Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ
ในเด็กเล็กจะสามารถควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุ 24-30 เดือนขึ้นไป ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลายๆครั้ง
ชนิดของอาหารที่รับประทาน
อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมาก เช่น คะน้า กระเฉด มะละกอ ลูกพรุน จะช่วยให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อนได้ดีกว่าอาหารที่มีกากใยน้อย
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
การเคลื่อนไหวร่างกาย
อารมณ์
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1 Separate hard lumps,like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า "ขี้แพะ"
Type 2 Sausage shaped but lumpy ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน
Type 3 Like a sausage but with cracks on surface ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่มๆ
Type 4 Like a sausage or snake,smooth and soft ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม
Type 5 Soft blobs with clear-cut edges ลักษณะเป็นก้อนนุ่มๆแยกออกจากกันชัดเจน
Type 6 Fluffy pieces with ragged edges,a mushy stool ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบยักไม่เรียบ
Type 7 Watery,no solid pieces (entirely liquid) ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก อุจจาระมีลักษณะแห้ง แข็ง ต้องออกแรงมากช่วยในการเบ่งเพื่อขับอุจจาระ และมีอาการอยากถ่ายที่เรียกว่า "การถ่ายอุจจาระไม่สุด" การถ่ายอุจจาระปกติคนเราจะถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ดังนั้น ถ้าถ่ายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง หรือไม่ถ่ายติดต่อกัน 3 วัน จึงเกิดอาการท้องผูก
การพยาบาล
ให้ความรู้และความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนตัว
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้เพียงพอ โดยเฮพาะอาหารที่มีกากใย
แนะนำ กระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
แนะนำและควรฝึกระบบขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
5.จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชิน
6.แนะนำให้ออกกำลังกาย
พยายามลดการใช้ยาระบาย หรือใช้ในกรณีที่จำเป็น
การอัดแน่นของอุจจาระ เป็นอาการที่สืบเนื่องจากท้องผูก เป็นการสะสมของอุจจาระที่แข็งแห้งในลำไส้ตรงและน้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายเรื่อยๆ
การพยาบาล
1.การล้วงอุจจาระ เป็นการล้วงโดยตรง เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา
ภาวะท้องอืด เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้อง ซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้
การพยาบาล
1.จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อนตัวปอดขยายตัว
อธิบายสาเหตุและวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องผูก
ค้นหาสาเหตุในการท้องอืด
พิจารณาการใช้ยา อาจให้ยาช่วยย่อยอาหาร ยาขับลม ทำให้เรอ ผายลม หลังให้ยา
ภาวะท้องเสีย คือ การเพิ่มจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระและการที่อุจจาระเป็นน้ำเหลว หรือมีมูกปน โดยถือว่าถ่ายเป็นน้ำเหลว 3 ครั้ง ในเวลา 12 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นน้ำปนมูกเพียงครั้งเดียว มักกลั้นอุจจาระไว้ไม่ได้นาน หรือกลั้นไม่ได้เลย
การพยาบาล
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่าย
ดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกอาจให้งดน้ำงดอาหาร (NPO)
ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำ
การสวนอุจจาระ
เพื่อลดปัญหาท้องผูก
เตรียมตรวจทางรังสี
เตรียมคลอด
การสวนอุจจาระแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
Cleansing enema เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
Retention enema การสวนเก็บ เป็นการสวนเก็บน้ำมัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว กระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวที่ดีขึ้น