Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล, ข้อบ่งชี้และการเปลี่…
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน (Inpatient)
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent) หรือเป็น ผู้ป่วยในตามปกติ
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
การรับโดยตรง (Direct admission)
ผู้ป่วยนอก (Outpatient) ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก
ตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
บุคคลทราบว่าจะต้องมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลย่อมเกิดความวิตกกังวล
เพื่อให้การช่วยเหลือส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน รวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ แปลกใหม่สาหรับผู้ป่วย
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย
ประสบการณ์ในอดีตมีความสาคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จาเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วยการที่เตรียมเตียงหรือห้องไม่พร้อมจะทาให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้สึกไม่อยากนอนพักรักษาในสถานที่นั้น
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละ โรงพยาบาล เอกสารหรือแบบบันทึกต่างๆ
แบบตรวจสอบการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล (Admission checklist)
แบบบันทึกต่าง ๆ สาหรับจัดทาแฟ้มผู้ป่วย
แบบบันทึกคาร์เดกซ์ (Nursing kardex)
อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้าหนักและส่วนสูง
สมุดบันทึกการรับใหม่
เครื่องใช้ส่วนตัว
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
1) เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่
2) สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคา สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ
3) ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน ลายเซ็น รับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
4) ชั่งน้าหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
5) นาผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนาให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักครู่
6) วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ
7) อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย
8) ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม
9) เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
10) ให้ความช่วยเหลือหรือให้คาแนะนาในการอาบน้าแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล
11) เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
12) นาป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติ กับผู้ป่วย
13) แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจาหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลของผู้ป่วย
14) ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทาแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
การรับแผนการรักษา
เป็นกระบวนการถ่ายทอดแผนการรักษาจากแผ่นคำสั่งการรักษาไปสู่การปฏิบัติ แม้ว่าพยาบาลจะมิใช้ผู้ปฏิบัติทุกเรื่องในแผนการรักษา แต่พยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบ ในการรับแผนการรักษา ประสานงาน และติดตามการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนการรักษาอย่างครบถ้วน
1) วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดแผนการรักษาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
2) อุปกรณ์ประกอบด้วยแผ่นคำสั่งการรักษาใบรับคาสั่งแผนการรักษาใบบันทึกการ ให้ยา ป้ายสาหรับติดขวดสารละลาย ปากกา
3) วิธีการรับแผนการรักษา
(1) อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด
(2) กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับคำสั่งแผนการรักษา (แตกต่างกันไป แต่ละสถานพยาบาล) ใบบันทึกการให้ยา
(3) หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดาให้เขียนป้ายสาหรับ ติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
(4) ปฏิบัติตามแผนการรักษา พร้อมทั้งทาเครื่องหมายหรือบันทึกชื่อผู้ทาในใบรับ คาสั่งแผนการรักษา และ/ หรือใบบันทึกการให้ยา
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
1) การจาหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
2) การจาหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจ อยู่ในใบเซ็นไม่สมัครใจรับการรักษา
3) การจาหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ
4) การจาหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม
5) การจาหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพ อื่น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
2) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
5) เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
4) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่สงบเรียบร้อย
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย
1) รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
2) สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
3) เสื้อผ้าผู้ป่วย
4) บัตรประจาตัวของโรงพยาบาล
5) ใบนัด
6) ใบสั่งยา
7) กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำ สำลี ก๊อซ บัตรติดข้อมือศพด้วย
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
(1) ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
(2) แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ
(3) ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา
(4) แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
(5) ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจาตัวของผู้ป่วย
(6) นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
(7) เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
(8) ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
(9) เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
(1) ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ำใส่เสื้อผ้าให้
(2) จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบาย คล้ายผู้ป่วยนอนหลับ หนุนศีรษะเพียงเล็กน้อย
(3) ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้า สามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
(4) ผูกบัตรแข็งประจาตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่ง ผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย ห่มผ้าคลุมหน้าอกเหมือนคนมีชีวิต และเก็บเครื่องใช้ให้เรียบร้อย
(5) ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย และเคลื่อนย้ายโดยปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป
(6) รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuing care)
กระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยภายหลัง การจำหน่าย โดยความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล เริ่มจากการประเมินความ จำเป็นในการวางแผนจาหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการการดูแลที่ผู้ป่วยจะต้อง เผชิญเมื่อกลับบ้าน
การวางแผนการจาหน่ายผู้ป่วยแบ่งเป็นการวางแผนการจาหน่ายผู้ป่วยตามกระบวนการ พยาบาล และวางแผนการจาหน่ายแบบ D-METHOD
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัว ที่ถูกต้อง
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จานวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามสาหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสาคัญ ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
T = Treatment แนะนาผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจากัดในการทากิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง ความสาคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ แนะนาแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คาปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ
การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องคานึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตาย ข้อปฏิบัติจากญาติและให้ญาติได้มีส่วนร่วมด้วย
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
(1) เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
(2) ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาลและขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเชื้อชาติ ศาสนาของผู้ตาย
(3) ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทาลายได้ถูกต้อง
(4) ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
(5) เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การอาบน้าแต่งตัวศพ
หลังจากตายแล้ว ซึ่งพิธีอาบน้าศพเป็นการทำให้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะของผู้ตาย ซึ่งประเพณีไทยใช้วิธีการรดน้าศพเป็นการขอขมา
ศาสนาอิสลาม
ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน (ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนุ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต อนุญาตให้นำศพ ออกจากโรงพยาบาลได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา ไม่อนุญาตให้ผ่าศพหรือกระทำการ ใดๆ อันเกิดความเสียหายต่อศพ
คนจีน
ใช้น้ำผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณ ขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
1) นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สาเนาทะเบียนบ้านของ ผู้ตาย เป็นต้น มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
2) นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
3) นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
4) ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นาใบมรณะบัตรไป แจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
5) ผู้ตายไม่สามารถทานิติกรรมใด ๆ ได้อีกต่อไป
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis
อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง
เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Livor mortis
เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้าๆ (Bluish
purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย Livor mortis เกิดทุกรายภายหลังตายประมาณ 5 ชั่วโมง และเกิดเต็มที่หลังตายประมาณ 12 ชั่วโมง