Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
การขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสม ของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความ เสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงถือได้ว่าเป็นทั้งการนำสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไปและเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกายและดีต่อสุขภาพของ ร่างกายเรานั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ (Age) ในเด็กเล็กความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุ ตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการ ขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake) อาหารจาพวกพืชผัก ผลไม้ ที่ มีกากใยมาก เช่น คะน้า กระเฉด มะละกอ ลูกพรุน เป็นต้น จะช่วยทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อน ได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว และยังช่วยกระตุ้นให้มีการ เคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี ทำให้มีการถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
การเคลื่อนไหวของร่างกาย(Body movement) การเคลื่อนไหวของ ร่างกาย จะช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ ส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
อารมณ์ (Emotion) เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด หรือวิตก กังวล เป็นต้น จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาท Sympathetic มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มข้ึนหรือลดลงได้ อารมณ์ของบุคคลจะมีผลกระทบต่อ การทำงานของลำไส้
ความสม่าเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits ) การเปลี่ยนแปลง เก่ียวกับกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร น้ำ รวมท้ังการออกกำลังกาย และการพักผ่อน
ยา (Medication) อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดิน อาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
ความเหมาะสม (Opportunity) สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ
การตั้งครรภ์ (Pregnancy) เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลูกก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย ในการเบ่งถ่ายอุจจาระ
อาการปวด (Pain) โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) การผ่าตัดส่วนลาไส้ ตรง (Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 2
Sausage shaped but lumpy
(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 3
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 1
Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool (ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 7
Watery, no solid pieces (entirely liquid) (ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก (Constipation)
สาเหตุ ภาวะท้องผูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนปวดศีรษะวิงเวียน
เกิดอาการปากแตก, ลิ้นแตก,ลมหายใจเหม็น,อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เกิดจากอุจจาระที่แห้งแข็งกดหลอด เลือดดารอบๆ ทวารหนัก
แบคทีเรียในลำไส้จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหารเป็นแอมโมเนีย ดูดซึมเข้า กระแสเลือดไปยังสมองในผู้ป่วยโรคตับ
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็งหรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุง สะสมอุจจาระไว้พบในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยอัมพาต
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence) เนื่องจากก้อนอุจจาระไปกดปลายประสาทของกล้ามเนื้อหูรูด
การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
สาเหตุ อาการเริ่มแรก
ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้วพบอุจจาระเป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้ ซึ่งต่างจากท้องเดิน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องมากปวดอุจจาระ อยากถ่ายตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก
อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
การล้วงอุจจาระ (Evacuation) คือ การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการ ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา ตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
สาเหตุ
1) มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย รับประทานอาหารมากเกินไป หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
2) มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลาไส้ปริมาณมาก
3) มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
4) ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ ทาให้มีการถ่ายอุจจาระและผายลมออกมาทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดจากการรบกวนที่หูรูดทวารหนัก เช่น มีการกดทับ จากก้อนอุจจาระเป็นเวลานาน หรือความผิดปกติของปลายประสาทรับความรู้สึกบริเวณทวารหนัก เป็นต้น
ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ์ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางร่างกาย เรียกว่า “Psychosomatic disorder”
การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte imbalance) สูญเสียทาให้ร่างกายอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีอาการของภาวะการขาดน้ำ
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลกไส้และการถ่าย อุจจาระหลายๆ ครั้ง เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและการพักผ่อน
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทำในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพท่ีลำไส้ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การติดเชื้อที่ทำให้
ลำไส้เกิดเน้ือตาย
การผ่าตัดเปิดลาไส้ใหญ่ทางหน้าท้อง เรียกว่า “Colostomy” การ ผ่าตัดเปิดลาไส้เล็กทางหน้าท้อง เรียกว่า “Ileostomy” เพื่อให้อุจจาระออกแทนทวารหนักเดิม บริเวณรูเปิดลำไส้ส่วนท่ีโผล่พ้นผิวหนังเรียกว่า “Stoma” หรือทวารเทียม และจะมีอุจจาระออกมา ทางทวารเทียม
ซึ่งต้องมีการใช้อุปกรณ์รองรับอุจจาระที่ร่างกายขับถ่ายออกมาลักษณะเป็นถุงเรียกว่า “Colostomy bag” ถุงรองรับอุจจาระต้องเป็นระบบปิด ป้องกันการรั่วไหลซึมของของเสียและ กลิ่นอันไม่พึงประสงค์
การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
1) ลดปัญหาอาการท้องผูก
2) เตรียมตรวจทางรังสี
3) เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ปุวยจะต้องดมยาสลบ
4) เตรียมคลอด
5) เพื่อการรักษา
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้น ให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยการทำให้เกิดการระคายเคืองของ Colon หรือ Rectum
Retention enema การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105 ̊F (40.5 ̊C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ป่วย
ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ (Sim’s position)
ให้เข่าขวางอขึ้นมากๆ
ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถนอนตะแคงซ้ายได้
อาจจัดให้นอนหงายแต่ไม่ควรให้อยู่ในท่านั่ง
แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วยควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน1ฟุตเหนือ ระดับที่นอน
ในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
การปล่อยน้ำเปิด Clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ถ้า สารละลายปริมาณมากอาจใช้เวลานาน 10-15 นาที
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้
และลักษณะของสายสวนอุจจาระการสอดสาย
สวนเข้าทวารหนักสอดลึก 2-4 นิ้ว
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่น KY jelly เป็นต้น หล่อลื่นให้ยาวประมาณ 2-3 นิ้วในผู้ใหญ่ และ 1 นิ้วในเด็ก
ทิศทางการสอดหัวสวน ให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบน ปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ
1) การระคายเคืองต่อเยื่อบุลาไส้
2) ผนังลาไส้ถลอก หรือทะลุ
3) ภาวะเป็นพิษจากน้า (Water intoxication)
4) การติดเชื้อ เช่นลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ (Fecal examination)
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง (Occult blood)
ตรวจในรายที่สงสัยว่า มีเลือดแฝง
ในอุจจาระ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ผู้ป่วยมีพยาธิปากขอ
การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ (Stool culture)
การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติ และส่งตรวจหาเลือดแฝง
การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ