Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pneumonia with Congestive Heart Failure โรคปอดบวมกับภาวะหัวใจล้มเหลว -…
Pneumonia with Congestive Heart Failure
โรคปอดบวมกับภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการสำคัญ:
เหนื่อย นอนราบไม่ได้ 3ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
3ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการหายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น มีอาการเหนื่อยหอบในท่านอนราบ จึงไปโรงพยาบาล
1วันก่อนมา เหนื่อย นอนราบไม่ได้ จึงไปโรงพยาบาล
ผู้ป่วยเพศ: ชาย อายุ: 77 ปี
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ความดันโลหิตสูง hypertension (HT), 10ปี
โรคเบาหวาน Diabetes Mellitus (DM) 20ปี รักษาที่โรงพยาบาลบางบัวทอง มาพบแพทย์ตามนัดเสมอ ไม่เคยขาดยา
โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
โรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นนั้นอาจแบ่งได้เป็น
Community – acquired pneumonia หมายถึง ผู้ป่วยที่แข็งแรงดีมาก่อน และเกิดเป็นปอด อักเสบจากการติดเชื้อนอกโรงพยาบาล
ผู้ป่วยเกิดเป็นปอดอักเสบจากการติดเชื้อนอกโรงพยาบาล เนื่องจากแรกรับ ผล Chest x-rayพบ infiltration both lung คือ พบฝ้าขาวที่ปอดทั้งสองข้าง
Nosocomail pneumonia หรือ Hospital – acquired pneumonia หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับ การรักษาอยู่ในโรงพยาบาลด้วยโรคใดใดก็ตาม แล้วเกิดเป็นปอดอักเสบขึ้นมาจากการติดเชื้อภายใน โรงพยาบาล
สาเหตุของโรคปอดอักเสบ
เกิดจากมีเชื้อโรคหรือสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอดที่สำคัญได้แก่
1.เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคนี้ที่พบบ่อยและรักษาได้ง่าย ได้แก่ Pneumococcus ที่พบน้อยแต่ร้ายแรงได้แก่ เชื้อ Staphylococcus Streptococcus Klebsiella
2.เชื้อไวรัสเช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส
3.เชื้อไมโคพลาสมาซึ่งทำ ให้เกิดปอดอักเสบชนิดที่เรียกวา่ Atypical Pneumonia เพราะมักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน
4.เชื้อราพบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง
5.เชื้อโปรโตซัว เช่น Pneumosystis carini ที่พบในผู้ป่วยโรคเอดส์
6.สารเคมีที่พบบ่อยได้แก่ น้ำมันก๊าด ซึ่งผู้ป่วยสำลักเข้าไปในปอด
ผลการเพาะเชื้อ
Sputum culture = Acinetobacter baumannii (11/8/63)
อาการและอาการแสดง
ไข้ตลอดเวลา
หนาวสั่นช่วงแรก ๆ
ไอแห้ง ๆ ระยะแรก ต่อมาจะมีเสมหะขาวหรือขุ่น ข้นออกเป็นสีเหลือง สีเขียว บางรายอาจมีสีสนิม เหล็กหรือเลือดปน
เจ็บหน้าอก แบบเจ็บแปลบเวลาหายใจเข้าหรือ เวลาไอแรง ๆ หรือปวดร้าวไปที่หัวไหล่สีข้าง หรือ ท้อง
หอบเหนื่อย
หายใจเร็ว
ซี่โครงบุ๋ม
รูจมูกบาน
ตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
ซึม
สับสน
ภาวะขาดน้ำ
ฟังปอดมักมีเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) ซึ่ง มักจะได้ยินตรงบริเวณใต้สะบัก (ปอดส่วนล่าง) ข้าง หนึ่งหรือ 2 ข้าง บางรายอาจได้ยินเสียงอี๊ด (rhonchi) หรือมีเสียงวี้ด (Wheezing) เฉพาะ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
เคาะปอดได้เสียงทึบ
กรณีศึกษา
ไอมีเสมหะสีเหลืองข้น
มีไข้ 37.6 องศาเซลเซียส
หายใจเร็วมากกว่า 24ครั้ง/นาที
หอบเหนื่อย
ซึม
เสียงปอดได้ยินเสียงเป็น Creptition ทั้ง 2 ข้าง
มีอาการขาดออกซิเจน เช่น หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลงน้อยกว่า 95%
Chest X-ray พบฝ้าขาวในปอด (Infiltrate)
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure; CHF)
เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ เพียงพอกับความต้องการในการเผาผลาญ หรือเป็น ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดให้เพียงพอกับความต้องการใช้ออกซิเจน เป็นภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมีการคั่งของน้ำในร่างกาย ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การมีความดันในปอดสูง ของเหลวคั่งในปอดและร่างกาย
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 77ปี มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง มา 10 ปี รักษาที่โรงพยาบาลบางบัวทอง ไปพบแพทย์ต่อเนื่อง ไม่เคยขาดยา
ผู้ป่วยมารพ.ด้วยอาการหายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ จากการวินิจฉัยของแพทย์แล้วตรง กับภาวะหัวใจล้มเหลว จึงนำมาเปรียบเทียบกับพยาธิสภาพของโรค
หัวใจข้างซ้ายล้มเหลว (Left-sided heart failure)
เกิดจากกล้ามเนื้อห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง จะทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง จะส่งผลให้เลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น ความดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้ายจึงสูงขึ้น ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยลง ปริมาตรเลือดและความดันเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ เลือดจากปอดที่ฟอกแล้วก็จะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายได้น้อยลง เป็นผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด หอบเหนื่อย ไอและเขียว
กรณีศึกษามีภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว
(Left-sided heart failure) เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย และไอ
สาเหตุ
หัวใจล้มเหลวอาจมีสาเหตุมาจากหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของ กล้ามเนื้อหัวใจ เช่น myocarditis ความผิดปกติ ของลิ้นหัวใจตีบ รั่ว หรือภาวะหัวใจทำงานหนักขึ้น ในกรณีที่มีปริมาตรของเหลวในระบบไหลเวียน เพิ่มขึ้น เป็นต้น
จากการเปรียบเทียบอาการและอาการแสดง รวมถึงผลตรวจทางห้องปฏิบัติการสันนิษฐานได้ว่า ผู้ป่วยอาจเกิดจากสาเหตุของ ความดันโลหิตสูง และ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือภาวะหัวใจ ทำงานหนักขึ้นมีปริมาตรของเหลวในระบบไหลเวียน เลือดเพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดง
หอบเหนื่อย
ไอ มีเสมหะเป็นฟองสีแดง
หายใจลำบากตอนกลางคืน
เหนื่อยมากขึ้นนอนราบไม่ได้
อ่อนเพลีย
ปัสสาวะออกน้อย หรือปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
เท้าบวม กดมีรอยบุ๋ม และท้องบวม ไม่บวมที่หน้าหรือหนังตา
ตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
กระสับกระส่าย
ใจสั่น
หลอดเลือดที่คอโป่ง
ชีพจรเต้นเร็ว อาจเต้นไม่สม่ำเสมอ
ฟังปอดได้ยินเสียง Crepitation ทั้ง 2 ข้าง ฟังชัดที่บริเวณใต้สะบัก บางรายได้ยินเสียง Wheezingร่วมด้วย
กรณีศึกษา
หอบเหนื่อย ไอ
ชีพจรเต้นเร็ว 130 ครั้ง/นาที
ปัสสาวะออกน้อย
อ่อนเพลีย
นอนราบไม่ได้
ความดันโลหิตสูง
ตรวจ Chest X- ray พบหัวใจโต
EKG ตรวจพบเป็น Sinus rythm มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว สม่ำเสมอ
ปอดได้ยินเสียง Crepitation ทั้ง 2 ข้าง
สรุปข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่1 ประสิทธิภาพในการหายใจลดลง เนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่2 มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากมีภูมิต้านทานลดลง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่3 ภาวะของเสียคั่งในร่างกายเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่4 ญาติอยู่ในภาวะเครียดและวิตกกังวล เนื่องจากอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย