Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักพระพุทธเกับหลักวิทยาศาสตร์, image, image, image, image - Coggle Diagram
หลักพระพุทธเกับหลักวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการของวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนที่สอดคล้อง และส่วนที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ความสอดคล้องกันของหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
ในด้านความรู้ (Wisdom) ทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักการของพระพุทธศาสนา ยอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิด เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์ไม่เชื่อหรือยึดถืออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อย ๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง วิทยาศาสตร์แสวงหาความจริงสากล (Truth) ได้จากฐานที่เป็นความจริงเฉพาะองค์ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ได้จากประสบการณ์ ความรู้ใดที่อยู่นอกขอบเขตของประสบการณ์ไม่ถือว่าเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์พระพุทธเจ้าก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย และที่สำคัญที่สุดคือความทุกข์
ในด้านความเชื่อ (Confidence) หลักการวิทยาศาสตร์ ถือหลักว่า จะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอย ๆ และต้องมีหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อการทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลเป็นตัวตัดสินความจริง วิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่า สรรพสิ่งในจักรวาลล้วนดำเนินไปอย่างมีเหตุผล มีความเป็นระเบียบและมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
มุ่งเข้าใจปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหลักการทางวิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผลที่ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่า ต้องรู้อะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่า และผลที่ตามมาหลังจากฟ้าผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร หลักการพระพุทธศาสนาก็มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่ต่างตรงที่ พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือ สอนให้คนเป็นคนดีขึ้น พัฒนาขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติ หลักการทางวิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติ หรือเอาชนะธรรมชาติ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอกมุ่งแก้ปัญหาภายนอกวิทยาศาสตร์ถือว่าการพิสูจน์ทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่นำมาแสดงให้สาธารณชนประจักษ์ชัดเป็นหลักฐานยืนยันในสิ่งที่ค้นพบนั้นได้ จึงจะเป็นการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์
หลักการพระพุทธศาสนาเป็นการทดสอบความรู้สึกทุกข์ หรือไม่เป็นทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดในจิตใจเฉพาะตน ไม่สามารถตีแผ่ให้สาธารณชนประจักษ์ด้วยสายตา แต่พิสูจน์ทดลองได้ด้วยความรู้สึกในจิตใจ และหลักการพระพุทธศาสนาไม่ได้เน้นในเรื่องให้สาธารณชนยอมรับหรือไม่ยอมรับ มุ่งให้ศึกษาเข้าไปในจิตใจตนเอง แต่มุ่งแสวงหาความจริงจากทั้งภายนอกและภายในตัวมนุษย์อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ทางด้านจิตวิญญาณอันเป็นผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและต่อคุณภาพชีวิต สอนให้คนควบคุมภายในจิตใจตัวเอง ลำพังแต่ความสามารถที่ควบคุมธรรมชาติได้ ไม่อาจทำให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมตนเอง ให้มีจิตใจดีงามด้วย สันติสุขที่แท้จริงจึงจะเกิดขึ้นได้ และสอนมนุษย์ดำรงชีวิตให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ยอมรับโลกแห่งสสาร (Matter) สสาร หมายถึง ธรรมชาติและสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่จริง รวมทั้งปรากฏการณ์และความเป็นจริงตามภาวะวิสัย (ObjectiveReality) ด้วย ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้มีอยู่ต่างหากจากตัวเรา เป็นอิสระจากตัวเรา และเป็นสิ่งที่สะท้อนขึ้นในจิตสำนึกของคนเราเมื่อได้สัมผัสมัน อันทำให้ได้รับรู้ถึงความมีอยู่ของสิ่งนั้น ๆ กล่าวโดยทั่วไปแล้วสสารมีคุณลักษณะ 3 ประการคือ
1) เคลื่อนไหว (Moving) อยู่เสมอ
2) เปลี่ยนแปลง (Changing) อยู่เสมอ
3) การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของหลักการพระพุทธศาสนากับหลักการทางวิทยาศาสตร์
มุ่งความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์นั้นแสวงหาความรู้จากธรรมชาติและจากกฎธรรมชาติที่มีอยู่ภายนอกตัวมนุษย์ (มุ่งเน้นทางวัตถุหรือสสาร) ไม่ได้สนใจเรื่องศีลธรรม เรื่องความดีความชั่ว สนใจเพียงค้นคว้าเอาความจริงมาตีแผ่ให้ประจักษ์เพียงด้านเดียว เช่น วิทยาศาสตร์พบเรื่องการระเบิด แต่ควรระเบิดอะไร ไม่ควรระเบิดอะไร ไม่อยู่ในขอบข่ายของวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณอนันต์และมีโทษมหันต์ กระบวนการผลิตทางวิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คำสอนทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุข เป็นลำดับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงความสงบสุข อันสูงสุดคือนิพพาน ฉะนั้นกระบวนการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาจึงส่งเสริมให้มนุษย์อนุรักษ์ธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำสอน
คำสอนทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุข เป็นลำดับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงความ
สงบสุข อันสูงสุดคือนิพพาน ฉะนั้นกระบวนการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาจึงส่งเสริมให้มนุษย์อนุรักษ์ธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในหลักกาลามสูตรนี้ พระพุทธเจ้ายังตรัสต่อไปว่า จะต้องรู้เข้าใจด้วยว่า สิ่งเหล่านี้เป็นกุศล หรืออกุศล ถ้ารู้ว่าเป็นอกุศล มีโทษ ไม่เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดทุกข์ พึงละเสีย ถ้ารู้ว่าเป็นกุศล มีคุณ เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุข ก็ให้ถือปฏิบัติ นั่นคือศรัทธาหรือความเชื่อที่ก่อให้เกิดปัญญา
หลักการพระพุทธศาสนาและหลักการทางวิทยาศาสตร์มีส่วนที่ต่างกันในเรื่องนี้คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดทางจิตใจ หลักการทางพระพุทธศาสนามีส่วนคล้ายคลึงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในหลายประการ เช่น ในขณะที่มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งมุ่งแสวงหาความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) และมีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมุ่งแสวงหาความรู้ที่จะนำมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)