Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 แนวคิดทางพฤติกรรม - Coggle Diagram
บทที่ 1 แนวคิดทางพฤติกรรม
ความหมายของจิตวิทยาเเละพฤติกรรม
จิตวิทย
า คือ ศาสตร์ที่ศึกษากระบวนการทำงานทางจิตและพฤติกรรมของมนุษย์
เป้าหมายของจิตวิทยา (The goals of psychology)
มีเป้าหมายในการศึกษาพฤติกรรม และกระบวนทำงานทางจิตของมนุษย์
เพื่อบรรยาย(describe) ว่าบุคคลและเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ มีพฤติกรรมเป็นอย่างไร
เพื่อเข้าใจ(understand)ถึงสาเหตุการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
เพื่อทำนาย(predict) ว่าบุคคลเเละสัตย์ต่าง ๆ มีพฤติกรรมภายใต้เงื่อนไขที่เเน่นอนอย่างไร
เพื่อมีอิทธิพล(influence)ต่อพฤติกรรมจนควบคุมถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้(apply)ความรู้ทางด้านจิตวิทยาในเเนวทางที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล
ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับพฤติกรรม
เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรงทั้งพฤติกรรมภายนอกและกระบวนการทำงานทางจิตในลักษณะของปัจเจกบุคคลมากกว่ากลุ่มของสังคม ดังนั้น จิตวิทยากับพฤติกรรมจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างเเยกไม่ออก
ธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์
พันธุกรรมเเละสิ่งเเวดล้อม พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างไรและมีอิทธิพลต่อกันอย่างไร
จิตรู้สำนึกและจิตไร้สำนึก เป็นสาเหตุแห่งพฤติกรรมมนุษย์ โดยพฤติกรรมมนุษย์ถูกแรงผลักดันจากจิตรู้สำนึกอย่างไร และการทำงานของจิตไร้สำนึกเป็นอย่างไร
พฤติกรรมมนุษย์สามารถสังเกตได้ และมีกระบวนการทำงานทางจิตภายใน
พฤติกรรมมนุษย์มีอิสระและถูกกำหนดควบคุมพฤติกรรมในการเเสดงออก
พฤติกรรมมนุษย์มีความเเตกต่างระหว่างบุคคลและมีหลักเเห่งพฤติกรรม
แนวทัศน์ทางด้านจิตวิทยา
กลุ่มโครงสร้างนิยม(Structuralism)
Wilhelm Wundt
ได้เเต่งหนังสือสำคัญ ชื่อ "Principles of Physiological Psychology"
มีจุดเริ่มต้นที่จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาจิตรู้สำนึกของมนุษย์
ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางด้านเคมี วิธีการศึกษานี้เรียกว่า การสำรวจจิต
กลุ่มหน้าที่เเห่งจิต(Functionalism)
William James
ผู้ก่อตั้งเเนวคิดนี้
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า จิตมนุษย์มีหน้าที่ในการปรับตัวต่อสิ่งเเวดล้อมที่เป็นอยู่อย่างไร
กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
John B.Watson
นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ให้กำเนิดเเนวทัศน์ทางด้านพฤติกรรมนิยม
ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดในการวางเงื่อนไขของ Pavlov จากการทดลองกับสุนัขที่ตอบสนองต่ออาหารเเล้วน้ำลายไหลและตอบสนองต่อเสียงกระดิ่ง
B.F.Skinner
เชื่อว่า จิตหรือ สมองและระบบประสาทเปรียบเสมือนกับกล่องดำ(black box)ที่ไม่สามารถมองเห็น ไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์
สิ่งที่เข้าไปในกล่องดำคือสิ่งที่ปรากฎออกมาโดยไม่ควรให้ความสำคัญต่อสิ่งที่อยู่ภายในกล่องดำมากกว่า
Skinner
เป็นบุคคลเเรกที่ศึกษาในการเรียนรู้ (learning)และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการวางเงื่อนไขและต้นพบการเสริมเเรง(reinforcement)เพื่อให้บุคคลมีพฤติกรรมตามที่ต้องการ
กลุ่มเกสตอลท์(Gestalt)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้กำเนิดเเนวคิดใหม่ใน ค.ศ.1920 และโต้แย้งแนวคิดที่จะทำให้แบ่งการงานทางจิตออกเป็นหน่วยย่อย หมายถึง ส่วนรวมมีความเเตกต่างจากผลรวมของหน่อยย่อย และเชื่อว่าการเรียนรู้ไม่ได้เป็นไปตามแนวคิดของ Watson และ Skinner เสมอไปแต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเเก้ไขปัญหา ที่เรียกว่า การเรียนรู้เเบบหยั่งเห็น(insight)
Max Wertheimer
เป็นผู้พัฒนาเเนวคิดนี้ และยังมีผู้นำบุคคลอื่น ๆ ได้เเก่ Kurt Koffka และ Wolfgang Kohler
กลุ่มมนุษย์นิยม(Humanistic)
carl Rogers
เเละ
Abraham Maslow
เป็นผู้นำกลุ่มมนุษย์นิยม เรียกตัวเองว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม(third force)
โดยมุ่งเน้นว่าธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีเเนวโน้มที่จะเเสวงหาเพื่อการเจริญเติบโตพัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพและมีอิสระเสรีที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของตนเอง
กลุ่มการคิด(Cognitive)
จะมุ่งเน้นความสนใจไปที่จิตโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการทำงานทางจิต
นักจิตวิทยากลุ่มนี้มองเห็นการทำงานของจิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและตระหนักถึงการเเก้ไขปัญหา กระบวนการทำงานทางจิตของบุคคลจะควบคุมพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การใช้ความทรงจำ การรับรู้ การจินตนาการ และการคิด จะก่อให้เกิดการคิดที่ยิ่งใหญ่ที่จะนำไปสู่การกำหนดพฤติกรรมของบุคคลมากกว่า
Herbert Simon
เป็นผู้บุกเบิกเเนวคิดในเรื่องกระบวนการประมวลผลข้อมูล เเละได้รับรางวัล
Nobel Prize
ในปี
ค.ศ.1978
กลุ่มวิทยาศาสตร์ประสาท หรือ ศาสตร์เเห่งสมอง(Neurosciences)
Santiago Ramon y Cajal
เป็นบุคคลเเรกที่ใช้คำว่าเซลล์ประสาท เขามองว่า สมองมีการทำงานที่เป็นเครือข่ายโดยมีเซลล์สมองเป็นพื้นฐาน
ในศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ.1970 ได้เกิดเเนวทัศน์เพื่อศึกษาชีววิทยาของจิตที่ เรียกว่า วิทยาศาสตร์ประสาท หรือวิทยาศาสตร์สมอง โดยจะให้ความสนใจโครงสร้างของสมองในบทบาทของอารมณ์ ความมีเหตุผล การสนทนา และกระบวนการทำงานทางจิตและความคงที่ทางด้านอารมณ์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพันธุกรรม
กลุ่มวิวัฒนาการ(The Evolutionary psychology)
David Buss
ได้เสนอเเนวคิดนี้ เขาเชื่อว่า วิวัฒนาการจะขัดเกลาลักษณะทางสรีระของบุคคลเเละยังมรอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การเเสดงออกซึ่งความก้าวร้าว ความกลัว แบบแผนการเลือกคู่อย่างไร
โดยจะเน้นพิจารณาบางเเนวทัศน์ที่เหมาะสมมาอธิบาย จึงมีการนำมาประยุกต์ในลักษณะของการบูรณาการแนวทัศน์
Mary Whiton Calkins
ประธานสมาคมจิตวิทยาประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้หญิงคนเเรกที่ดำรงตำเเหน่งนี้ และได้ทำงานวิจัยทางด้านความทรงจำ
Christine Ladd-Franklin
ได้ศึกษาเรื่องการมองเห็นสี
กลุ่มสังคมวัฒนธรรม(Socialculture)
Harry Triandis
เป็นผู้ก่อตั้งเเนวคิดนี้ โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม จริยธรรม และบทบาททางเพศ มีความสำคัญต่อความเข้าใจพฤติกรรม การคิด เเละอารมณ์ ของมนุษย์
วิธีการศึกษาทางด้านจิตวิทยา(Learning methodology on psycholigy)
การสังเกต
การสังเกตเชิงสำรวจ
จะต้องสังเกตพฤติกรรมอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และรูปแบบในการจดบันทึกอย่างไร
การสังเกตในห้องปฏิบัติการ
จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยบางอย่างที่จะกำหนกพฤติกรรมของบุคคล
การสังเกตอย่างเป็นตามธรรมชาติ
จะช่วยให้การศึกษาพฤติกรรมได้ค้นพบข้อเท็จจริง วิธีนี้จะช่วยให้สามารถประเมินข้อมูลเกี่ยวกับพฤคิกรรมของบุคคลในโลกเเห่งเป็นจริง
การสำรวจ
คือการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจะเป็นกลุ่มขนาดเล็ก เพื่ออ้างอิงไปถึงประชากรกลุ่มใหญ่ โดยจะใช้เครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์
การศึกษาเป็นรายกรณี
คือ การศึกษาเชืงลึกของบุคคลเพียง 1 คนในทุกด้าน ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางด้านพฤติกรรมเเละให้ความช่วยเหลือในลำดับต่อไป
การใช้เเบบทดสอบที่เป็นมาตรฐาน
คือ เครื่องมืแที่ให้บุคคลตอบข้อเขียน หรือปากเปล่า ซึ่งเเบบทดสอบนี้จะตั้งบนพื้นฐานเเนวคิดที่ว่า พฤติกรรมของบุคคลมีความคงที่
การศึกษาความสัมพันธ์
คือ การวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร
การวิจัยเชิงทดลอง
คือ จะมีการจัดกระทำข้อมูลมีการกำหนดเหตุและผลมีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์
การประยุกต์จิตวิทยากับพฤติกรรม
ด้านศักยภาพการคิด
เพื่อทดสอบกระบวนการทำงานทางจิตในระดับสูง
ทางด้านคลินิก
เพื่อช่วยประเมิน วินิจฉัย และการบำบัดความผิดปกติทางด้านจิตเเละพฤติกรรม
ด้านการให้คำปรึกษา
จะเน้นไปที่การทำงานเกี่ยวกับปัญหาในการปรับตัวต่าง ๆ ที่มีความรุนเเรงน้อยกว่า เช่น ปัญหาการเเต่งงาน พฤติกรรม
ด้านการพัฒนา
เน้นการศึกษาถึงการเจริญเติบโตของมนุษย์
ด้านสังคม
เป็นการสืบสวนบทบาทแรงผลักดันทางด้านสังคมและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ทางด้านจิตสรีระ
เพื่อสืบสวนความสัมพันธ์ระหว่างชีววิทยากับกระบวนการทำงานทางจิจ
ด้านการศึกษา
เป็นการนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้กับวงการศึกษาเพื่อช่วยส่งเสริมความรู้ความสามารถทางเขาวน์ปัญญา
ด้านการทดลอง
เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ การวางเงื่อนไข เเรงจูงใจ
ด้านวัฒนธรรมเเละบทบาททางเพศ
เป็นการศึกษาว่า ผู้หญิงเเละชายมีความเเตกต่างจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมอื่นอย่างไร
ด้านอุตสาหกรรมเเละองค์กร
เป็นการนำความทางด้านจิตวิทยาไปใช้ในสถานที่ทำงาน
สาขาทางด้านจิตวิทยา
จิตวิทยาทดลอง
จะใช้วิธีการทดสอบเพื่อสร้างงานวิจัยพื้นผฐาน หัวใจสำคัญคือ ประสาทสัมผัส การรับรู้ กระบวนการคิด การเรียนรู้ แรงจูงใจ และอารมณ์
จิตวิทยาพฤติกรรม วิทยาศาสตร์ประสาทและจิจวิทยาเปรียบเทียบ
จะเน้น ความสนใจในการศึกษากระบวนการชีววิทยา ส่วนจิตวิทยาเปรีบยเทียบ คือ กลุ่มของสาขาวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์
จิตวิทยาพัฒนาการ
คือ สาขาที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนานับตั้งเเต่จุดเริ่มต้นของชีวิตจนกระทั้งวัยชรา
จิตวิทยาคลินิกและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรม
คือ การศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมในการทำความเข้าใจพฤติกรรม การคิด เเละอารมณ์ของบุคคล
จิตวิทยาผู้หญิง
จะศึกษาผู้หญิง เพื่อบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับผู้หญิงกับความรู้ทางด้านจิตใจในปัจจุบัน
จิตวิทยายุติธรรม
เป็นสาขาที่มีการประยุกต์ความคิดรวบยอดทางจิตต่อระบบความยุติธรรม
จิตวิทยาสังคม
เชื่อว่า การจะทำความเข้าใจพฤติกรรมและจิตใจของบุคคลได้ดีถ้าทราบเกี่ยวกับหน้าที่บางอย่างของบุคคลในกลุ่มเป็นอย่างไร
จิตวิทยาบุคลิกภาพ
คือ ความสัมพันธ์ของบุคลิกลักษณะที่คงที่ และอุปนิสัยของเเต่ละคน
จิตวิทยาการกีฬา
เป็นสาขาที่ประยุกต์ใช้หลักการทางด้านจิตวิทยาต่อการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านกีฬา
จิตวิทยาสิ่งเเวดล้อม
เป็นการศึกษาการพประนีประนอมระหว่างบุคคลและสิ่งเเวดล้อมทางสรีระ
จิตวิทยาสุขภาพ
เป็นการศึกษาความรู้ทางด้านสุขภาพในหลายมิติ โดยจะเน้นการศึกษาปัจจัยทางด้านจิตวิทยา รูปแบบของการดำรงชีวิต และธรรมชาติในการดูเเลระบบสุขภาพ
จิตวิทยาชุมชน
จะศึกษาพฤติกรรมของบุคคลในเเง่ของการปรับตัวต่อทรัพยาและสถานการณ์จำเพาะอย่างในการสร้างสรรค์ชุมชน
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร
จะเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์
จิตวิทยาโรงเรียนเเละการศึกษา
จะศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กและการปรับตัวในสถานศึกษา
Passer and Smith มีการนำไประยุกต์ใน 2 ลักษณะ
งานวิจัยพื้นฐาน
เป็นไปในลักษณะเพื่อต้องการทดสอบความรู้เชิงทฤษฎี
งานวิจัยประยุกต์
เพื่อมุ่งเน้นเเก้ไขปัญหาโดยเฉพาะ