Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่11การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle…
บทที่11การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
การรักษาพยาบาล ซึ่งจำแนกการผู้ป่วยรับใหม่ได้ออกเป็น2 ประเภท
ผู้ป่วยใน(Inpatient)ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24ชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวม โรคหัวใจวาย ประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก โรคหอบ ได้รับสารพิษ ถูกไฟช็อต ถูกงูกัด เป็นต้น
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)หรือเป็นผู้ป่วยในตามปกติ เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า เช่น ผู้ป่วยที่นัดมาทำการผ่าตัด นัดมาเข้ารับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด ให้รังสีรักษา นัดมาผ่าตัดคลอด
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก ได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรง มีเลือดออกปริมาณมากหมดสติ
การรับโดยตรง (Direct admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก และรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูงเป็นเวลานาน มีอาการปวดอย่างทรมาน ท้องเสีย อาเจียนอย่างต่อเนื่อง มีอาการเกร็งหรือชักเป็นๆ หายๆ เป็นต้น
ผู้ป่วยนอก(Outpatient)ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัดแบบเป็นครั้งๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มหลังนี้เป็นประเภทนอนสังเกตอาการ จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24ชั่วโมง เมื่อมีอาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์เพื่อให้
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์เมื่อได้รับแจ้งจากแผนกผู้ป่วยนอกในการรับผู้ป่วยเข้ารักษาไว้ในโรงพยาบาล พยาบาลควรด าเนินการดังนี้
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย การที่เตรียมเตียงหรือห้องไม่พร้อมจะทำให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้สึกไม่อยากนอนพักรักษาในสถานที่นั้น
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล เอกสารหรือแบบบันทึกต่างๆ ประกอบด้วย
แบบตรวจสอบการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล
แบบบันทึกต่างๆ สำหรับจัดทำแฟ้มผู้ป่ว
แบบบันทึกคาร์เดกซ์
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
สมุดบันทึกการรับใหม่
เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วย
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย นำเหยือกน้ำ แก้วน้ำกระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน สนใจ เข้าใจ เห็นใจ ยอมรับในตัวผู้ป่วยและญาติ
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็นรับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถยืนได้ ไม่ต้องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนอกจากจะมีเครื่องชนิดนอนชั่ง
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักครู่
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำในเรื่องดังต่อไปนี้
ชี้แจงนโยบายของโรงพยาบาลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ป่วยในการเยี่ยมของญาติ การใช้โทรศัพท์ การงดสูบบุหรี่ในโรงพยาบาล เป็นต้น
แนะนำสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยเช่น เคาน์เตอร์พยาบาล ห้องอาบน้ำ ห้องน้ก สถานที่ทิ้งขยะ ถังเก็บผ้าเปื้อน ขอบเขตที่พักของผู้ป่วยเป็นต้น
สาธิตวิธีการใช้สิ่งต่างๆ เช่น การควบคุมเตียงโดยใช้อุปกรณ์ควบคุม การเปิด-ปิดไฟ การเปิด-ปิดโทรทัศน์ กริ่งหรือสัญญาณขอความช่วยเหลือ เป็นต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบโดยคร่าวๆ ของเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยเวลาในการให้การพยาบาล เวลาทำกิจกรรมต่างๆ
แจ้งให้ผู้ป่วยเกี่ยวกับของมีค่าให้ญาติเอากลับบ้าน เช่น เงิน เครดิตการ์ด เพชร ทอง เป็นต้น เพื่อป้องกันการสูญหาย
ผู้ป่วยสามารถเก็บของส่วนตัวที่ไม่ใช่ของมีค่าไว้ที่โต๊ะข้างเตียงซึ่งมีลิ้นชักใส่ของ สามารถใส่แว่นตา ฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง และตู้ด้านล่างโต๊ะข้างเตียงสามารถใส่เสื้อผ้า
แนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับโรค เช่น การห้ามลุกจากเตียง การรับประทานอาหารเฉพาะโรค เป็นต้น
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ให้ความช่วยเหลือหรือให้ค าแนะน าในการอาบน้ าแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่ว
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วยติดป้ายหน้าเตียงและป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วย
จ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart)ตรวจรับแผนการรักษา
การรับแผนการรักษา
วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดแผนการรักษาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
อุปกรณ์ ประกอบด้วย แผ่นคำสั่งการรักษา ใบรับคำสั่งแผนการรักษา ใบบันทึกการให้ยา ป้ายส าหรับติดขวดสารละลาย ปากกา
วิธีการรับแผนการรักษา
อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด หากสงสัยหรือเขียนไม่ชัดเจนให้ถามแพทย์ผู้กำหนดแผนการรักษา
กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับค าสั่งแผนการรักษา (แตกต่างกันไปแต่ละสถานพยาบาล) ใบบันทึกการให้ยา
หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำให้เขียนป้ายสำหรับติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
ปฏิบัติตามแผนการรักษา พร้อมทั้งทำเครื่องหมายหรือบันทึกชื่อผู้ทำในใบรับคำสั่งแผนการรักษา และ/หรือใบบันทึกการให้ยา
การส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
พยาบาลต้องมีความละเอียดรอบคอบและคำนึงถึงปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในแต่ละบุคคลเพื่อให้การช่วยเหลือส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล ได้แก่
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันรวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับผู้ป่วย
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรคและการรักษา
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วยพยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสมซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อและมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้หมายเลขเตียง และควรมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่จะต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งเมื่อจะให้การพยาบาล
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรมตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 5ประเภท ดังนี้
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นและต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจอยู่ในใบเซ็นไม่สมัครใจรับการรักษา
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึงอาการรุนแรง
การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
การจำหน่ายผู้ป่วยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบเรียบร้อย
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วยประกอบด้วย
รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
เสื้อผ้าผู้ป่วย
บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
ใบนัด
ใบสั่งยา
กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำ สำลี ก๊อซบัตรติดข้อมือศพด้วย
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วยการจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน และการจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรมมีขั้นตอนดังนี้
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน มีดังนี้
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย ซึ่งในแผนการรักษาของแพทย์ต้องมีการเขียนอย่างชัดเจนว่าจำหน่ายผู้ป่วยพร้อมลายเซ็นของแพทย์ จึงจะจำหน่ายผู้ป่วยได้
แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สังเกตสีหน้าท่าทีของผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนซักถามปัญหาของผู้ป่วย เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ป่วยตามความเหมาะสม
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา ในกรณีที่ต้นสังกัดของหน่วยงานหรือโรงพยาบาลเบิกยาก่อนกลับบ้านไว้และกำหนดให้ญาติไปซื้อและรับยาเอง
แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย เช่น การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การจัดสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตนและการรักษาอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจ าตัวของผู้ป่วยพร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องความสำคัญของการมาตรวจตามนัด รายละเอียดของการนัด การเตรียมตัวในการมาตรวจตามนัด เช่น การงดน้ำงดอาหาร การงดรับประทานยา
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรมมีดังนี้
ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ า ใส่เสื้อผ้าให้
จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบายคล้ายผู้ป่วยนอนหลับ หนุนศีรษะเพียงเล็กน้อย
ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้าสามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย ห่มผ้าคลุมหน้าอกเหมือนคนมีชีวิต และเก็บเครื่องใช้ให้เรียบร้อย
ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย และเคลื่อนย้ายโดยปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป
รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
บทบาทพยาบาลในการจำหน่วยผู้ป่วยโดยใช้หลัก D-METHOD
การวางแผนการจ าหน่ายผู้ป่วยแบ่งเป็นการวางแผนการจ าหน่ายผู้ป่วยตามกระบวนการพยาบาล และวางแผนการจ าหน่ายแบบ D-METHOD มีรายละเอียดดังนี้
D=Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M=Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จ านวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามส าหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา เช่น การทำแผล ให้อาหารทางสายยาง
H=Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O=Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนะนำแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
ข้อบ่งชี้ และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยถึงแก่กรรม
มีข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาหลายอย่าง ดังนี้
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C(1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตามแรงดึงดูดของโลก
Rigor mortisคือการแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ
หลักการพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณีและศาสนา
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ มีดังนี้
เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาลและขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเชื้อชาติ ศาสนาของผู้ตาย
ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทำลายได้ถูกต้อง
ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
ขั้นตอนการแต่งศพ
อธิบายให้ญาติผู้ป่วยเข้าใจเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลมีหน้าที่ดูแลท าความสะอาดร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้แก่ศพ
ล้างมือก่อนจัดเตรียมของใช้
เตรียมอุปกรณ์ เช่น ชุดทำความสะอาดร่างกายเสื้อผ้าชุดใหม่ชุดทำแผล ชุดของใช้แต่งศพ สำลี ก๊อซ ถุงมือ 1-2 คู่ป้ายผูกข้อมือเป็นต้น
จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อมกั้นม่าน/ฉากให้เรียบร้อยไขเตียงราบเอาของใช้ต่างๆบนเตียงเก็บให้เรียบร้อย
เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลทุกชนิดออกจากศพ ของบางอย่างที่ไม่ใช้นำออกไปแช่น้ำยา เตรียมล้างทำความสะอาด หรือส่งซักให้ถูกต้อง
สวมถุงมือ
ถ้ามีฟันปลอม ตาปลอมต้องรีบใส่เพราะหากใส่ช้านานเกินกว่า 2 ชั่วโมงขากรรไกร คอคางจะแข็งจะใส่ฟันปลอมยาก
ถ้ามีแผลต้องตกแต่งแผลให้เรียบร้อย
จัดศพให้นอนหงายดูคล้ายคนนอนหลับ
ปิดปากและตาทั้ง2 ข้างให้สนิท
ใช้สำลีหรือก๊อซอุดอวัยวะต่างๆ ที่มีน้ำคัดหลั่งหรือเลือดไหลออกมา
เช็ดตัวให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่
ผูกป้ายชื่อที่ข้อมือ
คลุมผ้าจากปลายเท้าถึงระดับไหล่ เก็บของใช้ต่างๆของผู้ป่วยส่งคืนให้
ถอดถุงมือ ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
ให้ศพอยู่ในหอผู้ป่วยประมาณ 2 ชั่วโมง จึงเคลื่อนย้ายศพไปห้องเก็บศพ
ควรคำนึงในการแต่งศพควรพิจารณาร่วมกับญาติผู้ป่วย เช็ดร่างกายให้สะอาด เปลี่ยนผ้าใหม่ตามประเพณีของญาติ