Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม, รหัสประจำตัว…
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ระบบเศรษฐกิจแบบฐานข้อมูลข่าวสาร
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต การจัดการ และเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ตัวอย่างธุรกิจ ชนิดนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ การพิมพ์ โทรศัพท์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น ข่าวสาร กลายเป็นเรื่องสำคัญและเป็นทรัพยากรที่สำคัญ
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
สร้างข้อได้เปรียบใหม่ ๆ ให้กับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้องใช้นวัตกรรมเพิ่มรายได้ต่อหัวต่อจำนวนประชากร ต้อง แก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ ต้องเปลี่ยนจากการเพิ่มมูลค่าเป็นการสร้างมูลค่า จากทำมากได้น้อยให้เป็นทำน้อยได้มาก เช่น การสร้างมูลค่าให้อุตสาหกรรมสมุนไพรไทย การทำให้บางจังหวัดท่องเที่ยวกลายเป็น World Class Destination เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงจะถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
ภาวะโลกร้อน หรือภาวะอุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
สาเหตุมาจากชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลกไว้มีก๊าซต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกมีคุณค่ามหาศาลต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากช่วยกรองรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่ให้แผ่ถึง ผิวโลกโดยตรงจึงทำให้ผิวโลกไม่ร้อนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ช่วยเก็บกักความร้อนบางส่วนไว้ไม่ให้อุณหภูมิที่ผิวโลกเย็นเกินไป เช่นกัน
มลภาวะทางอากาศ
การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน จะทำให้เกิดก๊าซไนโตรเจน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อก๊าซเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับน้ำฝนหรือละอองน้ำในอากาศจะ กลายเป็นกรดไนตริก และกรดกำมะถัน เกิดเป็นภาวะที่เรียกว่า “ฝนกรด” ถ้าสัมผัสกรดเหล่านี้ มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
คุณภาพของอากาศในเมืองที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักจะมีอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ในอากาศ และ มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้มข้นสูง ทำให้ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นประจำมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง
ภาวะขาดแคลนน้ำ
ภาวะเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในบางพื้นที่ เช่น ในบางปีจะมีฤดูร้อนที่ ยาวนานแต่ฤดูหนาวสั้นลง ทำให้ปริมาณน้ำฝนและหิมะลดลง
มลพิษในแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ เกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในแหล่งน้ำโดยไม่ได้ ผ่านการบำบัด สารเคมีตกค้างจากการเกษตร การทำเหมืองแร่ และจากการทิ้งขยะและของเสียลงในแหล่งน้ำ เป็นต้น
จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น
ภาคเกษตรและปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น มีการใช้น้ำสูงที่สุดประมาณ 70% ของ การใช้น้ำรวมทั้งหมดของโลก มีใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี และการเลี้ยงสัตว์ใกล้แหล่งน้ำก่อให้เกิด มลพิษในแหล่งน้ำทั้งบนบกและใต้ดิน เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว มีการขยายการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรมในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในประเทศ ที่กำลังพัฒนา ทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นในขั้นตอนการผลิต มีการปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารเคมีปนเปื้อนลงในแม่น้ำ ลำคลอง ทำให้ เกิดมลพิษไม่สามารถนำน้ำมาใช้บริโภคได้
ขาดการจัดการที่ดีในเรื่องของการใช้น้ำและควบคุมมลพิษ เช่น ขาดมาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับโรงงาน อุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำ เป็นต้น
การขุดเจาะนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ทำให้เกิดผลแหล่งน้ำบนผิวดินแห้ง และในที่สุดจะกลายเป็นทะเลทราย และยังทำให้ พื้นดินทรุดตัวอีกด้วย
การสร้างเขื่อน มีทั้งผลดีและผลเสีย ประโยชน์ของการสร้างเขื่อน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และกักเก็บน้ำใช้ในภาคการเกษตร เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสร้างเขื่อนนั้นก็ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา เกิดการเปลี่ยนแปลงของทิศ ทางการไหลของน้ำ และทำให้ต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก
ป่าไม้ถูกทำลาย
ขยะที่ถูกฝังใต้ดิน ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น และขยะบางส่วนไม่สามารถย่อยสลายเองได้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ถังเก็บขยะที่ฝังอยู่ใต้ดินประมาณ 85% รั่วทำให้สารจำพวกโลหะหนักไหล ออกมาปะปนกับน้ำที่อยู่ใต้ดินทำให้น้ำใต้ดินเสื่อมคุณภาพใช้ไม่ได้
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเทศไทยเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแบบทุนนิยมตะวันตกมาตั้งแต่ปี พศ 2504 ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสมดุลธรรมชาติมาโดยตลอด
การทำเกษตรกรรมแผนใหม่โดยปลูก พืชเชิงเดี่ยว ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกิดเป็นมลพิษทั้งทางดินและทางน้ำ สูญเสียถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตในดินและใน น้ำไปมาก ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ค่อย ๆ หมดไป โดยที่ยังไม่ทันได้ศึกษาคุณค่าของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง ซึ่งอาจเป็นการ สูญเสียมูลค่าอย่างมหาศาลก็ได้
เทคโนโลยีนิเวศ หมายถึง การศึกษาหาข้อมูลโดยกระบวนการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อากาศ ดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น)
ท้องถิ่นนิยม (Localism)
ระบบสื่อสารไร้พรมแดนก็ทำให้เกิดความรู้สึก ท้องถิ่นนิยมแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยมไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่นให้รู้จักเห็นคุณค่า อนุรักษ์ และหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตน พร้อมทั้งตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลกลาง หากรัฐบาลกลาง หวังจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่นโดยไม่โปร่งใส ก็จะถูกต่อต้านจากประชาชนในท้องถิ่น ดังที่เราได้พบเห็นที่กลุ่ม ประชาชนออกมาเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคต่าง ๆ
สถานการณ์พลังงาน
ประชากรโลกทั้งในสังคมเมืองและในท้องถิ่นห่างไกลมีโอกาสรับรู้ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เท่าเทียมกันมากขึ้น ส่งผลให้มีการใช้อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพและการ ดำเนินชีวิตมากขึ้นด้วย แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะมาจากแหล่งผลิตหลายแห่ง มีลักษณะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ใช้พลังงานในการ ทำงานเหมือนกัน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย
พลังงานไฟฟ้ามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ทำให้มีประเด็นปัญหาที่ท้าทายใหม่ ๆ เกี่ยวกับ ความมั่นคงด้านพลังงานเกิดขึ้นตามมา ความเกี่ยวข้องกันระหว่างตลาดถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า กับตลาด ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งเชื้อเพลิงอื่น ๆ จึงมีความสำคัญมากขึ้น ในอดีตการจัดส่งถ่านหินหยุดชะงัก ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อ ตลาดน้ำมันและปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นอีก
รหัสประจำตัว 623210416-7 ชื่อ นางสาว ณัฐพร โพธิ์จันทร์ section 8 กลุ่มย่อยที่ 2 ลำดับที่ 10