Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
ความเหมาะสม (Opportunity)
ยา (Medication)
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits )
การตั้งครรภ์ (Pregnancy)
อารมณ์ (Emotion)
อาการปวด (Pain)
การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
อายุ (Age)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจาจาระ
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปุวยมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมินผล
ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระ
การวางแผน
วางแผนให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเรื่องการโรคของระบบ ทางเดินอาหารและลำไส้
การปฏิบัติการพยาบาล
แนะนำให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยช่วยในการขับถ่าย
อธิบายประโยชน์ของการดื่มน้ำให้เพียงพอ
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่มีกากใย
ฝึกการขับถ่ายอุจจาระเป็นตรงเวลาทุกวัน
ท าจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ท้องผูกเนื่องจากมีพฤติกรรมใช้ยาระบายเป็นประจำ
การประเมินผลการพยาบาล
เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
มีการถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
การประเมินภาวะสุขภาพ
S: “ทานยาระบายก่อนนอนเป็นประจำทุกคืน ไม่ชอบอาหารประเภทผัก และผลไม้” O: จากการตรวจร่างกาย พบAbdomen: Distension, Tympanic sound, Decrease bowel sound 1-2 time/min
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก
สาเหตุ ภาวะท้องผูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะวิงเวียน
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เกิดจากอุจจาระที่แห้งแข็งกดหลอด เลือดดำรอบๆ ทวารหนัก
แบคทีเรียในลำไส้
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence) เนื่องจากก้อนอุจจาระไปกดปลาย ประสาทของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายสูญเสียหน้าที่
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย
แนะนำกระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ
แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหาร
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
การอัดแน่นของอุจจาระ
สาเหตุ อาการเริ่มแรก คือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระ เป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ เป้าหมายสำคัญของการพยาบาล คือ การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกาย โดยการล้วงอุจจาระ
การล้วงอุจจาระ (Evacuation) คือ การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการ ช่วยเหลือผู้ปุวยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้
อุปกรณ์เครื่องใช้
สารหล่อเลื่อน เจล หล่อลื่น ถ้าไม่มีใช้วาสลิน
ผ้ายางรองก้นและกระดาษช าระ
หม้อนอนหรือ ถุงพลาสติกสำหรับใช่อุจจาระ
ถุงมือสะอาด 2 คู่ และหน้ากากอนามัย
วิธีปฏิบัติ
ปูผ้ายางรองให้ผู้ป่วย และวางหม้อนอนหรือถุงพลาสติกไว้ใกล้ ๆ
พยาบาลสวมถุงมือ 2 ชั้น แล้วใช้นิ้วชี้หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่น
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ขาขวา งอเล็กน้อย
ล้วงเอาก้อนอุจจาระออกใส่ในหม้อนอนหรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้
เช็ดทำความสะอาด จัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย
ทำความสะอาดเครื่องใช้และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
แนะนำตัว และบอกวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยทราบ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ภาวะท้องอืด
สาเหตุ
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาณ
มีการสะสมของอุจจาระมาก
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
ชนิดของ Stoma จำแนกออกเป็น 2 ชนิด
Colostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้ใหญ่
Transverse colostomy (Loop colostomy) นำส่วนขวางของลำไส้ใหญ่มาเปิดออก ส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดแบบชั่วคราว
Sigmoid colostomy (End colostomy) นำส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มาเปิดออก ส่วนใหญ่จะเปิดถาวรอยู่บริเวณหน้าท้องส่วนล่างด้านซ้าย
Ascending colostomy นำส่วนต้นของลำไส้ใหญ่มาเปิดออกชนิดนี้จะ ค่อนข้างใหญ่
Ileostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้เล็ก
การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบ ๆ
ระยะที่ 1 หลังผ่าตัด 4-5 วัน
ระยะที่ 2 หลังผ่าตัด 7-10 วัน
ระยะที่ 3 หลังผ่าตัด 6-8 สัปดาห์
การปิดถุงรองรับอุจจาระ เมื่อทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบ ๆ ต้องปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อปูองกันผิวหนังรอบ ๆ
การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
การออกกำลังกายและการทำงาน
การฝึกหัดการขับถ่าย
ภาวะแทรกซ้อน สังเกตและดูแลตนเอง
การทำความสะอาดแผลทวารเทียม
ลำไส้ที่เปิดออกมาทำหน้าที่ระบายอุจจาระออกมามีถุงรองรับ เมื่อต้องเปลี่ยน ถุงรองรับ ด้วยการดึงถุงที่มีกาวติดกับผิวหนังออก แล้วใช้ลำสีสะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาด Stoma ก่อน แล้วเช็ดผิวหนังรอบ ๆ ให้สะอาด เช็ดด้วยสำลีแห้ง แล้วปิดถุงใหม่ลงไป
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
ไส้เลื่อน หรือ ลำไส้ยื่นออกมามากผิดปกติ
เลือดออกมาก
ลำไส้ที่ทำทวารเทียมตีบแคบ บวม หรือ มีสีดำคล้ำ
ท้องเสียรุนแรง อุจจาระเหม็นผิดปกติ
ผิวหนังรอบทวารเทียมอักเสบหรือเกิดแผลเปื่อยจากอุจจาระสัมผัสบริเวณ ผิวหนัง
ท้องผูก ไม่ถ่ายอุจจาระ ท้องอืด อาเจียน
การกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านจิตใจ :ทำให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเอง
ผลด้านสังคม : เมื่อการกลั้น อุจจาระไม่ได้ เป็นเรื่องน่าอับอายส่งผลให้ไม่ต้องการออกสังคม
ผลด้านร่างกาย :ทำให้มีอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
ผลด้านจิตวิญญาณ :ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง และขาดการแสดงออกถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ด้านร่างกาย
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลา
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด
ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การดูแลเรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด (Depression) พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และเก็บตัวไม่ยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
ภาวะท้องเสีย
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ์
การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียง
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การดูแลเรื่องอาหาร
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ
ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
โดยทั่วไปความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนหรือหลังมื้ออาหาร ทั้งนี้ เป็นเพราะการตื่นนอนและการลุกขึ้นเดินทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น และการรับประทานอาหารทำให้เกิดปฏิกิริยารีเฟล็กซ์กระเพาะอาหารถึงลำไส้ใหญ่ (Gastrocolonic reflex) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเหตุให้อุจจาระเคลื่อนเข้าสู่ไส้ตรง
ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสม ของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความ เสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80 ส่วนที่เป็น ของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหาร ประเภทเซลลูโลสและลิกนินซึ่งไม่ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียจะเหลืออยู่ในอุจจาระและช่วยอุจจาระ อุ้มน้ำไว้ น้ำหนักของอุจจาระขึ้นอยู่กลับปริมาณของเส้นใยอาหาร
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type
Type 4 :Like a sausage or snake, smooth and soft (ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5 :Soft blobs with clear-cut edges (ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 3 :Like a sausage but with cracks on surface (ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 6 :Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool (ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 2 :Sausage shaped but lumpy (ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 7 :Watery, no solid pieces (entirely liquid) (ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
Type 1 :Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
ลักษณะของอุจจาระปกติทั่วไปจะอ่อนนุ่มมีสีอยู่ระหว่าง เหลือง น้ำตาลอ่อนไปจนถึง น้ำตาลเข้มขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทาน ลักษณะอุจจาระผิดปกติสามารถบ่งบอกโรคและพฤติกรรม สุขภาพได้เช่นกัน ลักษณะของอุจจาระช่วยบอกถึงการมีภาวะสุขภาพดีของระบบทางเดินอาหารได้ เพราะการสังเกตลักษณะของอุจจาระและแยกความผิดปกติได้ถูกต้องจะช่วยวินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้น ของระบบทางเดินอาหารได้
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
อุปกรณ์เครื่องใช้
ใบส่งตรวจ
ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
กระดาษชำระ
หม้อนอน
วิธีปฏิบัติ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติ และส่งตรวจหาเลือดแฝง
ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้ง
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
อธิบายให้ผู้ปุวยทราบ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายเล็กน้อย
การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
เตรียมคลอด
เตรียมตรวจทางรังสี
เพื่อการรักษา
ลดปัญหาอาการท้องผูก
ชนิดของการสวนอุจจาระ แบ่งเป็น 2 ชนิด
Retention enema การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
Cleansing enema เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้น ให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
อุปกรณ์เครื่องใช้
หัวสวนอุจจาระ
สารหล่อลื่น
ชามรูปไต
กระดาษชำระ
หม้อสวน
กระโถนนอน
ผ้าปิดกระโถนนอน
ผ้ายางกันเปื้อน
สารละลายที่ใช้ในการสวนอุจจาระ
เหยือกน้ำ
เสาน้ าเกลือ
ถุงมือสะอาด 1คู่ และ Mask
วิธีปฏิบัติ
นำเครื่องใช้มาที่เตียง
ปูผ้ายางรองก้นบริเวณก้นของผู้ปุวย
การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ครบถ้วน
จัดท่านอนให้ถูกต้อง
คลุมผ้าเปิดเฉพาะบริเวณทวารหนักไม่เปิดเผย
ล้างมือ สวมถุงมือ และต่อหัวสวนกับสายสวนให้แน่น
เปิด Clamp เพื่อไล่อากาศในสายสวน และหัวสวน ปิด Clamp หัวสวน หล่อ ลื่นหัวสวนด้วย KY jelly ไล่อากาศเพื่อทดสอบว่าหัวสวนไม่อุดตัน
ปิด Clamp หัวสวนไว้ เทน้ำยาใส่หม้อสวน
ค่อย ๆ ดึงสายสวนออกเบา ๆ ปลดหัวสวนออก
บอกให้ผู้ปุวยทราบว่าจะทำการสวนอุจจาระ
จับหัวสวนให้แน่กระชับมือ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ
สอดหัวสวนเข้าทวารหนักให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 3 นิ้ว
สอด Bed pan กั้นม่านให้มิดชิด
เก็บเครื่องใช้ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ข้อควรคำนึงในการสวนอุจจาระ
ท่านอนของผู้ป่วย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ
แรงดันของสารน้ าที่สวนให้แก่ผู้ป่วย
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ
การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ถ้า สารละลายปริมาณมากอาจใช้เวลานาน 10-15 นาที เพื่อให้ผู้ป่วยเก็บน้ำได้หมด
อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105˚F (40.5 ˚C)
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้
ทิศทางการสอดหัวสวน
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น
ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ
การระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
ผนังลำไส้ถลอก หรือทะลุ
ภาวะเป็นพิษจากน้ำ
การติดเชื้อ
การคั่งของโซเดียม
ภาวะ Methemoglobinemia
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ
มีการอักเสบของลำไส้
มีการติดเชื้อในช่องท้อง
ลำไส้อุดตัน
ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ส่วนปลาย