Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่าย ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่าย
ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน (Inpatient)
ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24 ชั่วโมง
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน
เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
การรับแบบฉุกเฉินเ ป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย
การรับโดยตรง เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
แบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน
อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก และรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง
ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัดแบบเป็นครั้งๆ
นอนสังเกตอาการ จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อมีอาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
หลักการส่งเสริมการปรับตัว
ของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
อธิบายและแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบ
และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
ช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้
ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษาขณะอยู่ต่อหน้าผู้ป่วย ไม่ควรพูดศัพท์ทางการแพทย์หรือภาษาอังกฤษที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจเพราะจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งกังวลมากขึ้น
ควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล จะท าให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วยเพื่อนำข้อมูลที่ได้มามาใช้ในการวางแผนการให้การพยาบาลต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
จะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้หมายเลขเตียง และควรมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่
หากผู้ป่วยมีความเชื่อที่แปลกไปแต่ไม่ทำให้เกิดอันตราย พยาบาลควรยอมรับไม่แสดงความดูถูกหรือหัวเราะเยาะ ควรให้ความเคารพในสิทธิวนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆโดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวลเต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
สมุดบันทึกการรับใหม่
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วย
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม
สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ สีหน้า แววตา
กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน สนใจ เข้าใจ เห็นใจ
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักคร
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
เพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็นรับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม
เข้ารับการตรวจรักษา รับเลือด ผ่าตัด
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำในการอาบน้ำแรกรับเข้ารักษา
ในโรงพยาบาลเปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วย
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
การตรวจร่างกายการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบ
การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
การรับแผนการรักษา
วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดแผนการรักษาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
อุปกรณ์ ประกอบด้วย แผ่นค าสั่งการรักษา ใบรับค าสั่งแผนการรักษา
ใบบันทึกการให้ยา ป้ายส าหรับติดขวดสารละลาย ปากกา
วิธีการรับแผนการรักษา
กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับคำสั่งแผนการรักษา
หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ให้เขียนป้ายสำหรับติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด
ปฏิบัติตามแผนการรักษา
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้ง
เจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม
ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล
การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
การจำหน่ายผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบเรียบร้อย
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา
แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจำตัวของผู้ป่วย
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี)
ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย
จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบายคล้ายผู้ป่วยนอนหลับ
ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพตรวจความเรียบร้อย
ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลง ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าให้
รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
ตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D
= Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
T
= Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
M
= Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
H
= Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
E
= Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
O
= Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง
ความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D
= Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ
โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตายข้อปฏิบัติจากญาติและให้ญาติได้มีส่วนร่วมด้วย
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด
ให้นำใบมรณะบัตรไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่
เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้อีกต่อไป
นำหลักฐานต่างๆมายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
ภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis
อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง
เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Livor mortis
เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ าๆ (Bluish purple)
ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตามแรงดึงดูดของโลก
Livor mortis
เกิดทุกรายภายหลังตายประมาณ 5 ชั่วโมงและเกิดเต็มที่หลังตายประมาณ 12 ชั่วโมง
และจะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าศพจะเน่า ประโยชน์ของLivor mortis คือ บอกเวลาตาย บอกสภาพเดิมของศพ และบอกสาเหตุการตาย
Rigor mortis
คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง
เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ