Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล, นายศราวุฒิ…
บทที่ 11
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
11.1 ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
11.1.1 ผู้ป่วยใน (Inpatient)
1) วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)
2) การรับแบบฉุกเฉิน ( Emergency admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
3) การรับโดยตรง (Direct admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน
11.1.2 ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก
11.2 หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
11.2.1 ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
11.2.2 ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
11.2.3 ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย พยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
11.2.4 การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสม
11.2.5 ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง
11.2.6 การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
11.3 วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม
11.3.1 วัตถุประสงค์
1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
2) ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
3) ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
4) ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
6) ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
11.3.2 การเตรียมอุปกรณ์
1) เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
2) เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
11.3.3 ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
1) เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่
2) สร้างสัมพันธภาพ
3) ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย
4) ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
5) นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง
6) วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
7) อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย
11.3.4 การรับแผนการรักษา
1) วัตถุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดแผนการรักษาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
2) อุปกรณ์
ประกอบด้วย แผ่นคำสั่งการรักษา
ใบรับค าสั่งแผนการรักษา ใบบันทึกการ
ให้ยา ป้ายสำหรับติดขวดสารละลาย ปากกา
3) วิธีการรับแผนการรักษา
(1) อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด
(2) กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับคำสั่งแผนการรักษา
(3) หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำให้เขียนป้ายสำหรับติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
(4) ปฏิบัติตามแผนการรักษา พร้อมทั้งทำเครื่องหมาย
11.4 สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
11.4.1 ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
1) การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
2.พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
3) การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ
4) การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม
5) การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
11.5 บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D = Diagnosis
ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M = Medication
ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
E = Environment & Economic
กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ
ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม
T = Treatment
แนะน าผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำ
ให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health
ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ
O = Outpatient referra
ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
D = Diet
ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
11.6 ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
11.6.1 Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F)
11.6.2 Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ าๆ (Bluish
purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย
11.6.3 Rigor mortis คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง
11.7 การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
11.7.1 การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
คือ
การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ
การแต่งศพจะต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตาย
ข้อปฏิบัติจากญาติและให้ญาติได้มีส่วนร่วมด้วย
11.7.2 การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
คือ
การอาบน้ำแต่งตัวศพ
หลังจากตายแล้ว ซึ่งพิธีอาบน้ำศพเป็นการทำให้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะของผู้ตาย
ซึ่งประเพณีไทยใช้วิธีการรดน้ำศพเป็นการขอขมา
11.7.3 หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
ในการติดต่อรับศพ ญาติจะต้องดำเนินการ
1) นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านของ
2) นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่
3) น าใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
4) ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้น าใบมรณะบัตรไป
5) ผู้ตายไม่สามารถท านิติกรรมใด ๆ ได้อีกต่อไป
นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255 เลขที่ 11 Sec.B วิชา Sn 213