Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร
ส่วนประกอบของพืชสมุนไพร
หลักการทั่วไปในการเก็บสมุนไพร
รูปแบบของยาสมุนไพร
เวลาใช้ยา
ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร
อาการแพ้ที่อาจพบได้จากการใช้สมุนไพร
ประสาทรับความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่น แตะเพียงผิวหนัง ก็รู้สึกเจ็บ
ใจสั่น ใจเต้น รู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลือง เขย่าเกิดฟองสีเหลือง เป็นอาการร้ายแรง ต้องรีบพบแพทย์
ผื่นขึ้นตามผิวหนัง อาจะเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโตๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบน อาจบวมที่ตาหรือริมฝีปาก
อย่าใช้ยาเข้มเกินไป เพราะจะทำให้เกิดพิษได้
ขนาดที่ระบุไว้ในตำหรับยา มักเป็นขนาดของผู้ใหญ่ หากใช้ในเด็กต้องลดขนาดยาลง
ควรใช้ยาตามหลักการรักษาของแพทย์แผนโบราณอย่างเคร่งครัด
ระวังเรื่องความสะอาดของสมุนไพร ให้สังเกตเชื้อรา หรือแมลงชอนไช หากมีไม่ควรใช้ หรือยาเก่ามาก ทำให้ใช้ยาไม่ได้ผล และอาจได้รับพิษ
ขณะใช้ยา ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจะเกิดขึ้น หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรนานเกินความจำเป็น หากใช้ยา 3-5 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
กรณีที่อาการของโรครุนแรง อาจให้ยาวันละ 3 เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น
ถ้าอาการหนัก อาจเพิ่มยาก่อนนอนอีก 1 ครั้ง
ยาสมุนไพรส่วนใหญ่ นิยมรับประทานวันละ 2 เวลา ก่อนอาหาร เช้า- เย็น
ถ้าอาการหนักมาก อาจให้ยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าอาการจะดีขึ้น
ยาที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร ควรรับประทานหลังอาหาร
ยาต้ม
การเตรียม : ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ 1 กำมือ นำมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลมยาวขนาด 1 ฝ่ามือ ขนาดกว้างใช้มือกำรอบพอดี หากเป็นสมุนไพรแข้ง ให้หั่นเป็นท่อนยาว 5-6 นิ้วฟุต กว้าง 1/2 นิ้วฟุต นำมามัดรวมกันให้ได้ขนาด 1 กำมือ
การต้ม : เทนำให้ท่วมยาเล็กน้อย ประมาณ 3-4 แก้ว (1 แก้ว 250 มิลลิลิต) ยา 1 หยิบมือ ใช้น้ำ 1 แก้ว (โดยประมาณ) ต้มเดือดนาน 10-30 นาที
ยาชง
การเตรียม : ใช้สมุนไพรแห้ง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง หากเหม็นเขียวให้เอาไปคั่วก่อน
การชง : ใช้สมุนไพร 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน ปืดฝาตั้งทิ้งไว้ 15-20 นาที
สมุนไพรสดๆ
สมุนไพรบางชนิด นิยมใช้ในรูปแบบสมุนไพรสดจะให้ผลดี เช่น ว่านหางจระเข้ แต่ควรระวังเรื่องของความสะอาด
ยาตำคั้นเอาน้ำกิน
การเตรียม : นำสมุนไพรสดมาตำละเอียดจนเหลว คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำมารับประทาน
ยาพอก
การเตรียม : นำสมุนไพรสดมาตำให้แหลกที่สุด ให้พอเปียกแต่ไม่เหลว หากยาแก้งให้เติมน้ำหรือเหล้า เมื่อพอกยาแล้วต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ เปลี่ยนยาวันละ 3 ครั้ง
ยาปั้นลูกกลอน
การเตรียม : หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบาง ๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่ ใช้ยา 2 ส่วนต่อน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน ตั้งทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง
เพื่อให้ยาปั้นง่ายไม่ติดมือ ปั้นยาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ผึ่งแดดจนแห้ง อีก 2 สัปดาห์ให้นำออกมาผึ่งแดดซ้ำ ป้องกันเชื้อรา
ยาดอง
การเตรียม : ใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แตกพอหยาบ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวมๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน
ประเภทเปลือกต้นและเปลือกราก
เปลือกต้น เก็บระหว่างช่วงฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน มีปริมาณยาในพืชสูง และลอกง่าย ควรลอกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย ไม่ควรลอกทั้งต้น
เปลือกราก ควรเก็บในช่วงต้นฤดูฝน จะเหมาะที่สุด
ประเภทดอก
ควรเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน อย่าเก็บในช่วงดอกตูม
ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น
ควรเก็บในช่วงที่พืชมีการเจริญเติบโตมากที่สุด คือ ช่วงที่ดอกตูม เริ่มบาน โดยใช้วิธีการเก็บ แบบเด็ด
ประเภทผลและเมล็ด
พืชบางชนิดอาจเก็บในช่วงผลยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง เก็บผลอ่อนใช้แก้ท้องร่วง
ประเภทรากหรือหัว
เก็บในช่วงที่พืชหยุดเจริญเติบโต ใบ ดอกร่วงหมด ในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะราก หัว มีการสะสมปริมาณยาไว้ค่อนข้างสูง
เก็บอย่างระมัดระวัง
ใบ
สังเกตรูปร่างของใบ ปลาย ริม เส้น และเนื้อของใบ อย่างละเอียดก่อนนำมาใช้ทำยา
ดอก
รูปร่างลักษณะของกลีบดอกแต่งต่างกันหลายชนิด ควรสังเกตรายละเอียดให้ชัดเจน ให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ทำยา
ลำต้น
สังเกตลักษณะของลำต้น ตา ข้อ และปล้อง ก่อนนำมาใช้ทำยา
ผล
สังเกตผลทั้งภายในและภายนอก ลักษณะของผล รูปร่างของผล ก่อนนำมาใช้ทำยา
ราก
มีหน้าที่สะสมและดูดซึมอาหารมาเลี้ยงต้นพืช มีทั้งรากแท้และรากฝอย รากสดและรากแห้ง ต้องสังเกตอย่างละเอียดก่อนนำมาใช้ทำยา
อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษา
คำแนะนำและการป้องกันอันตรายจากการใช้ยาสมุนไพร
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อยาสมุนไพร
สมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน
การคัดเลือกสมุนไพรเพื่อใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการโรคกระเพาะอาหาร
กระเจี๊ยบมอญ : ใช้ผลอ่อนแห้ง ชงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง
กล้วยน้ำว้า : ใช้ผงกล้วยดิบ 1-2 ช้อนโต๊ะ ชงในน้ำร้อนดื่ม หรือ ใช้ผลกล้วยดิบปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานวันละ 4 ครั้ง
ครั้งละ 4 เม็ด ก่อนอาหารและก่อนนอน
ขมิ้นชัน : ใช้ผงขมิ้นปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร
ด้านการแพทย์และสาธารณะสุข : มุ่งให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพระดับพื้นฐานของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ประหยัด และสามารถผลิตเองได้ง่าย
ด้านสังคมและวัฒนธรรม : ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
ด้านปรัชญาและแนวคิด : พิจารณะแนวคิดด้านทิศตะวันตกและตะวันออกมาผสมผสานกัน
รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 4 - ปัจจุบัน
มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน เร่งรัด และประสานงานการวิจัยและพัฒนาสมุนไพร
นำผลมาใช้ให้เห็นประโยชน์ต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน
กระทรวงสาธารณะสุข แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการใช้ยาสมุนไพร เพื่อพิจารณะและกำหนดแนวทางในการพัฒนาสมุนไพรและยาแผนโบราณ
ให้คำแนะนำในการติดต่อประสานงานวิจัยในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดูว่ามีทะเบียนยาถูกต้องหรือไม่ ยาสมุนไพรส่วนใหญ่ อยู่ในหมวดยาแผนโบราณ
ดูวันผลิตยา และวันหมดอายุ ไม่ควรซื้อยาที่หมดอายุ เพราะตัวยาจะเสื่อมสภาพ
ดูลักษณะภายนอก เช่น สี กลิ่น รส
ดูการขึ้นของรา หากมีก็ไม่ควรซื้อ
ดูภาชนะบรรจุว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ หากภาชนะชำรุดก็ไม่ควรซื้อ
ดูแหล่งผลิตยา ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ในฉลากยาต้องระบุสถานที่ผลิตอย่างชัดเจน
ต้องได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ก่อนก่อนเลือกใช้ยาสมุนไพร หากยาตัวใดไม่เคยรับประทาน ให้รับประทานในขนาดน้อยๆก่อน และรอดูสิ่งผิดปกติ
ศึกษาการใช้ยาสมุนไพรให้ถูกชนิด ต้องรู้จักชื่อ ชนิด ลักษณะของยาสมุนไพรให้ชัดเจน
ใช้สมุนไพรให้ถูกส่วน ถูกอายุ ยาตัวไหนใช้รักษาอะไร และขนาดของยาในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ใช้ขนาดที่ต่างกัน
ใช้ยาให้ถูกขนาด
การใช้ยาในครั้งแรก ให้ใช้ยาในขนาดที่น้อยก่อน หากแพ้ยา อาการจะได้ไม่รุนแรง
ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
ใช้ให้ถูกวิธี
ไข้สูง ตาแดง ปวดเมื่อย ซึม บางทีเพ้อ จับไข้วันเว้นวัน
ไข้สูง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เจ็บแถวชายโครง
ปวดรอบสะดือ หรือต่ำกว่าสะดือลงมาทางขวา เอามือกดเจ็บ ท้องแข็ง อาจมีไข้ ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน
เจ็บแปลบๆ ในท้อง ปวดท้องรุนแรง ตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน
อาเจียน ไอมีเลือดออกมาด้วย ควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
ท้องเดินอย่างแรง ถ่ายเป็นน้ำ เหมือนน้ำซาวข้าว ถ่ายติดกัน อ่อนเพลียมาก ตาลึก ผิวแห้ง ในเด็กไม่ควรถ่ายเกิน 3 ครั้ง ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 5 ครั้ง
ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด หรือเกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อยถึง 10 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง และเพลียมาก
เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี มีไข้ตัวร้อนมาก หายใจมีเสียงผิดปกติ หน้าเขียว หรือ ไม่ไอ แต่ซึม มีไข้ลอย
มีเลือดสดๆ ออกมาจากทางใดก็ตาม อาจเป็นช่องคลอด เป็นต้น
โรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคเรื้อรัง โรคที่ดูอาการไม่ออกว่าเป็นอะไรกันแน่ งูพิษกัด สุนัขบ้ากัด บาดทะยัก กระดูกหัก มะเร็ง กามโรค เป็นต้น
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการท้องผูก
สมุนไพรที่ใช้แก้อาการท้องเสีย
สมุนไพรบรรเทาอาการบิด
สมุนไพรบรรเทาอาการคลื่นไส้
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการเบื่ออาหาร
บอระเพ็ด : ใช้เถาหรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่มหรือต้มกับน้ำใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ฟ้าทะลายโจร : หั่นเป็นชิ้นประมาณ 1-3 กำมือ (หนัก 3-9 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม
ยอ : ใช้ผลฝานบางๆ ย่างไฟให้เหลือง ต้มหรือชงน้ำดื่ม ใช้ครั้งละ 2 กำมือ
ขิง : ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มน้ำดื่ม
กระเพรา : ใช้ใบและยอด 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม
ทับทิม : ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว บดเป็นผงละลายน้ำข้าวหรือน้ำสุก รับประทานทุก 2 ชั่วโมง
มังคุด : ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว บดเป็นผงละลายน้ำข้าวหรือน้ำสุก รับประทานทุก 2 ชั่วโมง
มังคุด : ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1/2 ผล ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว หรือใช้บดเป็นผงละลายน้ำข้าวหรือน้ำสุกอ่อน รับประทานทุก 2 ชั่วโมง
ฟ้าทะลายโจร : หั่นเป็นชิ้น 1-2 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่ม
ข้อควรระวัง :
หากแพ้ยา มีอาการปวดท้อง ปวดเอว เวียนศีรษะ ให้หยุดใช้ ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนาน จะทำให้มือและเท้าชา อ่อนแรงได้
ฝรั่ง : ใช้ใบแก้ 10-15 ใบ ปิ้งไฟและชงรับประทาน หรือใช้ผลอ่อน 1 ผล ฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน
ทับทิม : ใช้เปลือกผลแห้ง ประมาณ 1/4 ของผล นำมาฝนกับน้ำปูนใส หรือน้ำฝน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
สีเสียด : ใช้แก่นตากแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มเอาน้ำเคี่ยวให้ข้น ระเหยน้ำให้หมด นำมา 1/3 -1/2 ช้อนชา ต้มเอาน้ำดื่ม
กล้วยน้ำว้า : รับประทานครั้งละ ครึ่งผล - 1 ผล หรือกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแห้ง นำมาบดเป็นผง ชงน้ำร้อนในอัตราส่วน 1:1
ชุมเห็ดไทย
ใช้เมล็ดแห้งคั่วจนเหลือง 2-2.5 ช้อนคาว ต้มน้ำดื่ม
ห้ามใช้ในคนที่ธาตุอ่อน ท้องเสีบง่าย โรคไต
คูน
ใช้ในฝักแก่ ก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มใส่เกลือนิดหน่อย ดื่มก่อนนอนตอนกลางคืน หรือตอนเช้าก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง
หากรับประทานมากเกินไป จะเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด และปวดท้อง
ชุมเห็ดเทศ
ใช้ดอกสดประมาณ 3 ช่อ ลวกรับประทาน ใช้ใบสดหรือแห้ง ประมาณ 12 ใบ ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว ใช้ใบแห้งบดเป็นผงปั้นน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 3 เม็ด
ห้ามสตรีมีครรภ์รับประทาน
ขี้เหล็ก
ใช้ใบ 4-5 กำมือ ต้มเอาน้ำ ดื่มก่อนอาหารเช้าหรือเวลามีอาการ
ข้อควรระวัง
หากรับประทานเกินขนาด จะเกิดอาการท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ง่วงนอน
มะขามแขก
ใช้ใบแห้ง วันละ 3-10 กรัม (1-1/2 กำมือ) ต้มน้ำดื่มหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่มหรือใช้ฝัก 4-5 ฝัก ต้มน้ำดื่ม
ข้อควรระวัง
สตรีมีครรภ์หรือมีประจำเดือนห้ามรับประทาน
มะขาม
ใช้เปลือกเปรี้ยว 10-20 ฝัก จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำแล้วคั้นใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มเป็นน้ำมะขาม
ข้อควรระวัง
หากรับประทานมากเกินไป จะเกิดท้องร่วงอย่างรุนแรง
กระชาย : เหง้าและรากประมาณครึ่งของกำมือ ต้มน้ำดื่ม (ถ้าสดใช้ 5-10 กรัม,แห้ง 5 กรัม)
กระทือ : หัวสดปริมาณ 20 กรัม ปิ้งไฟ ฝนกับน้ำปูนใส เอาน้ำดื่ม
กระเทียม : ปอกเปลือกรับประทานดิบๆ ครั้งละ 5 กลีบ
กระเพรา : ใบและยอด 1 กำมือ (สด 25 กรัม แห้ง 4 กรัม) ต้มน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็ก
การพลู : ดอกตูมขนาดใหญ่เต็มที่ตากแห้ง 5-8 ดอก ต้มหรือบดเป็นผง หรือดอก 3 ดอก ทุบแล้วแช่น้ำเดือด 1 ขวดเหล้า
ข่า : เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มน้ำดื่ม
ขิง : เหง้าสดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มน้ำดื่ม
ดีปลี : เหง้าแก่สดหรือแห้ง ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม หรือใช้ลำต้นแก่
ตะไคร้ : เหง้าแก่สดหรือแห้ง ทุบพอแหลก 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบให้แตกต้มน้ำดื่ม
สมุนไพรบรรเทาพยาธิในลำไส้
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการไอ/ขับเสมหะ
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการขัดเบา/ขับปัสสาวะ
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการแพ้ อักเสบ และพิษแมลงกัดต่อย
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการแผลพุพอง ฝีหนอง
เทียนบ้าน
ถอนพิษฝีแผลพุพองที่มีอาการปวดแสบ ปวดร้อน เล็บขบ ปวดเมื่อยตามนิ้วมือนิ้วเท้า ใช้ใบสดหรือดอกสดประมาณ 1 กำมือ ตำให้ละเอียด พอกหรือคั้นน้ำ
ทาบริเวณที่มีอาการวันละ 3 ครั้ง ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
ผักบุ้งทะเล
รักษาอาการแพ้ อักเสบ จากพิษของแมงกระพรุน ใช้ใบและเถาสดประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำและคั้นน้ำ ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ
พลู
ใช้ใบ 2-3 ใบ ตำละเอียดผสมเหล้าโรง (28 ดีกรี) ทาบริเวณที่เป็น ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้อักเสบ
ตำลึง
ใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำจากใบ ทาบริเวณที่มีอาการ พอแห้งทาซ้ำบ่อยๆ
ขมิ้นชัน
รักษาแผล ฝีหนอง แก้อาการแพ้อักเสบ ใช้เหง้าสดฝนกับน้ำสะอาด ทาบรบิเวณที่มีอาการ ใช้ขมิ้นผงผสมน้ำสะอาด ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 3 ครั้ง หรือทายาบ่อยๆ
เสลดพังพอน
ใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างสะอาด ตำและคั้นเอาทาบริเวณที่เป็น
เทียนบ้าน
รักษาอาการแพ้ อักเสบ จากพิษของแมงกระพรุน ใช้ใบและเถาสด ประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำและคั้นน้ำ ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ
พญายอ
รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ไม่มีไข้ เช่น ต่อ แตน ผึ้ง แมงป่อง ตะขาบต่อย ใช้ใบสด 10-15 ใบ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดผสมเหล้าโรง (28 ดีกรี) พอชุ่มยา คั้นน้ำทาและใช้กากพอกบริเวณที่เป็น
ชุมเห็ดไทย
ใช้เมล็ดคั่วแห้ง วันละ 1-2 ช้อนคาว ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เหลือน้ำ 660 มล. แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ผักกาดน้ำ
ใช้ทั้งต้น 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ดื่มครั้งละ ครึ่งถ้วย วันละ 3 ครั้ง
ขลู่
ใช้ทั้งต้นสด/แห้ง วันละ 1 กำมือ หั่นเป็นชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มล.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ตะไคร้
ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วย ก่อนอาหาร
กระเจี๊ยบแดง
ใช้กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกแห้ง ครั้งละ 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มล.) ดื่มน้ำใสสีแดง วันละ 2 ครั้ง
หญ้าหนวดแมว
สามารถใช้ขับปัสสาวะและขับนิ่วได้ ใช้ใบแห้ง 4 กรัม ต้มกับน้ำ 750 มล. แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรใช้ใบสดเพราะมีกลิ่นเหม็นเขียว อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น
อ้อยแดง
ใช้ลำต้น 1 กำมือ หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่มวันละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร
หญ้าคา
ใช้รากหรือเหง้า 1 กำมือ หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
สับปะรด
ใช้เหง้าวันละ 1 กอบมือ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ดีปลี
ใช้ดอกแก่แห้งหรือช่อผลแก่แห้งประมาณประมาณ ครึ่งช่อ ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
เพกา
ใช้เมล็ด 1/2 -1 กำมือ ต้มกับน้ำเดือด 300 มล. พอเดือด 1 ชั่วโมง ดื่มวันละ 3 ครั้ง
ขิง
ใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
มะนาว
ใช้ผลคั้นเป้นน้ำมะนาวจิบบ่อยๆ
มะแว้งเครือ มะแว้งต้น
ใช้ผลสด 5-10 ผล โขลกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือ จิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวกลืนทั้งน้ำและเนื้อ
มะขาม
ใช้เนื้อในฝักแก่ จิ้มเกลือรับประทาน
มะเกลือ
คั้นเอาน้ำ ดื่มก่อนอาหารเช้า หลังดื่ม 3 ชั่วโมง หากไม่ถ่าย ให้ใช้ยาระบายตามขนาดที่ใช้ 1 ขวด/1 ผล แต่ไม่เกิน 25 ผล ใช้ถ่ายพยาธิปากขอและพยาธิเส้นด้าย
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ,หญิงตั้งครรภ์ / หลังคลอด หากเกิดท้องเดิน ตามัว ให้นำส่งโรงพยาบาล
มะขาม
เมล็ดแก่นำมาคั่วแล้วกระเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดแช่ในน้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน
ฟักทอง
ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตก ผสมน้ำเชื่อมเล็กน้อย เติมน้ำให้ได้ 2 แก้ว รับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง
หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ให้ยาระบายตามใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด
เล็บมือนาง
ใช้เมล็ดแห้ง ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือทอดกับไข่รับประทาน ขนาดใช้ในเด็ก 2-3 เมล็ด ผู้ใหญ่ 5-7 เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน
สะแก
ใช้เมล็ดแก่ 1 ช้อนคาว ตำให้ละเอียด ทอดกับไข่รับประทาน ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน และเส้นด้าย
ข้อควรระวัง
ห้ามรับประทานเกินขนาดที่กำหนด
มะหาด
ใช้ผงมะหาดบดละเอียด 1-2 ช้อนชา รับประทานกับน้ำสุกเย็นขณะท้องว่าง ก่อนอาหารเช้า หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่ายตาม ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด
ข้อควรระวัง
ห้ามรับประทานกับน้ำอุ่น จะคลื่นไส้ อาเจียน
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
สมุนไพรที่ใช้รักษากลาก เกลื้อน
สมุนไพรรักษารังแค/ชันนะตุ
สมุนไพรรักษาอาการไข้
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการปวด เคล็ดขัดยอก
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการปวดฟัน
การพลู : ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลูอุดฟัน ลดอาการปวดฟัน
แก้ว : ใช้ใบสด ตำพอแหลกแช่เหล้าโรงในอัตราส่วน 1 กรัม ต่อเหล้า 10 มิลลิลิตร แช่นานประมาณ 3-5 นาที นำน้ำยาสกัดที่ได้ ทาบริเวณที่ปวด
ข่อย : เปลือกต้นสด ต้มกับน้ำพอควร เติมน้ำเกลือให้มีรสเค็ม นำน้ำต้มที่อุ่นมาใช้อมแก้ปวดฟัน
ผักคราด : ใช้เป็นยาเฉพาะที่ แก้ปวดฟันนำต้นสดหรือช่อดอกมาโขลกละเอียด คั้นเอาน้ำ ชุบสำลีอุกที่ปวด
พริก : มักเป็นส่วนผสมในยาทาถูนวด ช่วยลดอาการปวด
ไพล : ใช้เหง้าสดประมาณ 3-5 นิ้ว ตำพอละเอียด ผสมการบูรเล็กน้อย ห่อผ้าทำเป็นลูกประคบแล้วนึ่งให้ร้อน ประคบบริเวณเคล็ดขัดยอก ปวด
บอระเพ็ด : ใช้เถาหรือต้นสด ครั้งละ 2 คืยครึ่ง ตำคั้นเอาน้ำดื่มหรือต้มกับน้ำ โดยใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
ปลาไหลเผือก : ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
ย่านาง : ใช้รากแห้ง 1 กำมือ ต้มกับน้ำ ดื่ม 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
มะคำดีควาย : ใช้รักษาชันนะตุ ใช้ผล 5 ผล ทุบพอแตก ต้มน้ำประมาณ 1 ถ้วย ให้เหลือ 1/2 ถ้วย แล้วทาหนังศีรษะบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกเยื่อบางๆ จะทำให้เกิดการอักเสบ
มะกรูด : น้ำมะกรูด/น้ำมะกรูดผสมฝักส้มป่อย ทำความสะอาดผม ศีรษะ น้ำมันมะกรูดทำให้ผมนิ่มสลวย รักษาแผลที่หนังศีรษะ
กระเทียม : ฝานกลีบกระเทียมแล้วใช้ถูบริเวณที่เป็นบ่อยๆ
ข่า : ใช้เหง้าสดฝนกับเหล้าโรงหรือน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็น
ชุมเห็ดเทศ : ใช้ใบสดขยี้ถูนานๆ และบ่อยครั้งบริเวณที่เป็น ใช้รักษากลากเกลื้อน
ทองพันชั่ง : ใช้ใบหรือราก ตำแช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์ ทาบริเวณที่เป็น หรือใช้รากบดละเอียด ผสมน้ไมะนาวหรือมะขาม ชะโลมทาบริเวณที่เป็น ใช้รักษากลากเกลื้อนได้
บัวบก : ใช้ทั้งต้นสด ประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำและคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น อาจใช้กากพอกด้วยก็ได้
มะพร้าว : ใช้น้ำมะพร้าวผสมกับน้ำปูนใสอย่างละเท่ากัน คนจนเข้ากันดี ทาบริเวณที่เป็นหรือใช้น้ำมะพร้าว 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับไข่ขาว 1 ฟอง ตีให้เข้ากันจนเป็นครีม ทาบริเวณที่เป็น
ว่านหางจระเข้ : ใช้วุ้นที่สะอาดพอกบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น มีประโยชน์ทำให้แผลหายเร็วไม่เกิดแผลเป็นและรักษาผิวไหม้จากแดดเผา
สมุนไพรกำจัดเหา
อาหารเสริมสุขภาพ
สมุนไพรแต่งสีอาหาร
สมุนไพรผักพื้นบ้าน
ผักชี (หอมป้อม) :
ทั้งต้น
ละลายเสมหะ แก้ผื่น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ผล
แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร
ราก
หัด อีสุกอีใส
ข้อควรระวัง
การรับประทานมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นตัวแรง ตาลาย หลงลืมได้ง่าย
มะลิวัลย์ (ผักแส้ว) :
ใบ
แก้ไข้
กระเจียว (อาวแดง) :
ราก
แก้ท้องอืด ขับลม แก้ไข้ บรรเทาอาการคัน
ดอก
ทำให้นอนหลับสบาย เนื่องจากมีฤทธิ์กล่อมประสาทอ่อนๆ
ผักเซียงดา (ผักเจียงดา) :
เปลือก
แก้บิด ท้องร่วง แก้ลม แก้อาการชัก
ช้าเลือด (ผักปู่ย่า) :
ยอด
เจริญอาหาร แก้ลม วิงเวียน หน้ามืด
ใบ ลำต้น
แก้ปวด ขับเสมหะ
ผักปลาบ :
ทั้งต้น
ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคเรื้อน ยาระบาย บรรเทาอาการปวด อาการขัดเบา พอกแผล
ผักกระสัง (ผักฮากกล้วย) :
ใบ
แก้ปวดศีรษะ อาการชัก แก้ไข้
ทั้งต้น
รักษาแผลและฝี
ผักไผ่ :
ใบ
แก้ลม-ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ตุ่มผื่นคัน
ผักขี้หูด (ผักเปิ๊ก) :
เมล็ดหรือผล
ขับลมในกระเพาะอาหาร
มะกอก :
ใบ
แก้อาการปวดหู แก้หูอักเสบ
ผล
แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้กระหายน้ำ
เปลือก
แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย
กระเจี๊ยบแดง : ใช้กลีบเลี้ยงสดหรือแห้ง ต้มกับน้ำเคี่ยวให้สีแดงออกมามากที่สุด กรองเอากากที่เหลือออกโดยผ้าขาวบาง บีบน้ำออกจากกลีบให้หมด นำไปแต่งสีอาหาร
ขมิ้น : เหง้าสด บด หรือตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นกรองจะได้น้ำสีเหลืองเข้ม นำไปแต่งสีอาหารคาว
คำฝอย : ดอกแก่ชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการเป็นสีเหลือง
คำแสด : เมล็ดแช่น้ำแล้วคนแรงๆ / บดแล้วแช่น้ำกรองเมล็ดทิ้ง แล้วรอให้สีตกตะกอนก่อนนำไปใช้แต่งสีอาหารประเภทไขมัน ย้อมผ้าได้ รับประทานสีจากคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
เตย : ใช้ใบโขลก เติมน้ำเล็กน้อย คั้น กรอง ผ่านผ้าขาวบาง จะได้น้ำสีเขียว ใช้แต่งสีอาหารคาว/หวานได้
อัญชัน : ใช้ดอกสด ตำ เติมน้ำเล็กน้อย จะได้สีน้ำเงิน ถ้าเติมน้ำมะนาวจะกลายเป็นสีม่วง
ฝาง : นำแก่นมาแช่น้ำจะได้สีชมพูเข้ม แต่งสีอาหารได้
กระเทียม : รับประทานกระเทียมดิบ วันละ 5-7 กลีบ รับประทานติดต่อกันทุกวัน
ข้าวกล้อง : ประกอบด้วยวิตามินบี 1 วิตามินบีรวม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แคลเซียม โปรตีน ทองแดง
คำฝอย : ลดไขมันในเลือด ใช้ดอกแห้งประมาณ 2 หยิบมือ ชงน้ำร้อน 1 แก้ว หรือใช้เมล็ด
ถั่วพู : ฝักรับประทานเป็นผักจิ้ม ตามตำรายาแผนโบราณ ใช้เผาหรือนึ่งรับประทานบำรุงกำลัง ไม่ควรรับประทานถั่วพูดิบ เพราะเมล็ดถั่วพูมีสารที่มีผลต่อการเจริญเติบดตของร่างกาย
ถั่วเหลือง : รับประทานเป็นอาหาร
น้อยหน่า : ใช้ใบสด 1 กำมือ หรือเมล็ดประมาณ 10 เมล็ด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะ คลุมด้วยผเาประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง ระวังอย่าให้เข้าหูเข้าตา หรือถูกเนื้อเยื่อบางๆ จะทำให้เกิดการอักเสบ