Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาหลังคลอด
การรับย้ายมารดาหลังคลอด (24 ชม. แรก)
ประเมินสภาพมารดาหลังคลอด
Body temperature & Blood pressure
BP: q 15 min 4 ครั้ง,q 30 min 2 ครั้ง
ความดันต่ำโดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่า อาจเกิดจากการเสียเลือด
SBP เพิ่ม> 30 mmHg. , DBP เพิ่ม>15+ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
Temp. ปกติ คือ 38 องศา ลดลงปกติใน 24 hr.
ชีพจรเต้นช้าลง
เพิ่มมากขึ้น จากการเสียเลือดมาก
เกิน 100 bpm อาจติดเชื้อหรือตกเลือด
การตรวจลักษณะทั่วไป ภาวะซีด (Body condition )
ภาวะชัก
ความอ่อนเพลีย
Trombophlebitis & thromboembolic disease
น่องบวม ร้อน เจ็บ หนักขา
Human's sign position
การซักประวัติข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลการฝากครรภ์
ข้อมูลการคลอด
การซักประวัติข้อมูลความเชื่อมารดาหลังคลอดและครอบครัว (Belief model)
ประเมินความเชื่อของการปฏิบัติตัวหลังคลอด
ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
การตรวจเต้านมและการหลั่งน้ำนม (Breast and lactation)
หัวนมบอดบุ๋ม, หัวนมแตก แยก เจ็บ, เต้านมร้อนบวม คัดตึง
การตรวจหน้าท้องและมดลูก (Belly and fundus)
ระดับยอดมดลูก
วัดหลัง 12 hr. ก่อนวัดให้มารดาปัสสาวะก่อน
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
เอียงขวาถ้า bladder full
การตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Bladder)
ประเมินการคั่งของปัสสาวะใน 24 ชม.แรก
1.1.8. การตรวจเลือดและน้ำคาวปลา (Bladder & Lochia)
Lochia rubra พบ 1-3 วันหลังคลอด สีแดงเข้ม เมือกปน ไม่เป็นลิ่ม
Lochia serosa พบ 4-9 วันหลังคลอด สีแดงจางคล้ายน้ำล้างเนื้อ
Lochia alba พบหลังวันที่ 10 หลังคลอด สีเหลืองอ่อนหรือสีขาว
น้ำคาวปลาจะพบนานประมาณ 24-36 วัน
1.1.9. การตรวจฝีเย็บ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และทวารหนัก
ประเมินแผลฝีเย็บตามหลัก REEDA
E (Edema)
E (Ecchymosis)
R (redness; erythema)
D(drainage, discharge)
A(Approximation)
แนวทางการดูแลฝีเย็บและการบรรเทาอาการปวด
ปวดมากควรประเมินการมีเลือดคั่งหรือการติดเชื้อของแผลฝีเย็บ
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ประคบเย็นบรรเทาอาการปวด และระยะหลัง 24 ชั่วโมง
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ให้ถูกวิธี ซับให้แห้งทุกครั้งหลังขับถ่าย
1.1.10. การประเมินการทำงานของลำไส้
ประเมินBowels sound
การประเมินอาการท้องผูกและการดูแลเรื่องการขับถ่าย
1.1.11. การประเมินภาวะด้านจิตสังคม
Taking-in phase
พบในระยะ 2-3 วัน :การพึ่งพาผู้อื่นและมุ่งเน้นตนเองของมารดาหลังคลอด ช่วยเหลือ/กระตุ้นการทำกิจวัตรประจำวัน ให้ข้อมูลถึงความจำเป็นในการทำกิจวัตรต่างๆ รวมทั้งการกระตุ้นให้มีการสำรวจทารก
1.1.12. การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
ประเมินสภาพอารมณ์ (Emotional status) ปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว การอุ้ม การโอบกอดและการผสานสายตากับทารก สีหน้าท่าทาง อาการไม่สุขสบาย
1.2. การให้คำแนะนำมารดาในการให้นมทารก
ประโยชน์ต่อลูก
ลดการเกิดอาการท้องเสีย, โรคปอดอักเสบของทารกแรกเกิด, ป้องกันการติดเชื้อทั้งไวรัส แบคทีเรีย และหนอนพยาธิของเด็กทารกได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
ประโยชน์ต่อแม่
ช่วยให้รูปร่างดีและไม่อ้วนเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูกเกิดความรักความผูกพันระหว่างผูกพัน
ช่วยขับน้ำคาวปลา และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
ลดอาการตกเลือดหลังคลอด จากการที่มดลูกมีการหดรัดตัวดี
ช่วยในการคุมกำเนิดในระยะหลังคลอด ทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.การดูแลมารดาหลังคลอดประจำวัน (24 ชม.หลัง)
2.1. การประเมินการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพหลังคลอด
2.1.1. เต้านมและการหลั่งน้ำนม
ประเมินเกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด ความสมมาตร ก้อน อาการคัดตึง การมีผื่นหรือสีผิวผิดปกติ ประเมินลักษณะหัวนมที่ผิดปกติและประเมินหัวนมแตก
2.1.2. การหดรัดตัวของมดลูก
การวัดระดับยอดมดลูกเพื่อประเมินการเข้าอู่ของมดลูก
ให้มารดาปัสสาวะก่อน
ทำการวัดในท่านอนหงายชันเข่าเล็กน้อยผู้ตรวจคลำหายอดมดลูก ปกติมดลูกหลังคลอดทันทีจะอยู่ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยเเละเอียงมาทางด้านขวาเล็กน้อย ประมาณ 6-12 ชม.จะเลื่อนมาอยู่ตรงกลาง หากมดลูกลอยสูงและนิ่ม อาจมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกหรือการมีกระเพาะปัสสาวะโป่งตึงขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
2.1.3. น้ำคาวปลา
ประเมินลักษณะ สี ปริมาณ กลิ่นเพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอด
การประเมินน้ำคาวปลา
ปริมาณเล็กน้อย หมายถึง เปื้อนผ้าอนามัยประมาณ 1-2 นิ้ว หรือประมาณ 10 มิลลิลิตร
ปริมาณน้อย หมายถึง เปื้อนผ้าอนามัยประมาณ 4 นิ้ว หรือประมาณ 10 – 25 มิลลิลิตร
ปริมาณปานกลาง หมายถึง เปื้อนผ้าอนามัยประมาณ 4-6 นิ้ว หรือประมาณ 25-50 มิลลิลิตร
ปริมาณมาก หมายถึง เปื้อนผ้าอนามัยเต็ม 1 ผืนภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นสัญญาณของการตกเลือดหลังคลอด
2.1.4. แผลฝีเย็บ
ควรประเมินอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง
จัดท่านอนตะแคงและงอเข่าบนเข้าหาลำตัว ประเมินฝีเย็บ รูทวาร และริดสีดวงทวาร สังเกตอาการบวมช้ำ มีก้อนเลือด มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติ เกิดแผลแยก
หากมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บ ประเมินพบ hematoma ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
ประเมินแผลฝีเย็บ
R = redness (erythema) ประเมินลักษณะ สีผิวบริเวณแผลมีสีแดงเกิดขึ้นหรือไม่
E = edema แผลมีการบวมหรือไม่
E = ecchymosis มีก้อนเลือดคั่งใต้ผิวหนังหรือไม่
D = drainage, discharge สารคัดหลั่งจากบาดแผลมีลักษณะอย่างไร
A = approximation ขอบแผลชิดติดกันดีหรือไม่
2.1.5. การขับถ่าย
กระตุ้นการขับถ่ายปัสสาวะ
กระตุ้นการปัสสาวะหลังคลอด
2.1.6. ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
เจ็บแผลฝีเย็บ
แนวทางการดูแล
หากมีอาการปวดมากควรประเมินการมีเลือดคั่งหรือการติดเชื้อของแผลฝีเย็บ
ในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอดให้ใช้การประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการปวด และหลังระยะหลัง 24 ชั่วโมงใช้การประคบอุ่นหรือการแช่ก้นในน้ำอุ่น
แนะนำให้มารดาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้ถูกวิธี และซับให้แห้งทุกครั้งหลังการขับถ่าย
ประเมิน REEDA
ริดสีดวงทวาร
แนวทางการดูแล
ในรายที่เป็นไม่มากให้แช่ก้นในน้ำอุ่นเพื่อบรรเทาอาการ
แนะนำให้มารดารับประทานอากานที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และอาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำวันละ 8-12 แก้ว และมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ลุกเดินหลังคลอด เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ป้องกันอาการท้องผูก
Reactionary fever จากการสูญเสียน้ำในร่างกายในระยะคลอด
การดูแล
ดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล เช็ดเหงื่อไคล และวามสะอาดของร่างกาย
อธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจถึงสาเหตุของไข้ในระยะ 24 ชม.หลังคลอด
กระตุ้นให้ดื่มน้ำวันละ 2000 – 3000 มิลลิลิตร
After pains
แนวทางการดูแล
จัดท่าในท่านอนคว่ำจะช่วยลดอาการปวด
อธิบายให้มารดาทราบถึงสาเหตุของอาการปวด
กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว ลุกเดิน เพื่อช่วยขับน้ำคาวปลาและกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
ท้องผูก
แนวทางการดูแล
แนะนำไม่ให้มารดากลั้นอุจจาระ และรับประทานอากานที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และอาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำวันละ 8-12 แก้ว และมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ลุกเดินหลังคลอด เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
ปัสสาวะลำบาก
แนวทางการดูแล
กระตุ้นให้มารดาปัสสาวะ หากปัสสาวะเองไม่ได้ให้ intermittent catheter
2.1.7. การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
Taking-hold phase
พบได้ในระยะ 2-3 วันหลังคลอดเป็นระยะที่มารดาเริ่มปรับตัวเข้ากับบทบาทใหม่
การดูแล
สนับสนุนให้กำลังใจมารดา การให้ความรู้ สอนทักษะในการดูแลตนเองและบุตร เปิดโอกาสให้มารดาได้ดูแลบุตรด้วยตนเองและกล่าวชมเชยให้กำลังใจ
Letting-go phase
เป็นระยะที่มารดาสามารถยอมรับและปรับบทบาท
การดูแล
สมาชิกในครอบครัวควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยมารดาดูแลบุตร ดูแลงานบ้าน เพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้าของมารดาซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดได้
2.2. การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ประเมิน LATCH scoring system
L (Lacth) การอมหัวนมและลานนม
T (Type of nipple) รูปร่าง ขนาด และความยืดหยุ่นของหัวนมและลานนม
A (Audible) เสียงการกลืน
C (Comfort) ความสุขสบายของหัวนมและเต้านม
H (Hold) ท่าอุ้มทารกและการจับเต้านม