Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่11การรับผู้ป่วยใหม่และ การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle…
บทที่11การรับผู้ป่วยใหม่และ
การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
11.1ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน(Inpatient)
3) การรับโดยตรง (Direct admission)
2)การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
1)วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)
ผู้ป่วยนอก(Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาล
น้อยกว่า 24ชั่วโมง
เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก
เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัด
แบบเป็นครั้งๆ เป็นต้น
ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มหลังนี้เป็นประเภทนอนสังเกตอาการ จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24ชั่วโมง เมื่อมีอาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน เช่น การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บ มีสัญญาณชีพที่ผิดปกติ มีอาการเจ็บครรภ์ หน้ามืดเป็นลม แพ้อาหารหรือยาบางชนิดเป็นผื่นที่ผิวหนังแบบลุกลาม เป็นต้น
11.3วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
การเตรียมอุปกรณ์
1)เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อ
ต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
2)เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
3)อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสม
สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
4)เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
5)สมุดบันทึกการรับใหม่
6)เครื่องใช้ส่วนตัว
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
6)วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
7)อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำ
5)นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง
และให้นอนพักสักครู่
8)ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม
4)ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
9)เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
3)ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย
10)ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำในการอาบน้ำแรกรับ
เข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล
2)สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติ
11)เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
1)เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่
12)นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วยติดป้ายหน้าเตียง
และป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วย
13)แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วย
รับทราบการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย
14)ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart)
ตรวจรับแผนการรักษา
วัตถุประสงค์
5)ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
6)ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
4)ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและ
ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
3)ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการ
ทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
2)ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล
เหมาะสม ครบถ้วน
1)ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบ
และกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
การรับแผนการรักษา
2)อุปกรณ์
3)วิธีการรับแผนการรักษา
1)วัตถุประสงค์
11.4 สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยมี
วัตถุประสงค์ ดังนี้
3)เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
4)เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด
อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบเรียบร้อย
2)เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
5)เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
1)เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
อุปกรณ์ในการจำหน่าย
ผู้ป่วยประกอบด้วย
3)เสื้อผ้าผู้ป่วย
4)บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
2)สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
5)ใบนัด
1)รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
6)ใบสั่งยา
7)กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำสำลี
ก๊อซบัตรติดข้อมือศพด้วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
3)การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับ
จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทำการบันทึกไว้เป็น
หลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล และแจ้งเหตุที่
จำหน่าย เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
ในการปฏิบัติการให้การพยาบาล
4)การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะ
ต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึง
อาการรุนแรง การช่วยเหลือของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์
และการลงความเห็นของแพทย์ว่าไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่
2)การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วย
และญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะ
ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นและต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่า
ไม่สมัครใจอยู่ในใบเซ็นไม่สมัครใจรับการรักษา
5)การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น หากการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลหรือบริการจากสถานบริการสุขภาพอื่นๆ การจำหน่ายผู้ป่วยต้องจัดการให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานบริการสุขภาพที่เหมาะ ซึ่งรวมถึงการแนะนำสถานบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยจะได้รับบริการ
1)การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
ฟื้นหายจากโรค ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ทำ
การรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะจำหน่ายได้
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วย
1)การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์
อนุญาตให้กลับบ้าน
(5)ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจำตัวของผู้ป่วยพร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องความสำคัญของการมาตรวจตามนัด รายละเอียดของการนัด การเตรียมตัวในการมาตรวจตามนัด เช่น การงดน้ำงดอาหาร การงดรับประทานยา เป็นต้น รวมทั้งการแนะนำให้รักษาต่อที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
(6)นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
(4)แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
เช่น การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การจัดสิ่งแวดล้อม
การปฏิบัติตนและการรักษาอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
การสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
(7)เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
(3)ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา ในกรณีที่ต้นสังกัดของ
หน่วยงานหรือโรงพยาบาลเบิกยาก่อนกลับบ้านไว้และกำหนด
ให้ญาติไปซื้อและรับยาเอง
(8)ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
(2)แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สังเกตสีหน้าท่าทีของผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนซักถามปัญหาของผู้ป่วย เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ป่วยตามความเหมาะสม
(9)เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
(1)ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
ซึ่งในแผนการรักษาของแพทย์ต้องมีการเขียนอย่างชัดเจนว่าจำหน่าย
ผู้ป่วยพร้อมลายเซ็นของแพทย์ จึงจะจำหน่ายผู้ป่วยได้
2)การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
(3)ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม
ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้าสามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
(4)ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง
ส่วนอีกข้างหนึ่งผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย
ห่มผ้าคลุมหน้าอกเหมือนคนมีชีวิต และเก็บเครื่องใช้ให้เรียบร้อย
2)จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน
ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบายคล้ายผู้ป่วยนอนหลับ
หนุนศีรษะเพียงเล็กน้อย
(5)ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย และเคลื่อนย้ายโดยปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป
(1)ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าให้ ถ้ามีแผลเปลี่ยนผ้าปิดแผลให้ใหม่ ถ้ามีของเหลวจากจมูก หู ใช้สำลีอุดไว้ ถ้าออกจากช่องคลอดหรือทวารหนักให้ใช้ผ้าอนามัยหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปห่อไว้เหมือนกับผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่
(6)รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
11.6 ข้อบ่งชี้ และการเปลี่ยนแปลงทาง
สรีรวิทยาของผู้ป่วยถึงแก่กรรม
11.6.2 Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด
ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำๆ (Bluish purple)
ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ด
เลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตามแรงดึงดูดของโลก
11.6.3 Rigor mortisคือการแข็งทื่อของร่างกาย
หลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิดจากการหดเกร็ง
ของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลจะต้องปิดเปลือกตา ปิดปาก และจัดให้ศพอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติทันทีเท่าที่จะทำได้
11.6.1 Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C(1.8◦F)
ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด
และ Hypothalamus หยุดทำงาน
11.7หลักการพยาบาลภายหลังผู้ป่วย
ถึงแก่กรรมตามประเพณีและศาสนา
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
ตามประเพณีและศาสนาของผู้ป่วย
การปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณีภายหลังถึงแก่กรรม
คือ การอาบน้ำแต่งตัวศพหลังจากตายแล้ว ซึ่งพิธีอาบน้ำศพ
เป็นการทำให้ร่างกายสะอาดและแต่งตัวให้สมฐานะของผู้ตาย
ซึ่งประเพณีไทยใช้วิธีการรดน้ำศพเป็นการขอขมา
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและ
ระเบียบของโรงพยาบาล
ถ้าผู้ตายเป็นโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ เป็นต้น
ทางโรงพยาบาลต้องแจ้งหน่วยราชการสาธารณสุข
และทำความสะอาดห้องและอุปกรณ์ของใช้ตามหลักการ
ควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลนั้นๆ ในการติดต่อรับศพ
ถ้าผู้ป่วยถึงแก่กรรมภายหลังที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาล กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม ให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย แพทย์จะเป็นผู้เขียนใบมรณบัตร แล้วญาตินำไปแจ้งที่อำเภอภายใน 24 ชั่วโมง บางรายแพทย์ต้องการตรวจศพ (Autopsy) จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติก่อน
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
เพื่อเป็นการเตรียมผู้ตายก่อนญาติเข้าไปดูศพ พยาบาลจะต้องเก็บอุปกรณ์การรักษาทุกชนิดออกจากศพ และทำการแต่งศพให้เรียบร้อย
11.2 การส่งเสริมการปรับตัวของ
ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออก
ของผู้ป่วยพยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสมซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อและมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้หมายเลขเตียง และควรมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความ
วิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึง
โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรคและการรักษา
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วยเนื่องจาก
ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านนิสัยและการ
แสดงพฤติกรรมตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง
เมื่อผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลจะต้องพยายาม
ปรับตัวให้เข้ากับระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมบุคลากรทาง
การแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล
และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันรวมถึงข้อระเบียบ
ปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่แปลกใหม่
สำหรับผู้ป่วย
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้
จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผน
การพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลงเมื่ออาการหรือปัญหา
ของผู้ป่วยเปลี่ยน จะมีประสิทธิภาพหากผู้ป่วย
มีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย
11.5 บทบาทพยาบาลในการจำหน่าย
ผู้ป่วยโดยใช้หลัก D-METHOD
T = Treatment แนะน าผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H=Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ รวมทั้งปรับตัวเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O=Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความส าคัญของการมาตรวจตามนัด
และอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
M=Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามส าหรับการใช้ยา
และการเก็บรักษายา
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหาร
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนะนำแหล่งประโยชน์หรือสถานที่
ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
D=Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่
เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง