Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 220px-Narai - Coggle Diagram
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชสมภพ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวีไม่ปรากฏพระนาม
ในคำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระองค์มีพระนามาภิไธยเดิมว่า พระนรินทกุมาร หรือ คำให้การชาวกรุงเก่า เรียกว่า พระสุรินทกุมาร เมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระนารายณ์ หรือ พระเจ้าลูกเธอพระนารายณ์ราชกุมาร ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ
เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
-
คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าพระชนนีของพระองค์ชื่อพระสุริยา ส่วน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุพระนามว่าพระอุบลเทวี และหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ระบุพระนามว่าพระนางศิริธิดา และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือกรมหลวงโยธาทิพ (หรือพระราชกัลยาณี)
พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ระบุว่าพระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง" แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ส่วนพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฟาน ฟลีต ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์อำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์คือเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน กับอีกท่านหนึ่งคือพระนมเปรม ที่ฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henry Turpin) ระบุว่าเป็นเครือญาติของสมเด็จพระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ (เจ้าฟ้าง่อย) เจ้าฟ้าน้อย พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา
สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
การครองราชย์
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยทูตยุโรป
ตราพระราชลัญจกร
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ์บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิราชราเมศวรธรธราธิบดี ศรีสฤษดิรักษ์สังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอัคนิตวิจิตรรูจี ตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาธิบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์ องค์เอกาทศรุท วิสุทธิยโสดม บรมอัธยาศัย สมุทยดโรมนต์ อนันตคุณวิบุลยสุนทรธรรมิกราชเดโชชัย ไตรโลกนาถบดินทร์ อรินทราธิราช ชาติพิชิตทิศทศพลญาณ สมันตมหันตผาริตวิชัยไอศวรรยาธิปัตย์ ขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดี ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฎรัตนโมลี ศรีประทุมสุริวงศ์ องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้า
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ์บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิราชราเมศวรธรธราธิบดี ศรีสฤษดิรักษ์สังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอัคนิตวิจิตรรูจี ตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาธิบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์ องค์เอกาทศรุท วิสุทธิยโสดม บรมอัธยาศัย สมุทยดโรมนต์ อนันตคุณวิบุลยสุนทรธรรมิกราชเดโชชัย ไตรโลกนาถบดินทร์ อรินทราธิราช ชาติพิชิตทิศทศพลญาณ สมันตมหันตผาริตวิชัยไอศวรรยาธิปัตย์ ขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดี ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฎรัตนโมลี ศรีประทุมสุริวงศ์ องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้า
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน ด้วยเหตุผลว่า ทั้งสองรัชกาลนี้มีศัตรูมากมายรายรอบพระองค์ เนื่องจากการเข่นฆ่าฟันล้างบางพระราชวงศ์ด้วยกันมาหลายครั้งหลายหน รวมทั้งเรื่องของเสนาบดีใหม่และเก่า
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ "ทรงธรรม" หรือ "ธรรมราชา" ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา
การเสด็จสวรรคต
สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนักในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2231 ไม่สามารถว่าราชการได้ต่อมาได้เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมพรรษา 56 พรรษา ภายหลังพระเพทราชาโปรดให้อัญเชิญพระบรมศพจากลพบุรีสู่กรุงศรีอยุธยาผ่านทางเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวที่เกิดกับพระอัครมเหสีคือ เจ้าฟ้าสุดาวดี ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงโยธาเทพ" ถือเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมคู่แรก พร้อมกับเจ้าฟ้าศรีสุวรรณ พระขนิษฐา พระราชธิดาพระองค์ดังกล่าวมีพระราชอำนาจสูงมาก โดยจากหลักฐานของลาลูแบร์ได้กล่าวว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้ "...ดำรงอิสริยยศเยี่ยงพระมเหสี... และบางครั้งชาวตะวันตกก็เรียกแทนว่าเป็น "ราชินี" และหากมีผู้ใดเสกสมรสด้วยกับเจ้าฟ้าพระองค์นี้ก็ย่อมได้รับสิทธิธรรมเหนือราชบัลลังก์มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ยังมีปรากฏในพงศาวดารที่เขียนในสมัยหลังว่าพระองค์มีพระราชโอรสลับคือหลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8) ที่แพร่หลายมากที่สุดในราชสำนัก ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า เกิดจากพระราชชายาเทวี มีนามเดิมว่าเจ้าจอมสมบุญ ภายหลังได้มอบราชบุตรดังกล่าวกับเจ้าพระยาสุรศรี (พระเพทราชา) ส่วน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า เกิดกับนางนักสนมที่ชื่อนางกุสาวดี เมื่อนางตั้งครรภ์ก็ได้ส่งนางไปอยู่กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (คือพระเพทราชา) ส่วน พระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลที่ต่างออกไปว่า มีพระนามเดิมว่า มะเดื่อ เกิดจากพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ภายหลังทรงให้พระเพทราชาไปดูแล ด้วยทรงละอายพระทัยที่เสพสังวาสกับนางลาว]
พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองเมาะตะมะ สิเรียม ย่างกุ้ง หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
การต่างประเทศ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคาร่วมกับคณะทูต นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่สมุหนายก ขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคาร่วมกับคณะทูต นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
ราชทูตสยามนำโดยโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)
สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง
ชาวสยามวาดโดยซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ทูตชาวฝรั่งเศส
-