Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
เป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย
หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษ
และของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้
เป็นการนำสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไป
และเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกายและดีต่อสุขภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ
ผู้สูงอายุจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยาน
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
จึงทำให้มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ชนิดของอาหารที่รับประทานอาหารจากพวก
พืชผัก ผลไม้ ที่ มีกากใยมาก
ทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อน ได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
ช่วยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี
ทำให้มีการถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
ช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ
ส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อย หรือถูกจากัดการเคลื่อนไหว
จะทำให้การทำงานของลำไส้ลดลง
ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการถ่ายอุจจาระ
อุจจาระมักจะแข็งเป็นก้อนหรืออาจเกิดท้องผูก
อารมณ์
หงุดหงิด หรือวิตกกังวล
ทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงาน
ของระบบประสาท Sympathetic มีการเปลี่ยนแปลง
ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มข้ึนหรือลดลง
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย
ควรมีการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา
หรือ เมื่อรู้สึกอยากถ่ายให้รีบไปถ่าย
หากมีการกลั้นอุจจาระไว้จะทาให้เกิดท้องผูกได้
ความเหมาะสม
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย
สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาด
ส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ และ ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
ท่าทางในการขับถ่าย
ท่านั่งจะช่วยขับถ่ายได้สะดวก
ท่านอนไม่ช่วยส่งเสริมการขับอุจจาระออกได้สะดวก ทำให้ผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระลำบาก จึงพยายามอั้นไม่ถ่ายอุจจาระ ทำให้เกิดอาการท้องผูก
ยา
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดิน อาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
การตั้งครรภ์
ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลูกก็ขยายตัวโตด้วย
ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย
การเบ่งถ่ายอุจจาระจึงต้องใช้แรงเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกและเกิดโรคริดสีดวง
อาการปวด
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) การผ่าตัดส่วนลำไส้ตรง (Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)
เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระ
เพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้
ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก
การผ่าตัดและการดมยาสลบ
การตรวจวินิจฉัยโรค
ต้องทำให้ลำไส้สะอาด ผู้ป่วยต้องได้รับ การงดน้ำและอาหาร (NPO) หรือรับประทานอาหารเหลวใส (Clear liquid) หรือทำ การสวนอุจจาระ(Enema)
การเคลื่อนไหวของลำไส้เพื่อขับถ่ายอุจจาระเป็นแบบ Peristalsis โดยควบคุมการทำงาน parasympathetic
ลักษณะของอุจจาระปกติ
และสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1
Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2
Sausage shaped but lumpy
(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 3
Like a sausage but with cracks on surface
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool (ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 7
Watery, no solid pieces (entirely liquid)
(ลักษณะเป็นน้าไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก (Constipation)
การขับถ่ายซึ่งอุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง ต้องออกแรงมากช่วยในการเบ่งเพื่อขับอุจจาระออกมาลาบากเกิดความเจ็บปวดเมื่อถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
ภาวะขาดน้ำ การเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
เกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น
ผู้ป่วยโรคตับจะเกิดอาการ Hepatic encephalopathy
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง
หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุง สะสมอุจจาระไว้
พบในผู้ปุวยสูงอายุ หรือผู้ป่วยอัมพาต
การกลั้นอุจจาระไม่ได้
ก้อนอุจจาระไปกดปลาย ประสาทของกล้ามเนื้อหูรูด
ที่ควบคุมการขับถ่ายสูญเสียหน้าที่
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสาคัญของ
การดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยและกากมาก ๆ
หลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานมากแล้วทำให้เกิดท้องผูก
เนย ไข่ เนื้อสัตว์
ผักและผลไม้สด อาหารที่มีธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ลูกพรุน
แนะนำกระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ
แนะนาและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
และควรฝึกระบบขับถ่าย อุจจาระให้เป็นเวลา
ถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
ออกกาลังกาย การเคลื่อนไหวของร่างกายจะมีผลต่อการบีบตัวของลำไส้ช่วยให้การถ่ายอุจจาระเป็นปกติ
สังเกตความถกี่ารใช้ยาระบายหรือยาถ่าย
การอัดแน่นของอุจจาระ
ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระ เป็นน้ำเหลวไหลซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
ช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกาย
โดยการล้วงอุจจาระ (Evacuation) และอาจใช้ยาระบาย
การล้วงอุจจาระ
ช่วยเหลือผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา
ภาวะท้องอืด
สาเหตุ
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย
รับประทานอาหารมากเกินไป หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติ
ของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
ตับโต ม้ามโต ท้องมานน้ำ (Ascites )
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดท่านอน
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
สาเหตุจากการถูกจากัดการเคลื่อนไหวหรือความสามารถในการขยับตัว ได้ลดลงหรือหลังการผ่าตัดไม่ยอมขยับตัว
สาเหตุจากได้รับยาระงับปวดที่มีอาการข้างเคียง
ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
อาหารไม่ย่อย
การกลั้นอุจจาระไม่ได้
เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดจากการรบกวนที่หูรูดทวารหนัก
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านร่างกาย
เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาจเกิดแผลจากการระคายเคืองเสียดสีของผิวหนังบริเวณรอบรูทวาร
ผลด้านจิตใจ
เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเอง
ผลด้านสังคม
เป็นคนแยกตัวออกจากสังคม
ผลด้านจิตวิญญาณ
ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง และขาดการแสดงออก
ถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทางศาสนา
การพยาบาล
ด้านร่างกาย
ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ
ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม
และเก็บตัวไม่ยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
ภาวะท้องเสีย
เพิ่มจานวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ
และการที่อุจจาระเป็นน้าเหลว หรือมีมูกปน
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง
การพยาบาล
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระ
ที่มีจานวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การดูแลเรื่องอาหาร
ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ
ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
การผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทำในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพท่ีลำไส้ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
การสวนอุจจาระ
Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่
เพื่อกระตุ้น ให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
Tap water enema (TWE)
เป็นการสวนเอาน้ำสะอาดเข้าในลำไส้ไม่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอิเล็กโตรไลต์ไม่สมดุล หรือผู้ป่วยเด็ก
Soap sud enema (SSE)
สวนอุจจาระโดยใช้น้าสบู่ผสมน้ำ
Normal saline solution enema (NSS enema)
สวนอุจจาระโดยใช้ สารละลาย 0.9 % NSS
นิยมใช้ ในผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยที่มีลาไส้อักเสบ
ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคหัวใจวาย
หรือผู้ป่วยที่มีการคั่งของเกลือโซเดียมในร่างกาย
Fleet enema
สวนอุจจาระโดยน้ำยาสาเร็จรูปคือสารละลาย Hypotonic
Oil enema
สวนอุจจาระโดยใช้น้ำมันพืช นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอุจจาระอุดตัน
Retention enema
Oil-retention enema
สวนเก็บน้ำมัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว
กระตุ้น ให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
Medicated enema
สวนเก็บด้วยยา เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ทางทวารหนัก
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105 ̊F (40.5 ̊C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ปุวย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่า
(Sim’s position)
แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วยควรแขวนหม้อสวน
ให้สูงไม่เกิน1ฟุตเหนือ ระดับที่นอน ในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้าไหลช้า ๆ
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้ และลักษณะ
ของสายสวนอุจจาระ การสอดสายสวนเข้าทวารหนัก
สอดลึก 2-4 นิ้ว สายยางที่ใช้ควรเป็นชนิดที่อ่อนนุ่ม
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น
KY jelly
ทิศทางการสอดหัวสวน ให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบน ปลายกลับให้ขนานกับ
แนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลาไส้ใหญ่
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ
การระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
ผนังลำไส้ถลอก หรือทะลุ
ภาวะเป็นพิษจากน้ำ
การติดเชื้อ
ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ
การคั่งของโซเดียม
ภาวะ Methemoglobinemia เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดง
ในร่างกายลดความสามารถ ในการขนส่งออกซิเจน
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ
ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของลำไส้
ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มีลำไส้อุดตัน
ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในช่องท้อง
ไม่ควรทำในผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัดลำไส้ส่วนปลาย
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ เพื่อนำไปเพาะเชื้อ
เลี้ยงเชื้อ แบคทีเรียและดูความไวต่อยาของเชื้อที่เพาะได้