Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่11การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle…
บทที่11การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน(Inpatient)
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
การรับโดยตรง (Direct admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)หรือเป็นผู้ป่วยในตามปกติ เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
ผู้ป่วยนอก(Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
หลักการพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณีและศาสนา
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ
การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย
วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ
เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาลและขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเชื้อชาติ ศาสนาของผู้ตาย
เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทำลายได้ถูกต้อง
ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
ขั้นตอนการแต่งศพ
เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลทุกชนิดออกจากศพ ของบางอย่างที่ไม่ใช้นำออกไปแช่น้ ายา เตรียมล้างทำความสะอาด หรือส่งซักให้ถูกต้อง
สวมถุงมือ
จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อมกั้นม่าน/ฉากให้เรียบร้อยไขเตียงราบเอาของใช้ต่างๆบนเตียงเก็บให้เรียบร้อย
ถ้ามีฟันปลอม ตาปลอมต้องรีบใส่เพราะหากใส่ช้านานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ขากรรไกร คอคางจะแข็งจะใส่ฟันปลอมยาก
เตรียมอุปกรณ์ เช่น ชุดทำความสะอาดร่างกายเสื้อผ้าชุดใหม่ชุดทำแผล ชุดของใช้แต่งศพ สำลี ก๊อซ ถุงมือ 1-2 คู่ป้ายผูกข้อมือ
ถ้ามีแผลต้องตกแต่งแผลให้เรียบร้อย
ล้างมือก่อนจัดเตรียมของใช้
จัดศพให้นอนหงายดูคล้ายคนนอนหลับ และควรจัดแขนขาให้เหยียดตรงโดยเร็วหากจัดแขนขานานกว่า2 ชั่วโมง กล้ามเนื้อบางส่วนจะเริ่มแข็ง
อธิบายให้ญาติผู้ป่วยเข้าใจเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลมีหน้าที่ดูแลทำความสะอาดร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้แก่ศพ หากญาติมีความประสงค์จะให้ศพแต่งกายหรือประดับตกแต่งศพอย่างไรสามารถแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลได้
ปิดปากและตาทั้ง2 ข้างให้สนิท
ใช้ส าลีหรือก๊อซอุดอวัยวะต่างๆ ที่มีน้ำคัดหลั่งหรือเลือดไหลออกมา เช่น ปาก จมูก หู ช่องคลอด ทวารหนัก (ปัจจุบันหลายสถาบันไม่นิยมก็ไม่ต้องใช้)
เช็ดตัวให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่
ผูกป้ายชื่อที่ข้อมือ
คลุมผ้าจากปลายเท้าถึงระดับไหล่ เก็บของใช้ต่างๆของผู้ป่วยส่งคืนให้แก่ญาติ
ถอดถุงมือ ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
ให้ศพอยู่ในหอผู้ป่วยประมาณ 2 ชั่วโมง จึงเคลื่อนย้ายศพไปห้องเก็บศพ พร้อมใบส่งศพ
ควรพิจารณาร่วมกับญาติผู้ป่วย เช็ดร่างกายให้สะอาด เปลี่ยนผ้าใหม่ตามประเพณีของญาติ หากต้องการแต่งหน้าอย่าแต่งหน้าให้เข้มเกินไป
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วยการปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณีภายหลังถึงแก่กรรม คือ การอาบน้ำแต่งตัวศพหลังจากตายแล้ว
ศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน(ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนุ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต อนุญาตให้นำศพออกจากโรงพยาบาลได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา
คนจีนใช้น้ำผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นำใบมรณะบัตรไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ได้อีกต่อไป
นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายเป็นต้น มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อท าการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล และแจ้งเหตุที่จำหน่าย เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
ผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึงอาการรุนแรง การช่วยเหลือของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และการลงความเห็นของแพทย์ว่าไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่
การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นและต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจ
การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลหรือบริการจากสถานบริการสุขภาพอื่นๆ การจ าหน่ายผู้ป่วยต้องจัดการให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานบริการสุขภาพที่เหมาะ
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะจำหน่ายได้
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย
บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
ใบนัด
เสื้อผ้าผู้ป่วย
ใบสั่งยา
สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำสำลี ก๊อซบัตรติดข้อมือศพด้วย
รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบเรียบร้อย
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วยการจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน และการจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สังเกตสีหน้าท่าทีของผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนซักถามปัญหาของผู้ป่วย
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา ในกรณีที่ต้นสังกัดของหน่วยงานหรือโรงพยาบาลเบิกยาก่อนกลับบ้านไว้และกำหนดให้ญาติไปซื้อและรับยาเอง
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
แนะน าผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย เช่น การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การจัดสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตนและการรักษา
ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจ าตัวของผู้ป่วยพร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องความส าคัญของการมาตรวจตามนัด รายละเอียดของการนัด การเตรียมตัวในการมาตรวจตามนัด
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้าสามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย ห่มผ้าคลุมหน้าอกเหมือนคนมีชีวิต และเก็บเครื่องใช้ให้เรียบร้อย
จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบายคล้ายผู้ป่วยนอนหลับ หนุนศีรษะเพียงเล็กน้อย
ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย และเคลื่อนย้ายโดยปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป
ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าให้ ถ้ามีแผลเปลี่ยนผ้าปิดแผลให้ใหม่ ถ้ามีของเหลวจากจมูก หู ใช้ส าลีอุดไว้
รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จ าเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
การเตรียมอุปกรณ์
เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
อุปกรณ์ที่จ าเป็นตามความเหมาะสมส าหรับผู้ป่วยแต่ละราย
เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วย กรณีไม่มีให้อาจแจ้งให้ผู้ป่วยหรือญาติเตรียมมาให้พร้อม
สมุดบันทึกการรับใหม่
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำ
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน โดยใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับโรคที่เป็น และการรักษาที่จะได้รับ
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง และให้นอนพักสักครู่
ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำในการอาบน้ำแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาลและสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่วย
ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถยืนได้ ไม่ต้องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็นรับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วยติดป้ายหน้าเตียงและป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วย
สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน สนใจ เข้าใจ เห็นใจ ยอมรับในตัวผู้ป่วยและญาติ
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดท าแฟ้มประวัติ (Chart)ตรวจรับแผนการรักษา
ข้อบ่งชี้ และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ าๆ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C(1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Rigor mortisคือการแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ
การส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
อธิบายและแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
ช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรคและการรักษา
พยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล จะทำให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วย
พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสม การเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อและมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้หมายเลขเตียง และควรมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่
พยาบาลควรยอมรับไม่แสดงความดูถูกหรือหัวเราะเยาะควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย ในความเชื่อของผู้ป่วย
สังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลงเมื่ออาการหรือปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน
บทบาทพยาบาลในการจำหน่วยผู้ป่วยโดยใช้หลัก D-METHOD
การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยแบ่งเป็นการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยตามกระบวนการพยาบาล และวางแผนการจำหน่ายแบบ D-METHOD
M=Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลเห็นความส าคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
D=Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
T = Treatment แนะน าผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะน าให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H=Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจ ากัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ รวมทั้งปรับตัวเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
O=Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานบริการใกล้บ้านประสานงานกับศูนย์ Home health care (HHC)เพื่อติดตามการดูแลต่อเนื่อง
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนะน าแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้ค าปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร