Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy หรือ hydatidiform mole) - Coggle Diagram
ครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy หรือ hydatidiform mole)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่เซลล์ของรกกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง เนื้อรกนี้อาจจะเป็นถุงน้ำขนาดเล็กไม่มีทารก หรือเนื้อเยื่อของทารก เรียกว่า complete (Classic) hydatidiform mole ถ้ามีทารก หรือเยื่อของทารกร่วมอยู่ด้วย เรียกว่า incomplete
อุบัติการณ์
สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาของสมศักดิ์ ตั้งตระกูล และสมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ (2531) พบอุบัติการณ์การเกิด ดังนี้ โรงพยาบาลศิริราช พบ 1: 315-1: 519 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พบ 1: 365 โรงพยาบาลรามาธิบดีพบ 1: 371 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบ 1: 290
สาเหตุ
ภาวะโภชนาการ พบว่า กลุ่มขาดอาหารประเภทไขมันจากสัตว์ และแคโรทีน (carotene หรือ vitamine A precursor) เป็นต้น เหตุการเกิดโรคนี้ได้
การเคยตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกมาก่อน มีรายงานการเกิดซ้ำของโรคนี้ถึง 40 เท่าของสตรีที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน
อายุพบว่าอายุของสตรีตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับการเกิดครรภ์ไข่ปลาอุกโดยอายุมากกว่า 45 ปี มีโอกาสเกิดมากกว่าอายุ 20-40 ปี ถึง 10 เท่า แต่จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และอายุของบิดาไม่สัมพันธ์กับการเกิด
อาการและอาการแสดง
ขนาดของมดลูก อาจจะโตกว่าอายุครรภ์ หรือขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
4.คลำหน้าท้อง ไม่พบส่วนของทารก และฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
เลือดออกทางช่องคลอด อาจจะออกกะปริบกะปรอย หรือออกมามากลักษณะของเลือดที่ออก อาจจะเป็นสีน้ำตาลเข้มมากกว่าสีแดงสด
5.อาจพบรกที่แท้งออกมา มีลักษณะเหมือนไข่ปลา หรือพวงองุ่น ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ และไม่เกิน 28 สัปดาห์
ขาดประจำเดือน
6.มีภาวะอาเจียนรุนแรง (hyperemesis gravidarum)
พยาธิสรีรวิทยา
ครรภ์ไข่ปลาอุกเกิดจากการคั่งของสารน้ำในวิลลัสของโทรโฟ
บลาสต์ ภายหลังจากเสื่อมสภาพของตัวอ่อน ก็จะกลายเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นถุงน้ำใส มีขนาดต่างกันตั้งแต่ 2 มม. ถึง 2 ซม.
รวมกันแน่นคล้ายพวงองุ่นอยู่เต็มโพรงมดลูก
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
ครรภ์ไข่ปลาอุกชนิดที่ไม่มีทารก (complete หรือ classic hydatidiform mole) เป็นครรภ์ไข่ปลาอุกที่มีพยาธิสภาพรุนแรง รกทุกส่วนเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก ครรภ์ไข่ปลาอุกชนิดนี้เกิดจากเชื้ออสุจิไปผสมกับไข่ที่ฝ่อ
ครรภ์ไข่ปลาอุกชนิดที่มีทารก หรือเนื้อเยื่อของทารก (partial หรือ incomplete hydatidiform mole) ครรภ์ไข่ปลาอุกชนิดนี้ เกิดเนื่องจากไม่ได้รับการผสมด้วยเชื้ออสุจิพร้อมกันทีเดียว 2 ตัว ทำให้เกิดเป็น tripoid karyotype
การรักษา
การใช้เคมีบำบัด
เพื่อป้องกัน ปกติการใช้สารเคมีบำบัดมะเร็งของครรภ์ไข่ปลาอุก มักไม่จำเป็น เพราะโอกาสการเกิดเป็นมะเร็งมีเพียงร้อยละ 15 – 20 แต่ในรายที่มีอัตราเสี่ยงสูง อาจจำเป็นต้องให้ยาที่ใช้บำบัดมะเร็ง ได้แก่ Methotrexate หรือ Actinomycin D โดยให้ติดต่อกัน 5 วัน แล้วดูดเอาเนื้อรกออกในช่วงกำลังให้ยา
การทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์
2 การขูดมดลูก จะทำเฉพาะรายที่มดลูกมีขนาดเล็ก และแท้งรกออกเกือบหมด
4 การผ่าตัดเข้าในโพรงมดลูก (hysterotomy) ปัจจุบันไม่นิยมทำ
1 การดูดเอาเนื้อรกออก พร้อมกับขูดมดลูก เพื่อขจัดเอาเนื้อรกที่ค้างอยู่ออก เป็นวิธีการที่ดีและปลอดภัยที่สุด
3 การใช้สารกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เช่น ให้ออกซิโตซิน (oxytocin) ทางหลอดเลือดดำ วิธีนี้ไม่นิยมทำเพราะอาจทำให้เซลล์รกกระจายเข้าไปในกระแสเลือดได้
5 การตัดเอามดลูกออก (hysterectomy) จะทำในรายที่ผู้ป่วยมีบุตรมากและไม่ต้องการมีบุตรอีก
การติดตาม เพื่อควบคุมและรักษาการเกิดมะเร็ง
ตรวจภายในหลังจากขูดมดลูก 1 และ 4 สัปดาห์ แต่ถ้าตรวจพบรังไข่เป็นถุงน้ำควรนัดตรวจทุก 2-4 สัปดาห์ จนกว่าถุงน้ำของรังไข่ยุบลง แต่ถ้าถุงน้ำไม่ยุบลงอาจเป็นเนื้องอก (neoplasm) จำเป็นต้องให้การรักษาต่อไป
การคุมกำเนิด การคุมกำเนิดที่ดีที่สุด ได้แก่ การใช้ยากิน (oral contraception) เพื่อป้องกันการสร้าง LH (leuteneizing hormone) ในช่วง midcycle
การตรวจหาระดับ BhCG เป็นระยะ ๆ เป็นหัวใจสำคัญของการติดตาม เพื่อควบคุมโรค โดย ตรวจทุกสัปดาห์จนระดับ BhCG ลดลงมาเป็นปกติโดยทั่วไปจะเป็นปกติภายใน 14 สัปดาห์ หลังขูดมดลูก ถ้าระดับ BhCG ลดลงแล้ว ให้ตรวจทุกเดือนอีก 6 เดือน ตรวจทุกเดือนเป็นเวลา 12 เดือน ถ้าระดับ BhCG ลดลงมาไม่สม่ำเสมอ
ภาวะแทรกซ้อน
การตกเลือด มักพบในรายที่ขนาดมดลูกใหญ่ ที่ใหญ่มากกว่า 16 สัปดาห์ที่ได้รับการทำ suction curettage
มดลูกทะลุ ถ้าพบว่ามีการทะลุเกิดขึ้นจะต้องหยุดการทำหัตถการทันทีและให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกผ่านทางเครื่องกำหนดหยดสารน้ำ (oxytocin infusion)
trophoblastic emboli พบได้น้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการให้ oxytocin หรือ prostaglandin โดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิด ทำให้มีการแพร่กระจายของ trophoblastic cell เข้าไปในกระแสเลือดได้
การเกิด persistent (postmolar) gestational trophoblastic disease หรือเนื้องอกชนิดร้าย ที่เกิดตามหลังการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (malignant sequelae)
การวินิจฉัย
อาการและอาการแสดง
. จากการตรวจพิเศษด้วย คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound), การเจาะถุงน้ำคร่ำและตรวจครรภ์ด้วยรังสีวินิจฉัย , การตรวจหาระดับความเข้มข้นของ Human Chorionic Gonadotropin (BhCG) ในเลือด หรือในปัสสาวะ , การตรวจรังสีวินิจฉัยของปอด