Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
การส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตาม ความเหมาะสม
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่าง ในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง เมื่อผู้ป่วยเข้ามาอยู่ ในโรงพยาบาลจะต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ แปลกใหม่สำหรับผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
ข้อบ่งชี้ และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำๆ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตาม แรงดึงดูดของโลก
Rigor mortis คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิด จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคม ได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
แบบตรวจสอบการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล
แบบบันทึกต่าง ๆ สำหรับจัดทำแฟ้มผู้ป่วย
แบบบันทึกคาร์เดกซ์
สมุดบันทึกการรับใหม่
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วย
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
สร้างสัมพันธภาพ
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็น รับผู้ป่วยของแพทย์
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับ
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำ
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย
ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำในการอาบน้ำแรกรับเข้ารักษา
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติ กับผู้ป่วย
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
การรับแผนการรักษา เป็นกระบวนการถ่ายทอดแผนการรักษาจากแผ่นคำสั่งการ รักษาไปสู่การปฏิบัติ
วัตถุประสงค์
อุปกรณ์
วิธีการรับแผนการรักษา
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน
การรับแบบฉุกเฉิน
การรับโดยตรง
ผู้ป่วยนอก : ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
บทบาทพยาบาลในการจำหน่วยผู้ป่วยโดยใช้หลัก D-METHOD
การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยแบ่งเป็นการวางแผนการจ าหน่ายผู้ป่วยตามกระบวนการ พยาบาล และวางแผนการจำหน่ายแบบ D-METHOD
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง ความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค
การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuing care) เป็นกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยภายหลัง การจำหน่าย โดยความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล เริ่มจากการประเมินความ จำเป็นในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ
การรับผู้ป่วยใหม่เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยเมื่อเข้ามาอยู่โรงพยาบาลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีการวางแผนการ จำหน่ายผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย เนื่องจากการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่การเข้ารับการรักษาในวันแรกๆ นั้นเป็นการเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมในการดูแลตนเอง
การวางแผนจำหน่าย (Discharge planning) เป็นการวางแผนและจัดสรรบริการในการ ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลต่อเนื่องหลังการจำหน่ายอย่างเป็นระบบ องค์รวม มีการประสานของ ทีมสหสาขาวิชาชีพในการสนับสนุนและเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัวเป็นรายกรณี รวมทั้งมีการส่งเสริม การใช้ทรัพยากรทางสุขภาพที่เหมาะสม
หลักการพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณีและศาสนา
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
คนจีนใช้น้ำผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณ ขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย
สำหรับศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน (ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
รติดต่อรับศพ
นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นำใบมรณะบัตรไป แจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้อีกต่อไป
นำหลักฐานต่างๆมายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
ถ้าผู้ตายเป็นโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ เป็นต้น ทางโรงพยาบาลต้องแจ้ง หน่วยราชการสาธารณสุข
ผู้ป่วยถึงแก่กรรมภายหลังที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาล กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม ให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย แพทย์จะเป็นผู้เขียนใบมรณบัตร แล้วญาตินำไปแจ้งที่อเภอภายใน 24 ชั่วโมง
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย
ดูแลจัดเก็บของใช้
เตรียมศพให้สะอาด
ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
ขั้นตอนการแต่งศพ
ล้างมือก่อนจัดเตรียมของใช้
เตรียมอุปกรณ์
จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม
เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลทุกชนิดออกจากศพ
สวมถุงมือ
ถ้ามีฟันปลอม ตาปลอมต้องรีบใส่
ถ้ามีแผลต้องตกแต่งแผลให้เรียบร้อย
อธิบายให้ญาติผู้ป่วยเข้าใจ
จัดศพให้นอนหงายดูคล้ายคนนอนหลับ
ปิดปากและตาทั้ง 2 ข้างให้สนิท
ใช้สำลีหรือก๊อซอุดอวัยวะต่าง ๆ ที่มีน้ำคัดหลั่งหรือเลือดไหลออกมา
เช็ดตัวให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่
ผูกป้ายชื่อที่ข้อมือ
คลุมผ้าจากปลายเท้าถึงระดับไหล่ เก็บของใช้ต่างๆของผู้ป่วยส่งคืน
ให้แก่ญาติ
ถอดถุงมือ ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
ให้ศพอยู่ในหอผู้ป่วยประมาณ 2 ชั่วโมง
ข้อควรคำนึงในการแต่งศพ ควรพิจารณาร่วมกับญาติผู้ป่วย เช็ดร่างกายให้สะอาด
การแต่งศพ : การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่สงบเรียบร้อย
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
อุปกรณ์
สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
เสื้อผ้าผู้ป่วย
รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
ใบนัด
ใบสั่งยา
กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำ สำลี ก๊อซ บัตรติดข้อมือศพด้วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ
การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม
การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพ อื่น
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วย การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์
แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
ให้ใบนัด
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี)
ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง
จัดท่าให้เร็วที่สุด
ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย และเคลื่อนย้ายโดยปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป
ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ำใส่เสื้อผ้าให้ ถ้ามีแผลเปลี่ยนผ้าปิดแผลให้ใหม่ ถ้ามีของเหลวจากจมูก หู ใช้สำลีอุดไว้ ถ้าออกจากช่องคลอดหรือทวารหนักให้ใช้ผ้าอนามัยหรือผ้าอ้อม สำเร็จรูปห่อไว้เหมือนกับผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่
รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย