมลายเซ็นของแพทย์ จึงจะจ าหน่าย ผู้ป่วยได้
แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สังเกตสีหน้าท่าทีของผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนซักถามปัญหาของผู้ป่วย เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ตามความเหมาะสม
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา ในกรณีที่ต้นสังกัดของหน่วยงานหรือ โรงพยาบาลเบิกยาก่อนกลับบ้านไว้ และก าหนดให้ญาติไปซื้อและรับยาเอง
แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย เช่น การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การจัดสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตนและการรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน การสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจ าตัวของผู้ป่วย พร้อมทั้งให้ค าแนะน าในเรื่อง ความส าคัญของการมาตรวจตามนัด รายละเอียดของการนัด การเตรียมตัวในการมาตรวจตามนัด เช่น การงดน้ างดอาหาร การงดรับประทานยา เป็นต้น รวมทั้งการแนะน าให้รักษาต่อที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
เก็บอุปกรณ์ ท าความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis
อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดท างาน
Livor mortis
เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ าๆ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกท าลาย และตกตะกอนตาม แรงดึงดูดของโลก เช่น ถ้าตายในท่านอนหงาย บริเวณหลัง แก้มก้น และด้านล่างของแขน ขา จะมีสีเข้มไป จากเดิม เป็นต้น ยกเว้น บริเวณที่ถูกกดทับจะซีดขาวบริเวณใกล้เคียงและเป็นไปตามรูปของสิ่งที่กดทับอยู่ เช่น รอยเข็มขัด เสื้อใน ล้อรถยนต์ เป็นต้น Livor mortis เกิดทุกรายภายหลังตายประมาณ 5 ชั่วโมง และเกิดเต็มที่หลังตายประมาณ 12 ชั่วโมง และจะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าศพจะเน่า ประโยชน์ของ Livor mortis คือ บอกเวลาตาย บอกสภาพเดิมของศพ และบอกสาเหตุการตาย
Rigor mortis
การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิด จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง หลังจากผู้ป่วย เสียชีวิต พยาบาลจะต้องปิดเปลือกตา ปิดปาก และจัดให้ศพอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติทันทีเท่าที่จะท าได้
การแต่งศพ
การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องค านึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตาย ข้อปฏิบัติจากญาติและให้ญาติได้มีส่วนร่วมด้วย