Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 admit death dying - Coggle Diagram
บทที่ 11 admit death dying
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย
การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม
เพื่อเป็นการเตรียมผู้ตายก่อนญาติเข้าไปดูศพ พยาบาลจะต้องเก็บอุปกรณ์การรักษาทุกชนิดออกจากศพ และทําการแต่งศพให้เรียบร้อ
หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล
นำหลักฐานต่างๆ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายเป็นต้น มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย
นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร
นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ
ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นำใบมรณะบัตรไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต
ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ได้อีกต่อไป
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี
และศาสนาของผู้ป่วย
คนจีนใช้นํ้าผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย
สำหรับศาสนาอิสลาม ใช้นํ้าผสมการบูรหรือใบพุทราอาบนํ้าให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน(ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนุ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต อนุญาตให้นำศพออกจากโรงพยาบาลได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา ไม่อนุญาตให้ผ่าศพหรือกระทำการใดๆอันเกิดความเสียหายต่อศพ
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ในโรงพยาบาล รวมทั้งชี้แจ้งนโยบายของโรงพยาบาลและหน้าที่ของบุคลากรบนหอผู้ป่วย
นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง
และให้นอนพักสักครู่
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม เข้ารับการตรวจ รักษา รับเลือด ผ่าตัด แล้วแต่กรณี และให้พยาบาลเซ็นชื่อเป็นพยาน โดยใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับโรคที่เป็น และการรักษาที่จะได้รับ ถ้าผู้ป่วยเขียนหนังสือไม่ได้ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือแทน และเขียนระบุด้วยว่าเป็นหัวแม่มือข้างไหน ในกรณีที่ไม่มีผู้เซ็นอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่จำเป็นต้องรักษา โดยการทำผ่าตัดด่วน ให้แพทย์ผู้ทำการรักษาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามารถเซ็นแทนได้
ชั่งนํ้าหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วย
ไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถยืนได้ ไม่ต้องชั่งน้ าหนักและวัดส่วนสูงนอกจากจะมีเครื่องชนิดนอนชั่ง
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
การตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน และลายเซ็นรับผู้ป่วยของแพทย์จากบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลให้ตรงกับเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แจ้งมา
ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำในการอาบนํ้าแรกรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เปลี่ยนใช้เสื้อผ้าของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่วย ตลอดจนการประเมินสภาวะของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย
และจิตใจ
สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำ สีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน สนใจ เข้าใจ เห็นใจ ยอมรับในตัวผู้ป่วยและญาติ ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับวัย ยศ และตำแหน่งหน้าที่
เบิกอาหารให้ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับโรค และแผนการรักษา
เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย นํ้า เหยือกนํ้า แก้วนํ้า กระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่ จัดทำแฟ้มประวัติ (Chart)ตรวจรับแผนการรักษา
นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วยติดป้ายหน้าเตียงและป้ายแจ้งข้อที่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการแจ้งให้แพทย์ พยาบาล
และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้รับทราบและปฏิบัติตาม
แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจำหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ถ้ายังไม่มีค าสั่งแผนการรักษาแพทย์ควรเขียนคำสั่งแผนการรักษาทันที
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย
และจิตสังคมได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและ
กิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
การรับแผนการรักษา
กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับคำสั่งแผนการรักษา (แตกต่างกันไปแต่ละสถานพยาบาล) ใบบันทึกการให้ยา
หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำให้เขียนป้ายสำหรับติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด หากสงสัยหรือเขียนไม่ชัดเจนให้ถามแพทย์ผู้กำหนดแผนการรักษารวมทั้งตรวจสอบใบคำขอส่งตรวจที่แพทย์ต้องเป็นผู้บันทึกว่าครบถ้วนหรือไม่
ปฏิบัติตามแผนการรักษา พร้อมทั้งทำเครื่องหมายหรือบันทึกชื่อผู้ทำในใบรับคำสั่งแผนการรักษา และ/หรือใบบันทึกการให้ยา เพื่อทราบวันเวลาที่ได้ปฏิบัติการนั้นๆ รวมทั้งป้องกันการซํ้าซ้อนในการปฏิบัติพยาบาล
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน(Inpatient)
การรับโดยตรง (Direct admission)
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน อาจตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก
และรับเข้าพักที่หอผู้ป่วยโดยตรง
การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission)
เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้ รักษาที่แผนกฉุกเฉินก่อนจนอาการคงที่จึงย้ายไปนอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย
วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent)
หรือเป็นผู้ป่วยในตามปกติ เป็นการรับแบบที่มีการจัดตารางนอนผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า
ผู้ป่วยนอก(Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัดแบบเป็นครั้งๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มหลังนี้เป็นประเภทนอนสังเกตอาการ จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดระยะเวลาหนึ่งภายใน 24ชั่วโมง เมื่อมีอาการดีขึ้นก็ให้กลับบ้านได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสมซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อและมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้หมายเลขเตียง และควรมีคำลงท้ายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่จะต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งเมื่อจะให้การพยาบาล
ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วยพยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล จะทำให้ทราบทัศนคติของผู้ป่วยเพื่อนำข้อมูลที่ได้มามาใช้ในการวางแผนการให้การพยาบาลต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรมตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเองมื่อผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลจะต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาลจนสามารถปรับตัวได้ หากผู้ป่วยมีความเชื่อที่แปลกไปแต่ไม่ทำให้เกิดอันตรายพยาบาลควรยอมรับไม่แสดงความดูถูกหรือหัวเราะเยาะควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย
ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรคและการรักษา หากคำถามใดที่ไม่สามารถที่จะตอบผู้ป่วยได้เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องกับคำถามนั้นโดยตรงนอกจากนั้นขณะอยู่ต่อหน้าผู้ป่วยไม่ควรพูดศัพท์ทางการแพทย์หรือภาษาอังกฤษที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจเพราะจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งกังวลมากขึ้น
การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลงเมื่ออาการหรือปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน จะมีประสิทธิภาพหากผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย
ความแปลกใหม่ต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของโรงพยาบาล และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันรวมถึงข้อระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับผู้ป่วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบายและแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม
และความเชื่อทางศาสนา
เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด
อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบเรียบร้อย
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย และให้ใบนัดพบแพทย์
นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อยเตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา ในกรณีที่ต้นสังกัดของหน่วยงานหรือโรงพยาบาลเบิกยาก่อนกลับบ้านไว้
ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์ เกี่ยวกับการจำหน่ายผู้ป่วย
แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สังเกตสีหน้าท่าทีของผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนซักถามปัญหาของผู้ป่วย
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
ใส่อวัยวะปลอม (ถ้ามี) เช่น ตาปลอม ฟันปลอม ถ้าปากหุบไม่สนิทใช้ผ้าสามเหลี่ยมยึดคางไว้ระยะหนึ่ง
ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งผูกบัตรติดข้อมือศพที่เขียนไว้เรียบร้อย ห่มผ้าคลุมหน้าอกเหมือนคนมีชีวิต และเก็บเครื่องใช้ให้เรียบร้อย
จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบายคล้ายผู้ป่วยนอนหลับ หนุนศีรษะเพียงเล็กน้อย
ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ ตรวจความเรียบร้อย และเคลื่อนย้ายโดยปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว ถอดอุปกรณ์ทุกชนิดในการรักษาออก อาบนํ้า ใส่เสื้อผ้าให้ ถ้ามีแผลเปลี่ยนผ้าปิดแผลให้ใหม่ ถ้ามีของเหลวจากจมูก หู ใช้สำลีอุดไว้
ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ ในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในฟอร์มใบบันทึกทางการพยาบาล และแจ้งเหตุที่จำหน่าย
การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ตั้งแต่แรกรับถึงอาการรุนแรง การช่วยเหลือของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และการลงความเห็นของแพทย์ว่าไม่มีสัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่
การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น หากการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลหรือบริการจากสถานบริการสุขภาพอื่นๆ การจำหน่ายผู้ป่วยต้องจัดการให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานบริการสุขภาพที่เหมาะ
การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C(1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง เนื่องจากการไหลเวียนเลือดหยุด และ Hypothalamus หยุดทำงาน
Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคลํ้าๆ (Bluish purple) ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากเม็ดเลือดแดงถูกทําลาย และตกตะกอนตามแรงดึงดูดของโลก เช่น ถ้าตายในท่านอนหงาย บริเวณหลัง แก้มก้น และด้านล่างของแขน ขา จะมีสีเข้มไปจากเดิม เป็นต้น ยกเว้น บริเวณที่ถูกกดทับจะซีดขาวบริเวณใกล้เคียงและเป็นไปตามรูปของสิ่งที่กดทับอยู่ เช่น รอยเข็มขัด เสื้อใน ล้อรถยนต์ เป็นต้น Livor mortis เกิดทุกรายภายหลังตายประมาณ 5 ชั่วโมง และเกิดเต็มที่หลังตายประมาณ 12 ชั่วโมง และจะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าศพจะเน่า ประโยชน์ของ Livor mortis คือ บอกเวลาตาย บอกสภาพเดิมของศพ และบอกสาเหตุการตาย
Rigor mortisคือการแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก และกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อป้องกันศพผิดรูปร่าง หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลจะต้องปิดเปลือกตา ปิดปาก และจัดให้ศพอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติทันทีเท่าที่จะทำได้
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วย
ตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
T = Treatment
แนะนำผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H=Health
ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ รวมทั้งปรับตัวเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
E = Environment & Economic
กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O=Outpatient referral
ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานบริการใกล้บ้านประสานงานกับศูนย์ Home health care (HHC)เพื่อติดตามการดูแลต่อเนื่อง บันทึกข้อมูลลงแบบบันทึกการจ าหน่ายและการส่งต่อ ให้กับศูนย์ HHC เพื่อการวางแผนการเยี่ยมบ้าน เมื่อมีปัญหาให้ติดต่อสถานบริการใกล้บ้าน
M=Medication
ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียง ข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
D = Diet
ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนะนำแหล่งประโยชน์หรือสถานที่ให้คําปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องอาหาร
D=Diagnosis
ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง