Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10 การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ💩🚽 - Coggle Diagram
บทที่10
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ💩🚽
10.1 ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
การขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสม ของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงถือได้ว่าเป็นทั้งการนำสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไปและเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกายและดีต่อสุขภาพของร่างกายเรานั่นเอง
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80 ส่วนที่เป็น ของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหาร ประเภทเซลลูโลสและลิกนินซึ่งไม่ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียจะเหลืออยู่ในอุจจาระและช่วยอุจจาระ อุ้มน้ำไว้ น้ำหนักของอุจจาระขึ้นอยู่กลับปริมาณของเส้นใยอาหาร หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำ น้ำหนักอุจจาระเฉลี่ยวันละ75 กรัม
10.2 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
10.2.1 อายุ (Age) ในเด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุ ตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลายๆครั้ง เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง และกำลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง จึงลดจำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระ แต่ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหากล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
10.2.2 ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake) อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ที่ มีกากใยมาก เช่น คะน้า กระเฉด มะละกอ ลูกพรุน เป็นต้น จะช่วยทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อนได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย เนื่องจากจะช่วยเพิ่มน้ำหนักอุจจาระ และช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มด้วย
10.2.3 ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) น้ำจะเป็นตัวสาคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว และยังช่วยกระตุ้นให้มีการ เคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี ทำให้มีการถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น นอกจากการดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว จะช่วยเรื่องการขับถ่ายอุจจาระเป็นไปตามปกติแล้ว
10.2.4 การเคลื่อนไหวของร่างกาย(Body movement) การเคลื่อนไหวของร่างกาย จะช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ ส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
10.2. 5 อารมณ์ (Emotion) เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด หรือวิตก กังวล เป็นต้น จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาท Sympathetic มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มข้ึนหรือลดลงได้
10.2.6 ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits ) การเปลี่ยนแปลง เก่ียวกับกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร น้ำ รวมท้ังการออกกำลังกาย และการพักผ่อน
10.2.7 ความเหมาะสม (Opportunity) สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ และ ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ และท่าทางในการขับถ่าย (Opportunity and position) ท่านั่งจะช่วยใน การขับถ่ายได้สะดวก
10.2.9 ยา (Medication) อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
10.2.10 การตั้งครรภ์ (Pregnancy) เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลงก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย ในการเบ่งถ่ายอุจจาระจึงต้องใช้แรงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกเป็นประจำและเกิดโรคริดสีดวงทวารในหญิงตั้งครรภ์
10.2.11 อาการปวด (Pain) โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) การผ่าตัดส่วนลำไส้ตรง (Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery) เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
10.2.12 การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia) การดมยาสลบชนิดทั่วไป (General anesthesia: GA) เป็นสาเหตุของการเกิดลดลงและขณะทำการผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้ทำให้เกิดลดลงชั่วคราว เรียกว่า “Paralytic ileus” อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทำงานปกติ
10.2.13 การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test) การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทางานของลำไส้ชั่วคราว ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำให้ลำไส้สะอาด ผู้ป่วยต้องได้รับ การงดน้ำและอาหาร (NPO) หรือรับประทานอาหารเหลวใส
10.3 ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1
Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2
Sausage shaped but lumpy
(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 3
Like a sausage but with cracks on surface
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่มๆ)
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มๆ แยกออกจากกันชัดเจน)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool (ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 7
Watery, no solid pieces (entirely liquid) (ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
10.4 สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
10.4.1 ภาวะท้องผูก (Constipation)
10.4.1.1 สาเหตุ ภาวะท้องผูก
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ การเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา
10.4.1.2 ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เกิดจากอุจจาระที่แห้งแข็งกดหลอดเลือดดำรอบๆ ทวารหนัก ทำให้เลือดไหลกลับไม่สะดวกเกิดโป่งพองและแตกได้
10.4.1.3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ และควรฝึกระบบขับถ่าย อุจจาระให้เป็นเวลา การถ่ายอุจจาระเมื่อปวดถ่ายโดยไม่กลั้นหรือปล่อยทิ้งไว้
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
10.4.2 การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
10.4.2.1 สาเหตุ
อาการเริ่มแรก คือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระ เป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้ ซึ่งต่างจากท้องเดิน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องมาก ปวดอุจจาระ อยากถ่ายตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
การล้วงอุจจาระ (Evacuation) คือ การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการ ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา ตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
10.4.3 ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
สาเหตุ
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทำให้หายใจสะดวก
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
10.4.4 การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การพยาบาลผู้ป่วยทกี่ลั้นอุจจาระไม่ได้
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือก เป็นเวลาที่สะดวก เช่น ตอนเช้าตรู่
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาดและแห้งตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย อุจจาระทุกครั้งเพื่อป้องกันการระคายเคืองและเกิดแผล
10.4.5 ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ์ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางร่างกาย เรียกว่า “Psychosomatic disorder”
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกมักให้งดอาหารและน้ำทางปาก (NPO)ให้ดื่มเฉพาะน้ำ
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระความถี่ของการถ่ายอจุจาระ
10.4.6 การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบ ๆ
การปิดถุงรองรับอุจจาระ เมื่อทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบๆ แล้ว ต้องปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อป้องกันผิวหนังรอบๆ สัมผัสกับอุจจาระที่ผ่านออกจากลำไส้ ทำให้ระคายเคืองและเป็นแผลได้ง่าย
การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ควรทราบถึงการเลือกชนิดของอาหารที่มีผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง ชมรมฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง (2553)กล่าวไว้ว่าหลังผ่าตัดประมาณ7-10 วันแผลที่บริเวณStoma ก็จะแห้งสนิทและระบบ ขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน ผู้ป่วยจึงสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามเดิม หลังผ่าตัด 6–8 เดือน สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่หักโหมรุนแรง และไม่ควรยกของหนักเพราะอาจเป็นสาเหตุการเกิดไส้เลื่อนได้
10.5 การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
1) ลดปัญหาอาการท้องผูก
2) เตรียมตรวจทางรังสี
3) เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
4) เตรียมคลอด
5) เพื่อการรักษา
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยการทำให้เกิดการระคายเคืองของ Colon หรือ Rectum รวมทั้งทำให้ลำไส้โป่งตึงด้วยน้ำหรือน้ำยาและขับอุจจาระออกมา
Retention enema การสวนเก็บเป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 m
อุปกรณเ์ครื่องใช้
1) หม้อสวน
2) หัวสวนอุจจาระ
3) สารหล่อลื่น เช่น KY jelly
5) กระดาษชาระ
6) กระโถนนอน (Bed pan)
7) ผ้าปิดกระโถนนอน (Bed pad)
8) ผ้ายางกันเปื้อน
9) สารละลายที่ใช้ในการสวนอุจจาระ
11) เสาน้ำเกลือ
12) ถุงมือสะอาด 1คู่ และ Mask
4) ชามรูปไต
10) เหยือกน้ำ
10.6 ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ ในการสวนอุจจาระให้แก่ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนที่ควรต้องสังเกตและติดตาม
การระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
ผนังลำไส้ถลอก หรือทะลุ
ภาวะเป็นพิษจากน้ำ (Water intoxication)
การติดเชื้อ เช่นลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ
การคั่งของโซเดียม เพราะปกติลำไส้จะดูดซึมโซเดียมได้ดีมาก
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ การสวนอุจจาระมีข้อห้ามที่ไม่ควรทำในผู้ป่วย
1) ลำไส้อุดตัน (Bowel obstruction)
2) มีการอักเสบของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
3) มีการติดเชื้อในช่องท้อง (Infection of abdomen)
4) ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ส่วนปลาย (Post rectal surgery)
10.7 การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
1) การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ (Fecal examination หรือ Stool examination)
2) การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง (Occult blood) ตรวจในรายที่สงสัยว่า มีเลือดแฝงในอุจจาระ
3) การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ (Stool culture) เพื่อนำไปเพาะเชื้อ เลี้ยงเชื้อ แบคทีเรียและดูความไวต่อยาของเชื้อที่เพาะได้
อุปกรณเ์ครื่องใช้
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
2) ใบส่งตรวจ
3) ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
5) หม้อนอน
4) กระดาษชำระ
วิธีปฏิบัติ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติ และส่งตรวจหาเลือดแฝง
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บอุจจาระส่ง ตรวจ รวมทั้งวิธีการเก็บตัวอย่าง ให้ระวังการปนเปื้อนปัสสาวะ น้ำ และสิ่งปนเปื้อนอื่น
ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้ง ใช้ไม้แบนเขี่ย อุจจาระจำนวนเล็กน้อยใส่ภาชนะ รีบปิดภาชนะทันที และใส่ถุงพลาสติกหุ้มอีกชั้น
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว แล้วจุ่ม ไม้พันสำลีลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ปิดฝาทันที (ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่างอุจจาระต้องปลอดเชื้อและมี อาหารเลี้ยงเชื้อ เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-10 ̊C ระวังการปนเปื้อน อาจทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อน)
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน