Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
เป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้
ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสม ของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย
และเพิ่มความ เสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ
เด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป และถ่ายอุจจาระวันละหลายครั้ง
เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง
และกำลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง จึงลดจำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระ
ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยาน
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
ชนิดของอาหารที่รับประทาน
อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ที่ มีกากใยมาก เช่น คะน้า กระเฉด มะละกอ ลูกพรุน เป็นต้น จะช่วยทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อน ได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
เป็นตัวสำคัญที่ทำให้ อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว และยังช่วยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
ช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ
ส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
อารมณ์
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาท Sympathetic
มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย
ควรมีการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือเมื่อรู้สึกอยากถ่ายให้รีบไปถ่าย หากมีการกลั้นอุจจาระไว้จะทำให้เกิดท้องผูกได้
ความเหมาะสม
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ
ยา
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดิน
อาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได
การตั้งครรภ์
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลูกก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย ในการเบ่งถ่ายอุจจาระจึงต้องใช้แรงเพิ่มขึ้น
อาการปวด
เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระ ผู้ปุวยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
การผ่าตัดและการดมยาสลบ
ขณะทำการ ผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้ทำให้เกิด Peristalsis ลดลงชั่วคราว
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบ ทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1
ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2
ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน
Type 3
ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ
Type 4
ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบและนุ่ม
Type 5
ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน
Type 6
ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ
Type 7
ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
มีความสัมพันธ์กับการ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
ภาวะขาดน้ำ การเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
อาจเกิดจากความเจ็บปุวยหรือการรักษาด้วยยา
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบาย
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะวิงเวียน
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร
เป็นแอมโมเนีย ดูดซึมเข้า กระแสเลือดไปยังสมอง
ในผู้ป่วยโรคตับจะเกิดอาการ Hepatic encephalopathy
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญ
ของการดูแลสุขภาพ
แนะนำให้รับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
แนะนำ กระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
และควรฝึกระบบขับถ่าย อุจจาระให้เป็นเวลา
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการ
ถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย
1 more item...
การอัดแน่นของอุจจาระ
อาการเริ่มแรก คือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้วพบอุจจาระ
เป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกาย
โดยการล้วงอุจจาระ และอาจใช้ยาระบายเพื่อทำให้
ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่น
การล้วงอุจจาระ
เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา ตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
ภาวะท้องอืด
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้อง
ซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้อง เพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติ
ของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การกลั้นอุจจาระไม่ได้
ทำให้มีการถ่ายอุจจาระและผายลมออกมาทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดจากการรบกวน
ที่หูรูดทวารหนัก
การพยาบาลผู้ปุวยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ด้านร่างกาย
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือกเป็นเวลาที่สะดวก
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด
ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ดูแลเรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด ควรให้ กำลังใจ และสร้างเสริมกำลังใจกับ
ผู้ป่วยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ภาวะท้องเสีย
การเพิ่มจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ และการที่อุจจาระเป็นน้ำเหลว หรือมีมูกปนโดยถือว่าถ่ายเป็นน้ำเหลว 3 ครั้งในเวลา 12 ชั่วโมง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มี
จำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกมักให้งดอาหารและน้ำทางปาก
ติดตาม เฝูาระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ ความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
การผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทำในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ลำไส้
การสวนอุจจาระ
Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้น ให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยการทำให้เกิดการระคายเคืองของ Colon หรือ Rectum รวมทั้งทำให้ลำไส้โป่งตึงด้วยน้ำหรือน้ำยาและขับอุจจาระออกมา
Retention enema
เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ ในผู้ใหญ่
ไม่เกิน 200 ml.
Oil-retention enema
เป็นการสวนเก็บน้ำมัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว
กระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
Medicated enema
เป็นการสวนเก็บด้วยยา เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ทางทวารหนัก
การสวนอุจจาระเป็นบทบาทกึ่งอิสระที่ต้องใช้บทบาทอิสระร่วมในการจัดกิจกรรมการ สวนอุจจาระ
พยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกายวิภาค
ของระบบทางเดินอาหาร
ให้การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และแบบองค์รวม
ใช้คำพูด บุคลิกภาพ และการกระทำที่เต็มใจให้การช่วยเหลือ
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105˚F (40.5 ˚C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุ
และขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ป่วย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ให้เข่าขวา งอขึ้นมาก ๆ ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถนอนตะแคงซ้ายได้
อาจจัดให้นอนหงาย แต่ไม่ควรให้อยู่ในท่านั่ง
แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือ ระดับที่นอน
การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
หากต้องการให้ผู้ปุวยกักเก็บสารน้ำได้ดีควรใช้สายยางขนาดเล็ก เด็กโตสอดลึก ประมาณ 2–3 นิ้ว ส่วนเด็กเล็ก สอดลึกประมาณ 1–1.5 นิ้ว
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น
ทิศทางการสอดหัวสวน ให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบน ปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่ หลังจากที่ปล่อยสารน้ำเข้าไปในลำไส้ใหญ่ จนผู้ป่วยรู้สึกทนต่อไปไม่ได้
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
เป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานการตรวจหนึ่ง หรือการวินิจฉัยโรค
เบื้องต้นของโรคระบบทางเดินอาหาร ตรวจลักษณะอุจจาระด้วยตาเปล่า ร่วมกับการตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาความผิดปกติใน ระบบทางเดินอาหาร