Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอิรัก - Coggle…
การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอิรัก
ข้อมูลทั่วไป
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและที่ราบกว้างใหญ่ตลอดแนวพรมแดนที่ติดกับอิหร่าน พื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศเป็นที่ราบลุ่มหนอง บึง มีเทือกเขากั้นพรมแดนกับอิหร่านและตุรกี แม่น้ำสายหลัก 2 สายไหลผ่านกลางประเทศ คือ แม่น้ำไทกริส ความยาว 1,840 กม. และแม่น้ำยูเฟรติส ความยาว 2,780 กม. เป็นแหล่งพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอิรัก กระแสน้ำจะไหลเชี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ ทำให้เกิดอุทกภัยในที่ราบลุ่ม
ภูมิอากาศ
ฤดูร้อน ช่วง เม.ย.-ต.ค. อากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย เฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทางตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกของประเทศ โดย ส.ค.เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด อุณหภูมิอาจสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส ฤดูหนาว ช่วง พ.ย.-ก.พ. เฉพาะอย่างยิ่งช่วง ม.ค. บริเวณเทือกเขาทางเหนือของประเทศ มีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิ 3-10 องศาเซลเซียส (เคยมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง) และมีหิมะตกหนักเป็นครั้งคราว ซึ่งหิมะเหล่านี้จะละลายในฤดูใบไม้ผลิ บางครั้งทำให้เกิดอุทกภัยต่อเนื่องถึงบริเวณตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ ขณะที่ ช่วง ธ.ค. เป็นช่วงที่มีฝนตกชุก ภัยธรรมชาติอื่น ๆ ได้แก่ พายุฝุ่นและพายุทราย
เชื้อชาติ
สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอิรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย
สัญชาติ
อิรัก (Iraqi (s))
ศาสนา
ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96% แบ่งเป็นนิกาย ชีอะห์ 31.5% กับ ซุนนีย์ 64.5% ลัทธิเหตุผล กับ Yazdânism 2.0% ศาสนาคริสต์ 1.2% ศาสนาอื่นๆ 0.8%
เศรษฐกิจ
รัฐบาลอิรักมีนโยบายปฏิรูปเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรีมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีฮุเซน แต่ภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐ อีกทั้งต้องพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก โดยเป็นแหล่งที่มาของรายได้ภาครัฐถึง 95% ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศกว่า 80% ด้วยเหตุนี้รัฐบาลอิรักจึงมีนโยบายกำหนดเป้าหมายการเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกในอนาคต และเริ่มให้บริษัทน้ำมันต่างชาติเข้าร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาและผลิตน้ำมันในประเทศ
โครงสร้างหรือรูปแบบการให้คําแนะนําผู้ป่วยเบาหวาน
1.การให้คําแนะนําเกี่ยวกับอาหารและการวางแผนมื้ออาหาร
ในระหว่างเดือนรอมฎอนผู้ป่วย ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล ควรรับประทานอาหารที่ปลดปล่อยพลังงานค่อนข้างช้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ถั่ว เป็นต้น รวมทั้งควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืช ผักผลไม้ต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง เนื่องจากการย่อยและการดูดซึมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เชิงซ้อนจะค่อนข้างช้า ดังนั้น อาหารเย็นควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย นอกจากนี้ยังแนะนําให้มี การดื่มน้ำมากๆ ในช่วงเวลาที่ไม่ได้อดอาหาร และแนะนําว่าอาหารเช้ามืดควรรับประทานในเวลาที่ใกล้เคียงกับ เวลาที่จะเริ่มถือศีลอดในแต่ละวัน
2.การออกกําลังกาย
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถออกกําลังกายเบา ๆ จนถึงระดับปานกลาง ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่จริงจังหรือรุนแรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำได้ ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรมประจําวันตามปกติ นอกจากนี้การละหมาดในยาม ค่ำคืน (Tanawaih prayer) ในเดือนรอมฎอนก็เป็นการปฏิบัติกิจกรรมทางกายอย่างหนึ่ง
3.การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนที่ถือศีลอดควรมีการเตรียมการ เกี่ยวกับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือ รู้สึกไม่สบาย เช่น มีไข้ ผู้ป่วยควรมีการตรวจ
4.การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะแทรกซ้อน
หากผู้ป่วยมีอาการเตือน (warming Symptoms) ของภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวการณ์ขาดน้ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควรแนะนําให้ ผู้ป่วยยุติการถือศีลอด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานระหว่างเดือนรอมฎอน
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อาจพิจารณาตามชนิดของโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น และชนิดของยาที่ผู้ป่วยใช้ ได้แก่
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาล ได้ไม่ดีจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้หลาย ๆ ครั้งในแต่ละวัน อาจจะไม่สามารถถือศีลอดได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งต้องใช้อินซูลิน ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อผู้ป่วยถือศีลอดต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดําเนินชีวิตและเวลาในการ รับประทานอาหาร ดังนั้น ผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
ผู้ป่วยสามารถถือ ศีลอดได้โดยมีปัจจัยเสี่ยงค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยไม่มีการควบคุมปริมาณอาหารในเวลาเช้ามืดและ เวลาเย็น ก็อาจทําให้เกิดภาวะน้ำตาลสูงหลังอาหารได้ การกระจายพลังงานโดยการแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 2-3 มื้อในช่วงที่ไม่ได้ถือศีลอด ก็จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ ผู้ป่วยที่มีการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวมักจะ ปฏิบัติร่วมกับการออกกําลังกาย ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงโปรแกรมการออก
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยารับประทาน
เนื่องจากในขณะที่มีการถือ ศีลอดผู้ป่วยจะไม่สามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ รวมทั้งการรับประทานยา ดังนั้นเภสัชกรควรให้คําแนะนํา ในการใช้ยาแก่ผู้ป่วย โดยพิจารณาจากยาที่ผู้ป่วยใช้และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานหลังเดือนรอมฎอน
หลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอน ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ค่า HbAlc น้ำหนักตัว ความดันโลหิต รวมทั้งระดับไขมันในเลือด หรือค่า ทางชีวเคมีอื่นๆ ตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย และประการสําคัญแพทย์จะต้องมีการพิจารณาปรับเปลี่ยน ขนาดและวิธีการใช้ยาของผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยอาจจะพิจารณาจากผลการตรวจร่างกายหลังจาก สิ้นสุดการถือศีลอด
แนวทางในการนำทฤษฎีsunrise model ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
1.การประเมิน ข้อมูลจากการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผน
ข้อมูลทั่วไป: นับถือศาสนาอิสลาม
ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย: เป็นโรคเบาหวานและรักษาตนเองด้วยการกินอินทผาลัมและน้ำในช่วงฝนช่วงถือศีลอด
การรับรู้และการดูแลสุขภาพ: เป็นโรคเบาหวานต้องรับประทานยาสม่ำเสมอแต่ในช่วงเดือนรอมฎอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงการรับประทานยาให้เหลือวันละ 2 ครั้ง
อาหารและการเผาผลาญสารอาหาร: ปกติรับประทานอาหารอิสลามวันละ 3 มื้อแต่ในช่วงเวลาของเดือนรอมฎอนจะรับประทานวันละ 2มื้อ โดยในระหว่างที่มีการอดอาหารเป็นเวลานานผู้ป่วยบางคนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมมีการบริโภคอาหารเย็นมากขึ้นและเป็นอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง
คุณค่าและความเชื่อ: เชื่อในพระอัลเลาะห์ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอย่างเคร่งครัด ละหมาดวันละ 5 ครั้ง
2.การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากแบบแผนการดำเนินชีวิตตามความเชื่อของตนเองโดยไม่สอดคล้องกับแผนการรักษา
2.มีโอกาสได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารเย็นที่มากขึ้นและรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะคีโตซิส (Diabetic Ketoacidosis) ละภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
3.การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาล
2.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและไม่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงมาก เช่น ข้าวกล้อง ถั่วลันเตา สาลี่ แอปเปิล
3.ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยในเดือนรอมฎอนเพื่อปรับเวลาในการให้ยาและขนาดยาให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยสามารถนำอาหารมารับประทานเองได้และสามารถรับประทานอาหารตามเวลาของผู้ป่วยได้
4.ติดตามประเมินน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยหลังปรับการให้ยาตามแผนการรักษา
5.จัดห้องให้ผู้ป่วยสำหรับการละหมาดโดยใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดและแจ้งพยาบาลทราบเวลาที่ผู้ป่วยจะใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อ
6.แนะนำในเรื่องของการออกกำลังกายควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาทีโดยจะออกกำลังกายแบบเบาๆจนถึงปานกลางหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่จริงจังและรุนแรง
7.ควรให้การสนับสนุนผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรมประจำวันตามปกติ เช่น การละหมาดให้ตรงเวลา
4.การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถบอกเกี่ยวกับอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตได้และบอกให้ผู้ป่วยเปลี่ยนการรับประทานอาหารเช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นนข้าวกล้อง เปลี่ยนจากแอปเปิลแดงเป็นแอปเปิลเขียวแทน