Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยประเทศอิรัก - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยประเทศอิรัก
ประเทศอิรัก
ประเทศอิรักหรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรักเป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจรดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จรดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจรดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและที่ราบกว้างใหญ่ตลอดแนวพรมแดนที่ติดกับอิหร่าน พื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศเป็นที่ราบลุ่มหนอง บึง มีเทือกเขากั้นพรมแดนกับอิหร่านและตุรกี แม่น้ำสายหลัก 2 สายไหลผ่านกลางประเทศ คือ แม่น้ำไทกริส ความยาว 1,840 กม. และแม่น้ำยูเฟรติส ความยาว 2,780 กม. เป็นแหล่งพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอิรัก กระแสน้ำจะไหลเชี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ ทำให้เกิดอุทกภัยในที่ราบลุ่ม
ภูมิอากาศ
ฤดูร้อน ช่วง เม.ย.-ต.ค. อากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย เฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทางตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกของประเทศ โดย ส.ค.เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด อุณหภูมิอาจสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส ฤดูหนาว ช่วง พ.ย.-ก.พ. เฉพาะอย่างยิ่งช่วง ม.ค.
เชื้อชาติ
สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด
สัญชาติ
อิรัก (Iraqi (s))
ศาสนา
ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96% แบ่งเป็นนิกาย ชีอะห์ 31.5% กับ ซุนนีย์ 64.5% ลัทธิเหตุผล กับ Yazdânism 2.0% ศาสนาคริสต์ 1.2% ศาสนาอื่นๆ 0.8%
เศรษฐกิจ
รัฐบาลอิรักมีนโยบายปฏิรูปเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรีมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีฮุเซน แต่ภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐ อีกทั้งต้องพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก โดยเป็นแหล่งที่มาของรายได้ภาครัฐถึง 95% ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศกว่า 80%
โครงสร้างหรือรูปแบบการให้คําแนะนําผู้ป่วยเบาหวาน
การให้คําแนะนําเกี่ยวกับอาหารและการวางแผนมื้ออาหาร
ในระหว่างเดือนรอมฎอนผู้ป่วย ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล
ควรรับประทานอาหารที่ปลดปล่อยพลังงานค่อนข้างช้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ถั่ว
ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืช
ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง
แนะนําให้มี การดื่มน้ำมากๆ ในช่วงเวลาที่ไม่ได้อดอาหาร
การออกกําลังกาย
สามารถออกกําลังกายเบา ๆ จนถึงระดับปานกลาง ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่จริงจังหรือรุนแรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำได้
การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือ รู้สึกไม่สบาย เช่น มีไข้ ผู้ป่วยควรมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและควรแนะนําให้ผู้ป่วยยุติ การถือศีลอด
การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะแทรกซ้อน
หากผู้ป่วยมีอาการเตือน (warming Symptoms) ของภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวการณ์ขาดน้ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควรแนะนําให้ ผู้ป่วยยุติการถือศีลอด
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานระหว่างเดือนรอมฎอน
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาล ได้ไม่ดีจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
ควรได้รับคําแนะนําในการปรับเปลี่ยนชนิดหรือขนาดของอินซูลินให้เหมาะสม เช่น ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว (ultralente) วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยารับประทาน
Metformin ผู้ป่วยที่รับประทานยา metformin เพียงอย่างเดียว สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย
Acarbose เป็นยาที่ออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยมาก
Sulfonylureas ยากลุ่มนี้มีโอกาสทําให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้มาก
Thiazolidinediones ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยทําให้เซลล์เป้าหมายมีการตอบสนองต่ออินซูลิน ได้ดีขึ้น แต่ไม่เพิ่มระดับอินซูลินในเลือด
Rapid acting insulin secretagogues เช่น repaglinide ออกฤทธิ์ โดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น
Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors เป็นยาเบาหวานกลุ่มใหม่ อาจใช้เป็นยาทางเลือกใน การรักษา
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยาฉีดอินซูลิน
ผู้ป่วยที่ใช้ pre-mired insulins วันละ 2 ครั้ง ควรมีการสลับขนาดและเวลาในการฉีด อินซูลินเนื่องจากปริมาณอาหารที่ไม่เท่ากัน
ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาวร่วมกับยารับประทาน ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ำสามารถใช้ ยา repaginide วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับอินซูลิน glargine วันละ 1 ครั้ง
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานหลังเดือนรอมฎอน
หลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอน ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ค่า HbAlc น้ำหนักตัว ความดันโลหิต รวมทั้งระดับไขมันในเลือด หรือค่า ทางชีวเคมีอื่นๆ
แนวทางในการนำทฤษฎีsunrise model ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
การประเมิน ข้อมูลจากการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผน
ข้อมูลทั่วไป: นับถือศาสนาอิสลาม
ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย: เป็นโรคเบาหวานและรักษาตนเอง
การรับรู้และการดูแลสุขภาพ: เป็นโรคเบาหวานต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ
อาหารและการเผาผลาญสารอาหาร: ปกติรับประทานอาหารอิสลามวันละ 3 มื้อแต่ในช่วงเวลาของเดือนรอมฎอนจะรับประทานวันละ 2 มื้อ
คุณค่าและความเชื่อ: เชื่อในพระอัลเลาะห์ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอย่างเคร่งครัด ละหมาดวันละ 5 ครั้ง
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากแบบแผนการดำเนินชีวิตตามความเชื่อของตนเองโดยไม่สอดคล้องกับแผนการรักษา
โอกาสได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารเย็นที่มากขึ้นและรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะคีโตซิส (Diabetic Ketoacidosis) ละภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาล
ติดตามประเมินน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยหลังปรับการให้ยาตามแผนการรักษา
จัดห้องให้ผู้ป่วยสำหรับการละหมาดโดยใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดและแจ้งพยาบาลทราบเวลาที่ผู้ป่วยจะใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อ
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยในเดือนรอมฎอนเพื่อปรับเวลาในการให้ยาและขนาดยาให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
.แนะนำในเรื่องของการออกกำลังกายควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาทีโดยจะออกกำลังกายแบบเบาๆจนถึงปานกลางหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่จริงจังและรุนแรง
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและไม่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงมาก เช่น ข้าวกล้อง ถั่วลันเตา สาลี่ แอปเปิล
ควรให้การสนับสนุนผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรมประจำวันตามปกติ เช่น การละหมาดให้ตรงเวลา
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยสามารถนำอาหารมารับประทานเองได้และสามารถรับประทานอาหารตามเวลาของผู้ป่วยได้
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถบอกเกี่ยวกับอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตได้และบอกให้ผู้ป่วยเปลี่ยนการรับประทานอาหารเช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นนข้าวกล้อง เปลี่ยนจากแอปเปิลแดงเป็นแอปเปิลเขียวแทน