Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
Admission
การรับผู้ป่วยใหม่เข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อการวินิจฉัยโรค การรักษา การพยาบาล เพื่อให้หายหรือทุเลาจากโรคต่างๆ
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
การรับโดยตรง (Direct admission)
ผู้ป่วยนอก
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับผู้ป่วย
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย พยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตาม ความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
2) ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
3) ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคม ได้ถูกต้อง
4) ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
การเตรียมอุปกรณ์
1) เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
2) เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล
3) อุปกรณ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เสื้อผ้าชุด โรงพยาบาล ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า เหยือกใส่น้ำและแก้วน้ำ
4) เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้ำหนักและส่วนสูง
5) สมุดบันทึกการรับใหม่
6) เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วย
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
1) เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย นาเหยือกน้ำ แก้วน้ำา กระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสาหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
2) สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร
3) ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน
4) ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
5) นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง
6) วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
7) อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย
8) ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม
9) เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
10) ให้ความช่วยเหลือหรือให้คาแนะนำในการอาบน้ำแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล
11) เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
12) นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย ติดป้ายหน้าเตียง
13) แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา
14) ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทาแฟ้มประวัติ (Chart) ตรวจรับแผนการรักษา
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
1) การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
2) การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
3) การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทาการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
4) การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือ ในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึงอาการรุนแรง
5) การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น หากการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลนั้น
การจำหน่ายผู้ป่วย
1) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
2) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม
4) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด
5) เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย
1) รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
2) สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
3) เสื้อผ้าผู้ป่วย
4) บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
5) ใบนัด
6) ใบสั่งยา
7) กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำ สำลี ก๊อซ บัตรติดข้อมือศพด้วย
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
(1) ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
(2) แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สังเกตสีหน้าท่าทีของผู้ป่วยและญาติ
(3) ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา
(4) แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
(5) ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจำตัวของผู้ป่วย
(6) นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
(7) เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
(8) ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
(9) เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
(1) ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าให้
(2) จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบาย คล้ายผู้ป่วยนอนหลับ
(3) ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้าสามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
(4) ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่ง ผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย
(5) ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย
(6) รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
การวางแผนจำหน่าย (Discharge planning)
เป็นการวางแผนและจัดสรรบริการในการ ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลต่อเนื่องหลังการจาหน่ายอย่างเป็นระบบ องค์รวม
การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuing care)
เป็นกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยภายหลังการจำหน่าย โดยความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล
วางแผนการจำหน่ายแบบ D-METHOD
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัว ที่ถูกต้อง
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามสาหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ แนะนำแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทางาน
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำๆ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และตกตะกอนตาม แรงดึงดูดของโลก
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ การแต่งศพจะต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้ตาย โดยต้องศึกษาข้อมูลของผู้ตาย ข้อปฏิบัติจากญาติ
วัตถุประสงค์
(1) เตรียมศพให้สะอาด เรียบร้อยพร้อมย้ายไปยังห้องศพ
2) ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย กฎระเบียบของโรงพยาบาลและขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเชื้อชาติ ศาสนาของผู้ตาย
(3) ดูแลจัดเก็บของใช้ ของต้องทิ้งหรือทำลายได้ถูกต้อง
(4) ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
(5) เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
ขั้นตอนการแต่งศพ
(1) อธิบายให้ญาติผู้ป่วยเข้าใจ เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต
(2) ล้างมือก่อนจัดเตรียมของใช้
(3) เตรียมอุปกรณ์ เช่น ชุดทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้าชุดใหม่ ชุดทำแผลชุดของใช้แต่งศพ สาลี ก๊อซ ถุงมือ 1-2 คู่ ป้ายผูกข้อมือ
(4) จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม กั้นม่าน/ ฉากให้เรียบร้อย
(5) เก็บอุปกรณ์การรักษาพยาบาลทุกชนิดออกจากศพ
(6) สวมถุงมือ
(7) ถ้ามีฟันปลอม ตาปลอมต้องรีบใส่ เพราะหากใส่ช้านานเกินกว่า 2 ชั่วโมงขากรรไกร
(8) ถ้ามีแผลต้องตกแต่งแผลให้เรียบร้อย
(9) จัดศพให้นอนหงายดูคล้ายคนนอนหลับ
(10) ปิดปากและตาทั้ง 2 ข้างให้สนิท
(11) ใช้สำลีหรือก๊อซอุดอวัยวะต่าง ๆ
(12) เช็ดตัวให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่
(13) ผูกป้ายชื่อที่ข้อมือ
(14) คลุมผ้าจากปลายเท้าถึงระดับไหล่
(15) ถอดถุงมือ ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
(16) ให้ศพอยู่ในหอผู้ป่วยประมาณ 2 ชั่วโมง
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณีภายหลังถึงแก่กรรม คือ การอาบน้ำแต่งตัวศพหลังจากตายแล้ว
ศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน (ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า
คนจีนใช้น้ำผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณ ขึ้นสู่สวรรค์
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
1) นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย มายื่น
2) นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
3) นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
4) ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นำใบมรณะบัตรไป แจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
5) ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้อีกต่อไป