Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 การรับผู้ป่วยใหม่และ การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล panorama…
บทที่ 11 การรับผู้ป่วยใหม่และ
การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัดแบบเป็นครั้งๆ
ได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
ระยะเวลาหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมง
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก
ผู้ป่วยใน (Inpatient)
วางแผนเป็นผู้ป่วยใน/กรณีไม่เร่งด่วน
(Planned or Non-urgent)
จัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
เช่น ผู้ป่วยที่นัดมาทำการผ่าตัด
นัดมาตรวจวิเคราะห์โรค
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
นอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการดีขึ้นจึงย้าย
ไปนอนพักรักษาตัว ที่หอผู้ป่วย เช่น ได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรง
ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
มากกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวม โรคหัวใจวาย
การรับโดยตรง (Direct admission)
ไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน
อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก
รับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง
เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูงเป็นเวลานาน
วัตถุประสงค์และ
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล
เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและ
ความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคม ได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็น
ในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบ
และกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
การเตรียมอุปกรณ์
เอกสารรายงานการรับ
ผู้ป่วยใหม่/แบบบันทึกต่างๆ
แบบบันทึกต่างๆ
สำหรับจัดทำแฟ้มผู้ป่วย
แบบบันทึกคำสั่งแผนการรักษาแพทย์
แบบบันทึกสัญญาณชีพและระดับความปวด
แบบบันทึกแผนการพยาบาล
ใบอนุญาต/ใบยินยอมรับการตรวจและรักษา
แบบบันทึกคาร์เดกซ์
(Nursing kardex)
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย การรักษา
และการพยาบาลที่เป็นแบบวันต่อวัน/ต่อเนื่อง
ยาที่ให้ผ้ป่วยแบบวันต่อวัน/ต่อเนื่อง
แบบตรวจสอบการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล (Admission checklist)
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสม
สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เตรียมเตียง/ห้องพักผู้ป่วยให้พร้อม
เครื่องใช้ส่วนตัว
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
สมุดบันทึกการรับใหม่
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
สร้างสัมพันธภาพ ต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ
สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางเป็นมิตร อ่อนโยน
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับ
เป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็น รับผู้ป่วยของแพทย์
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่
และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นสาหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง
นำผู้ป่วยไปที่เตียง และให้นอนพัก
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ
และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับ
อธิบายกิจกรรม
การรักษาพยาบาลและให้คำแนะนำ
สาธิตวิธีการใช้สิ่งต่างๆ เช่น การควบคุมเตียง
กริ่ง/สัญญาณขอความช่วยเหลือ
หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
เวลาในการให้การพยาบาลและทำกิจกรรมต่างๆ
แนะนำสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยเกี่ยวกับของมีค่าให้ญาติเอากลับบ้าน เช่น เงิน
สามารถเก็บของส่วนตัวที่ไม่ใช่ของมีค่าไว้ที่โต๊ะข้างเตียง
ชี้แจงนโยบายของโรงพยาบาล
และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ป่วย
แนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับโรค
ให้ผู้ป่วย/ญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาต
เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย พยาบาลควรตรวจร่างกายผู้ป่วยเบื้องต้น
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
ให้ความช่วยเหลือ/ให้คำแนะนาในการอาบน้ำแรกรับ
เข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษาและนำป้ายข้อมือติด
ที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติ
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วย/แพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา
และลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
การรับแผนการรักษา
วิธีการรับแผนการรักษา
อุปกรณ์ คือ แผ่นคำสั่งการรักษา ใบรับคาสั่งแผนการรักษา
ใบบันทึกการให้ยา ป้ายติดขวดสารละลาย ปากกา
วิธีการรับแผนการรักษา
กรอกรายละเอียดแผนการรักษาใน
ใบรับคำสั่งแผนการรักษาใบบันทึกการให้ยา
หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทาง
หลอดเลือดดำให้เขียนป้ายสาหรับติดขวดสารละลาย
อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวัน
และตลอดไปให้เข้าใจ
ปฏิบัติตามแผนการรักษา ทำเครื่องหมาย/บันทึกชื่อผู้ทำในใบรับคำสั่งแผนการรักษา/ใบบันทึกการให้ยา
วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดแผนการรักษา
ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
รับผิดชอบการรับแผนการรักษา
ประสานงาน และติดตามการปฏิบัติ
ข้อบ่งชี้ และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Livor mortis การไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังเป็นสีม่วงคล้ำๆ
(Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย
เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตาม แรงดึงดูดของโลก
ยกเว้น บริเวณที่ถูกกดทับจะซีดขาวบริเวณใกล้เคียง
และเป็นไปตามรูปของสิ่งที่กดทับอยู่
เกิดทุกรายภายหลังตายประมาณ 5 ชั่วโมง และเกิดเต็มที่หลังตายประมาณ 12 ชั่วโมง และคงตลอดไปจนกว่าศพจะเน่า
Livor mortis บอกเวลาตาย บอกสภาพเดิมของศพ
และบอกสาเหตุการตาย
Rigor mortis การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง
เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมง
จนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
บทบาทพยาบาลในการจำหน่าย
ผู้ป่วยโดยใช้หลัก D-METHOD
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล
ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health ให้ความรู้ข้อจำกัดทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม
ปรับตัว เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ และการป้องกัน
E = Environment & Economic
กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ
ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจ
ถึงความสำคัญการตรวจตามนัดและอาการผิดปกติ การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานบริการใกล้บ้าน
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยา
ที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้
ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวัง
ผลข้างเคียงข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยง/งดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แนะนำแหล่งประโยชน์/สถานที่ให้คาปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็น
สาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัว ที่ถูกต้อง
การส่งเสริมการปรับตัว
ของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย
ช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้ บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรค
ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
ไม่ควรพูดศัพท์ทางการแพทย์/ภาษาอังกฤษที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญ
ต่อการแสดงออกของผู้ป่วย
พูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามประสบการณ์ในอดีต
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
ทำให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูล
ที่ได้มาวางแผนการให้การพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์
เและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบายและแนะนาถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ
ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
เช่น ระเบียบเวลาเยี่ยม การใช้กริ่งเมื่อต้องการความช่วยเหลือ
การคำนึงถึงความ
เป็นบุคคลของผู้ป่วย
ให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสม
เรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม
ไม่ควรเรียกผู้ป่วยตามหมายเลขเตียง
และมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ
เป็นของผู้ป่วย
ควรยอมรับไม่แสดงความดูถูก/หัวเราะเยาะ
ควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูล
ที่ได้จากการสังเกตและการซักถาม
วางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่
ในโรงพยาบาล แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลง
เมื่ออาการ/ปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน
จะมีประสิทธิภาพหากผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย
หลักการพยาบาลภายหลังผู้ป่วย
ถึงแก่กรรมตามประเพณีและศาสนา
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
ศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูร/ใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน (ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า
คนจีนใช้น้าผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพ
เพื่อให้วิญญาณ ขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงาม
พร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย
พิธีอาบน้ำศพ ทำให้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะ
ของผู้ตาย ประเพณีไทยใช้วิธีการรดน้ำศพเป็นการขอขมา
หลักปฏิบัติทางกฎหมาย
และระเบียบของโรงพยาบาล
แพทย์เป็นผู้เขียนใบมรณบัตร ญาตินำไปแจ้งที่อำเภอภายใน 24 ชั่วโมง
บางรายแพทย์ต้องการตรวจศพ (Autopsy) จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติก่อน
ญาติจะต้องดำเนินการ
กรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขต/ข้ามจังหวัด
ให้นำใบมรณะบัตรไป แจ้งเทศบาล/ที่ว่าการเขต
นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาล/ที่ว่าการเขตท้องถิ่น
ที่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ได้อีกต่อไป
กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม
ให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้ง/ทำลายได้ถูกต้อง
ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาลและขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเชื้อชาติ ศาสนาของผู้ตาย
ประสานงานหน่วยงาน/บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
และเขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
เตรียมศพให้สะอาดเรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
ขั้นตอนการแต่งศพ
จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม กั้นม่าน/ ฉากให้เรียบร้อย
ไขเตียงราบ เก็บอุปกรณ์การรักษาออกจากศพ
ถ้ามีฟันปลอม ตาปลอมต้องรีบใส่ ช่วยให้ส่วนคางคงรูปเหมือนเดิม
ล้างมือก่อนจัดเตรียมของใช้และเตรียมอุปกรณ์ เช่น ชุดทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้าชุดใหม่ ชุดทำแผล ชุดของใช้แต่งศพ สาลี ก๊อซ ถุงมือ 1-2 คู่ ป้ายผูกข้อมือ
มีแผลต้องตกแต่งแผลให้เรียบร้อย จัดศพให้นอนหงาย
และจัดแขนขาเหยียดตรงโดยเร็ว ปิดปากและตาทั้ง 2 ข้างให้สนิท
อธิบายให้ญาติผู้ป่วยเข้าใจ พยาบาลดูแล
ทำความสะอาดร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้แก่ศพ
ใช้สาลีอุดอวัยวะต่างๆที่น้ำคัดหลั่ง/เลือดไหลออกมา
และเช็ดตัวให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ ผูกป้ายชื่อที่ข้อมือ
คลุมผ้าจากปลายเท้าถึงระดับไหล่ เก็บของใช้และถอดถุงมือ ล้างมือ และให้ศพ
อยู่หอผู้ป่วยประมาณ 2 ชั่วโมง จึงเคลื่อนย้ายศพไปห้องเก็บศพพร้อมใบส่งศพ
ข้อควรคำนึงในการแต่งศพ ควรพิจารณาร่วมกับญาติผู้ป่วย เช็ดร่างกาย เปลี่ยนผ้าใหม่ หากต้องการแต่งหน้า
อย่าแต่งหน้าเข้ม และปัจจุบันไม่ต้อง Pack สำลีในอวัยวะต่างๆเพื่อคล้ายการดูแลให้นอนหลับสบาย
การแต่งศพ การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปห้องศพ
ต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัว
ได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด
อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สงบเรียบร้อย
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วย
ผู้ป่วยถึงแก่กรรม
จัดท่าให้เร็วที่สุด ให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบาย
คล้ายผู้ป่วยนอนหลับ หนุนศีรษะเพียงเล็กน้อย
ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม
ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้าสามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์การรักษาออก อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าให้ และถ้ามีของเหลวจากจมูก หู ใช้สาลีอุดไว้
ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้าง
ผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้ห่มผ้าคลุมหน้าอก และเก็บเครื่องใช้
ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ
ตรวจความเรียบร้อยและเคลื่อนย้าย และรวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
กรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้อง
กับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
ให้ใบนัด บัตรประจำตัว ให้คำแนะนำเรื่องการมาตรวจตามนัด รายละเอียด การเตรียมตัวในการมาตรวจ
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
และแจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ แจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนผู้ป่วย ช่วยแต่งกาย
เตรียมล้อเข็น เปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจาก
กระดานรายชื่อ เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาล
ทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล
เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผจะต้องให้ความช่วยเหลือ ให้ข้อมูลตั้งแต่แรกรับ
ถึงอาการรุนแรง การช่วยเหลือของแพทย์ และการลงความเห็นของแพทย์
ไม่สมัครอยู่ พยาบาลอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น และเซ็นชื่อว่าไม่สมัครใจ
มีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
เมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค
ต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษร
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย
เสื้อผ้าผู้ป่วย
บัตรประจาตัวของโรงพยาบาล
ใบนัด ใบสั่งยากรณีถึงแก่กรรมเตรียมเครื่องใช้
ในการอาบน้ำ สาลี ก๊อซ บัตรติดข้อมือศพด้วย
รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
สมุดจำหน่ายผู้ป่วย